ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

หวาน ซ่อนโรค

กินน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายจะเปลี่ยนอาหารจำพวก น้ำตาลเป็นพลังงาน ถ้ายังเหลือ เปลี่ยนเป็นไขมันสะสม

หวาน ซ่อนโรค

เมษายน

9

โรคอ้วน

เมื่อกินน้ำตาลเข้าไป ร่างกายจะเปลี่ยนอาหารจำพวก น้ำตาล ให้กลายเป็นพลังงาน แต่ถ้ามีมากเกินไป จะเก็บไว้เป็นเสบียงอยู่ในตับและกล้ามเนื้อ ในรูปของ “ไกลโคเจน” ถ้ายังเหลือต่อไปอีก น้ำตาลจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

เมื่อใดที่ต้องการพลังงานพิเศษ ร่างกายจะดึง ไกลโคเจน มาใช้ก่อน ถ้า ไกลโคเจน มีไม่เพียงพอจึงจะใช้ไขมัน ด้วยเหตุนี้ ถ้ากิน น้ำตาล มากแล้วใช้พลังงานน้อย ไขมันจึงมีโอกาสเพิ่มพูนได้ง่ายขึ้น

ความดันโลหิตสูง

เป็นผลจากการที่น้ำตาลถูกเปลี่ยนเป็น ไขมัน ไปสะสมในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ จึงส่งผลให้ความดันโลหิตสูง

ไขมันในเลือดผิดปกติ

เนื่องจากร่างกายจะย่อยและดูดซึมน้ำตาลอย่างรวดเร็ว แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงาน และไขมัน ดังนั้นหากเราไม่ทำกิจกรรมทางกาย เพื่อเผาผลาญไขมันเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันในชั้นใต้ผิวหนัง ในเส้นเลือด และอวัยวะต่างๆ

หากไขมันไปสะสมที่เส้นเลือดสมอง จนอุดตัน จะเป็นอัมพาต ถ้าสะสมในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิต

โรคเบาหวาน

น้ำตาลที่เรากินเข้าไปนั้น จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นทันที และกระตุ้นให้ตับอ่อนเร่งผลิต อินซูลิน เพื่อนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์

" การกินน้ำตาลมากและบ่อยๆ จะทำให้ตับอ่อนทำงานหนัก ในที่สุดจะเสื่อมสภาพ ทำให้ประสิทธิภาพของ อินซูลิน ลดลง หรือไม่สามารถผลิต อินซูลิน ได้ อันนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด "

เคล็ดลับลดความหวาน

ลดเติมน้ำตาล ในอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนม แต่ไม่ควรหยุดกินทันที เพราะร่างกายจะไม่ยอมรับ และทำได้เพียงระยะสั้น แล้วจะกลับมากินของหวานดังเดิม หรือมากกว่าเดิม ควรค่อยๆ ลด ให้เวลากับตัวเอง 1-2 เดือน เพื่อให้ชินกับความหวานที่ลดลงลด

การซื้อของหวาน เวลาอยากกินหวาน แต่ไม่มีอยู่ใกล้ตัว ก็จะช่วยลดปริมาณการกินลงได้

กินอาหารหลากหลาย ทั้งข้าว ไขมัน และโปรตีน ไขมัน และโปรตีน จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการกินข้าว หรือแป้งอย่างเดียว

กินอาหาsที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ข้าวกล้อง ผลไม้รสชาติไม่หวาน ใยอาหารจะช่วยลดความอยากของหวาน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก พยายามไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะจะทำให้หิว และอยากกินของหวานมากขึ้น

จดบันทึกอาหารที่กิน เพื่อประเมินว่าเรากินอาหาร เครื่องดื่ม หรือขนมใดบ้างที่มีความหวานนำ ซึ่งจะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ง่ายขึ้น

อ่านฉลากโภชนาการ เพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาล ก่อนตัดสินใจซื้อ ตรวจสอบให้ถี่ถ้วน เพราะผู้ผลิตอาจใช้คำอื่นอย่าง น้ำผึ้ง น้ำเชื่อมข้าวโพด ฟรักโทส เดกซ์โทรส แล็กโทส หรือมอลโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลเหมือนกัน
- SUGER FREE : มีน้ำตาลน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค
- LESS SUGER : ลดน้ำตาลลง 25% จากสูตรปกติ
- NO ADDED SUGER : ไม่มีการเติมน้ำตาลในขั้นตอนการผลิต

เลี่ยงสารให้ความหวาน ได้แก่
   แอสปาร์แทม ในน้ำอัดลม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลตผสม เยลลี่ ขนมหวานแช่แข็ง โยเกิร์ต ยาแก้ไอบางชนิด
   ซัคคาริน ในคุกกี้ น้ำผลไม้บรรจุกล่อง แยม หมากฝรั่ง
   ซูคราโลส ในเครื่องดื่มสำเร็จรูป หมากฝรั่ง ขนมหวานแช่แข็ง

สารให้ความหวานเหล่านี้ มีรสหวานกว่าน้ำตาล 100-1,000 เท่า หากกินนานไป ลิ้นจะคุ้นกับความหวานที่มากเกินพอดี จนรู้สึกว่ารสชาติของผักผลไม้ตามธรรมชาติไม่อร่อย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า แม้สารให้ความหวานจะมีแคลอรีต่ำ แต่ส่งผลให้เราน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ เพราะไปช่วยกระตุ้นการผลิตเซลล์ไขมันมากขึ้น

ทำกิจกรรมอย่างอื่นเมื่อรู้สึกอยากกินของหวาน เช่น ออกกำลังกาย ทำความสะอาดบ้าน เพราะเมื่อสมองสั่งการว่าอยากกิน ความรู้สึกอยากจะคงอยู่ประมาณ 20-30 นาที หากทำกิจกรรมอื่นอาจช่วยให้ความรู้สึกอยากของหวานลดลง

เครดิต: SOOK (สุข) January 2018

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์