ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ประกันภัยจีน ปี 61 แผ่ว

2 เดือนเบี้ยวูบ 18% ประกันชีวิต ลดฮวบ 24% อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลง ควบรวมหน่วยงานการกำกับภาคการเงิน ยกระดับการรับมือความเสี่ยงทางการเงิน

ประกันภัยจีน ปี 61 แผ่ว

พฤษภาคม

1

หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของจีน (ซีไออาร์ซี) เผยว่า ในช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ 2561 อุตสาหกรรม ประกันภัย ทั้งระบบมีเบี้ย ประกันภัย รับรวม 970,340 ล้านหยวน หรือประมาณ 4.85 ล้านล้านบาท ลดลง 18.48% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เฉพาะในเดือนมกราคมเดือนเดียว อุตสาหกรรม ประกันภัย ของจีนมีเบี้ย ประกันภัย ลดลงถึง 19.9% หรือมีเบี้ย ประกันภัย 685,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 3.42 ล้านบาท เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับในเบี้ย ประกันภัย รับรวมในช่วง 2 เดือนแรกนั้น แยกเป็นเบี้ยประกันวินาศภัย 194,630 ล้านหยวน หรือประมาณ 973,150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.65% ในขณะที่อุตสาหกรรม ประกันชีวิต มีเบี้ย ประกันภัย 775,710 ล้านหยวน หรือประมาณ 3.88 ล้านบาท ลดลงถึง 24.31% ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตลาดโดยรวมลดลง

ปัจจุบัน ภาคการเงินและภาค ประกันภัย ของจีนอยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ ประธานาธิบดี “สีจิ้นผิง” ประกาศยกเครื่องหน่วยงานของรัฐบาลกลาง โดยจะควบรวมหน่วยงานการกำกับดูแลภาคการเงินทั้ง 2 หน่วยงานเข้าด้วยกัน คือ คณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคารจีน (ซีบีอาร์ซี) และหน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัย (ซีไออาร์ซี) เพื่อยกระดับการรับมือความเสี่ยงทางการเงิน โดยเฉพาะปัญหาหนี้เสียท่วมประเทศ

ธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ (บีไอเอส) เปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้ทั้งหมดต่อขนาดเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของจีนยังสูงถึง 260% โดยภาคธนาคารยังมีแนวโน้มเกิดวิกฤติมากที่สุด เนื่องจากมีหนี้ต่อจีดีพีอยู่ในเกณฑ์ความเสี่ยงสูงสุดที่ 16.7% และสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ (ดีเอสอาร์) อยู่ที่ 5.1%

ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนี้สินพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ คือ ธนาคารเงา ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ความมั่งคั่ง (ดับเบิลยูเอ็มพี) เป็นฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง และเป็นตัวก่อหนี้สิน โดยต้นตอการบ่มเพาะหนี้สินดังกล่าวมาจาก ภาคธนาคาร และ บริษัทประกันภัย ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาทั้งสองหน่วยงานออกระเบียบกำกับดูแลทางการเงินแยกกัน ทำให้การกำกับดูแลขาดประสิทธิภาพ

ดังนั้น การรวมซีบีอาร์ซีและซีไออาร์ซี จึงเป็นการอุดความเสี่ยงจากต้นตอปัญหา นอกจากทำให้กฎระเบียบกลายเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว การควบรวมหน่วยงานทั้งสองจะทำให้อำนาจการกำกับดูแลภาคการเงิน รวบอยู่ในกำมือของรัฐบาลกลางมากยิ่งขึ้น โดยหลังการควบรวม หน่วยงานใหม่ดังกล่าวจะขึ้นต่อรัฐบาลโดยตรงและมีหน้าที่ “ปฏิบัติตามคำสั่ง” เป็นหลัก เพราะหน้าที่ในการออกกฎระเบียบด้านการเงินต่างๆ จะถูกถ่ายโอนไปยัง ธนาคารกลางจีน (พีบีโอซี) แทน ซึ่งหมายความว่า พีบีโอซี จะเป็นผู้วางระเบียบและนโยบายการเงินในภาคส่วนธนาคารและธุรกิจ ประกันภัย แตกต่างจากเดิมที่ ซีบีอาร์ซี และ ซีไออาร์ซี เป็นผู้วางนโยบายและออกกฎเกณฑ์ต่างๆ

เครดิต: สยามอินชัวร์ นิวส์

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์