ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

‘ ประกันภัยเหมืองแร่ ’ ครั้งแรก 25 ประกันภัย เสือปืนไว แห่ชิงเบี้ย

คปภ. เห็นชอบ กรมธรรม์ สำหรับการทำเหมืองแร่” ฉบับแรกของไทย ประกันภัย ยื่นความประสงค์แล้วกว่า 25 บริษัท

‘ ประกันภัย เหมืองแร่ ’ ครั้งแรก 25 ประกันภัย เสือปืนไว แห่ชิงเบี้ย

กรกฎาคม

23

คปภ. เห็นชอบ “แบบกรมธรรม์ ประกันภัย สำหรับการทำเหมืองแร่” ฉบับแรกของประเทศไทย หลัง พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เผยเหมืองประเภทที่ 2 ต้องทำ ประกันภัย วงเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้าน ส่วนการทำเหมืองประเภทที่ 3 ไม่น้อยกว่า 30 ล้าน ขณะที่ 25 บริษัทเสือปืนไวแห่ยื่นขออนุญาตขายกรมธรรม์กับนายทะเบียน คปภ. แล้ว

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2560 มาตรา 68 (9) ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 จะต้องจัดทำ ประกันภัย ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกนั้น

ล่าสุด สำนักงาน คปภ. ร่วมกับ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) และคณะกรรมการประกันภัยเบ็ดเตล็ด สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณาจัดทำกรมธรรม์ ประกันภัย ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก (สำหรับการทำเหมืองแร่) รองรับประกาศคณะกรรมการแร่ เรื่องกำหนดวงเงิน และการจัดทำ ประกันภัย ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก สำหรับเหมืองแร่ประเภท ที่ 2 และประเภทที่ 3 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ที่ผ่านมา

สำหรับความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 เลขาธิการ คปภ. ได้ลงนามในคำสั่งนายทะเบียนที่ 17/2562 เรื่อง ให้ใช้แบบและข้อความกรมธรรม์ ประกันภัยความรับผิดตามกฏหมายต่อบุคคลภายนอก (สำหรับการทำเหมืองแร่) และอัตราเบี้ย ประกันภัย ซึ่งถือเป็นแบบกรมธรรม์ ประกันภัย สำหรับการทำเหมืองแร่ ฉบับแรกของประเทศไทย

การทำเหมืองแร่ได้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยประเภทที่ 1 เนื้อที่ไม่เกิน 100 ไร่ และเป็นโครงการเหมืองแร่ที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเภทที่ 2 เนื้อที่ไม่เกิน 625 ไร่ และประเภทที่ 3 เป็นการทำเหมืองในทะเล เหมืองใต้ดิน หรือเหมืองที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสูง ทั้งนี้ ผู้ถือประทานบัตรจะต้องจัดทำ ประกันภัย ให้มีระยะเวลาครอบคลุมต่อเนื่องตลอดอายุประทานบัตร โดยให้มีจำนวนเงินเอา ประกันภัย สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อครั้ง สำหรับการเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือค่ารักษาพยาบาล และความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้ได้รับความเสียหาย ดังนี้

1. การทำเหมืองประเภทที่ 2 ให้จัดทำ ประกันภัยความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในวงเงินไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท ยกเว้นการทำเหมืองประเภทที่ 2 ที่มีชนิดแร่เดียวกับเหมืองประเภทที่ 1 แต่มีเนื้อที่เกินหนึ่งร้อยไร่ และแร่หินประดับชนิดหินทราย ให้จัดทำประกันภัยในวงเงินไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท

2. การทำเหมืองประเภทที่ 3 ได้แก่ (1) ประเภทเหมืองแร่ในทะเล เหมืองแร่ถ่านหิน เหมืองแร่กัมมันตภาพรังสี กลุ่มเหมืองหินอุตสาหกรรม ที่นำผลผลิตไปใช้ในการผลิตซีเมนต์เป็นหลัก หรือเหมืองแร่โลหะ ที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ (EHIA) ให้จัดทำ ประกันภัย ในวงเงินไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท (2) เหมืองแร่ใต้ดิน ให้จัดทำ ประกันภัย ในวงเงินไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท (3) เหมืองชนิดแร่ทองคำ ให้จัดทำ ประกันภัย ในวงเงินประกันไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท และ (4) การทำเหมืองประเภทที่ 3 ที่นอกเหนือจาก (1)-(3) ให้จัดทำ ประกันภัย ในวงเงินประกันไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท

“กรมธรรม์ ประกันภัย สำหรับการทำเหมืองแร่ จะคุ้มครองความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย การบาดเจ็บ หรือเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งเกิดจากการประกอบธุรกิจ และเกิดขึ้นภายในสถานประกอบการที่เอา ประกันภัย ภายใต้ขอบเขตของการเสี่ยงภัย ในระหว่างระยะเวลาเอา ประกันภัย ณ อาณาเขตความคุ้มครองซึ่งระบุในตารางกรมธรรม์ ประกันภัย รวมถึงค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี อัตราเบี้ย ประกันภัย เป็นแบบช่วงขั้นต่ำ-ขั้นสูง โดยรายปีอยู่ในช่วงร้อยละ 0.01-5.00 ของจำนวนเงินจำกัดความรับผิด หรือของค่าจ้าง หรือของยอดรายได้แล้วแต่กรณี ขณะนี้มี บริษัทประกันภัย ยื่นความประสงค์ขอความเห็นชอบจากนายทะเบียน เพื่อใช้แบบและข้อความ กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก (สำหรับการทำเหมืองแร่) และอัตราเบี้ย ประกันภัย แล้วกว่า 25 บริษัท” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

เครดิต: สยามธุรกิจ

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์