ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

คปภ.กดปุ่ม กรมธรรม์ ประกันภัย ลำไย ไทย

การ ประกันภัย พืชผลการเกษตร เป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาของ เกษตรกร จากภัยพิบัติ จัดทำรูปแบบที่เหมาะสมใน ลำไย ของประเทศไทย

คปภ.กดปุ่ม กรมธรรม์ ประกันภัย ลำไย ไทย

เมษายน

17

นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันภัยพิบัติทางธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรง และมีความถี่เพิ่มมากขึ้น สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร ส่งผลกระทบต่อรายได้ และความมั่นคงในการประกอบอาชีพของเกษตรกร ซึ่งการ ประกันภัย พืชผลทางการเกษตร เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งเพื่อใช้แก้ไขปัญหา หรือลดความเสี่ยงของ เกษตรกร จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ที่ผ่านมา ยังคงมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน ทำให้การ ประกันภัย พืชผลถูกจำกัดอยู่เฉพาะในพืชไร่บางชนิด อาทิ ข้าว และข้าวโพด ทำให้ยังไม่ขยายผลในวงกว้าง สำนักงาน คปภ. จึงได้ให้การสนับสนุนศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการจัดทำงานวิจัยเรื่อง “รูปแบบการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรที่เหมาะสมในลำไยของประเทศไทย” ซึ่งศูนย์วิจัยฯ ได้จัดทำต้นแบบของการ ประกันภัย พืชผลทางการเกษตรที่เหมาะสมในลำไยของประเทศไทย

โดยผลการศึกษา ประกอบกับการลงพื้นที่จริง ทำให้ทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำ ประกันภัย พืชผลทางการเกษตร จากความเสี่ยงภัยด้านภัยธรรมชาติ ที่จะเกิดความเสียหายขึ้นกับ ต้นลำไย จำนวน 4 ภัย คือ ภัยแล้ง อุทกภัย วาตภัย และภัยจากลูกเห็บ รูปแบบการคิดเบี้ย ประกันภัย อัตราเบี้ย และทุน ประกันภัย รวมทั้งรูปแบบการ ประกันภัยพืชผล ทางการเกษตร จากความเสี่ยงด้าน ภัยธรรมชาติ ในลำไย แบ่งเป็น ประเภทที่ 1 เป็นการให้ความคุ้มครอง ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทุกประเภท ประเภทที่ 2 เป็นการให้ความคุ้มครอง ความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยงดเว้นบางประเภท และประเภทที่ 3 เป็นการให้ความคุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ โดยมีเพียงแค่บางประเภท ซึ่งแตกต่างกันตามความคุ้มครองต่อภัยธรรมชาติ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จะมีการศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของลักษณะการให้ความคุ้มครอง เมื่อเทียบกับผลผลิตที่ควรจะเป็น (yield) พร้อมรวบรวมสถิติและจำนวนความเสียหาย แยกตามแต่ละภัย แนวทางการพิจารณาการประเมินความเสียหายของ ต้นลำไย ช่วงระยะเวลาการรับ ประกันภัย ความคุ้มค่า กรณีขอการสนับสนุนเบี้ยประกันภัยบางส่วนจากรัฐบาล ฯลฯ ก่อนจะร่วมกันพิจารณา กำหนดเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ ประกันภัย และอัตราเบี้ย ประกันภัย

เครดิต: สยามธุรกิจ

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์