ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

จีน ขยับเปิดต่างชาติถือหุ้น ประกันภัย 51%

จีนขยับ ปฏิรูปภาคการเงินครั้งใหญ่ ไฟเขียวต่างชาติถือหุ้นใหญ่ ประกันชีวิต ค้าหลักทรัพย์ ปูทางเปิดเสรี ประกันบำนาญ-วางแผนเกษียณ-สุขภาพฝุ่นตลบ

จีน ขยับเปิดต่างชาติถือหุ้น ประกันภัย 51%

ธันวาคม

31

จีนขยับแล้ว ปฏิรูปภาคการเงินครั้งใหญ่รอบ 10 ปี ไฟเขียวต่างชาติถือหุ้นใหญ่ 51% ในกิจการร่วมทุนทางการเงิน ทั้ง ประกันชีวิต ค้าหลักทรัพย์ ปูทางเปิดเสรีเบ็ดเสร็จใน 5 ปี นักวิเคราะห์ชี้ ส่งผลบวกต่อ ประกันชีวิต ต่างชาติเปิดเกมบุกเต็มที่ เหตุกุมอำนาจบริหาร หลังเจอพิษกฎเหล็ก บีบถือหุ้นน้อย ยึดมาร์เก็ตแชร์มาได้แค่ 6.4% จับตา ประกันบำนาญ-วางแผนเกษียณ-สุขภาพฝุ่นตลบ

ภายหลังจากจากรัฐบาลจีนภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี “สี จิ้นผิง” ประกาศนโยบายเปิดเสรีภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการเงินครั้งใหญ่ให้กับนักลงทุนต่างชาติ ล่าสุดทางการจีนได้เตรียมแก้กฎระเบียบ เพื่อเปิดทางให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นใหญ่ 51% ในบริษัทร่วมทุนประกันชีวิต และธุรกิจค้าหลักทรัพย์ จากเดิมจำกัดให้ถือหุ้นได้แค่ 49% และ 50% ตามลำดับ พร้อมทั้งเตรียมยกเลิกกฎที่จำกัดการถือหุ้นของต่างชาติ ในธุรกิจธนาคารและบริษัทจัดการสินทรัพย์ เพื่อให้ลงทุนได้อย่างเสรี

รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลัง ของจีน กล่าวว่า คณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์ของจีน (ซีเอสอาร์ซี) กำลังอยู๋ระหว่างการร่างรายละเอียดเรื่องนี้อยู่ ซึ่งคาดว่าจะเปิดเผยได้ในเร็วๆ นี้ โดยรัฐบาลจะทยอยผ่อนคลายกฎระเบียบ เพื่อเปิดกว้างในภาคการเงินให้มากขึ้น ภายใน 5 ปีข้างหน้านี้

รายงานระบุว่า หลังจากที่กฏใหม่มีผลบังคับใช้ ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นใหญ่ 51% ในธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจบริหารจัดการกองทุน และบริษัทตราสารหนี้ได้ และหลังจากนั้นรัฐบาลจะยกเลิกข้อจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของธุรกิจหลักทรัพย์ในอีก 3 ปีข้างหน้า และธุรกิจประกันชีวิตในอีก 5 ปีข้างหน้า

การที่จีนได้ผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ในภาคการเงิน ซึ่งเป็นครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2550 เกิดขึ้นหลังจาก ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เดินทางมาเยือนจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการเดินทางเยือนเอเชีย และเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ เอเปก (APEC Economic Leaders'Meeting) ครั้งที่ 25 ที่นครดานัง ประเทศเวียดนาม โดยคาดว่าจะสร้างความคึกคักให้ธุรกิจธนาคาร ประกันภัย และบริษัทจัดการสินทรัพย์ต่างชาติ ที่จะสามารถเข้าสู่ตลาดการเงินของเขตเศรษฐกิจใหญ่สุด อันดับ 2 ได้มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ และ ประกันภัย ที่ต่างชาติถูกจำกัดมาโดยตลอด

สำหรับธุรกิจ ประกันชีวิต นั้น ปัจจุบันจีนจำกัดให้ชาวต่างชาติถือครองหุ้นในบริษัท ประกันชีวิต ร่วมทุนได้ 50% ซึ่งตามระเบียบใหม่จะขยายเพิ่มเป็น 51% ในอีก 3 ปีข้างหน้า และยกเลิกข้อจำกัดทั้งหมดภายใน 5 ปีข้างหน้า

ผู้ช่วยรองประธาน ฝ่ายวิเคราะห์กลุ่มสถาบันการเงิน สถาบันบริษัท มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ในฮ๋องกง ให้ความเห็นว่า จะส่งผลบวกอย่างมากต่อ บริษัทประกันชีวิต ต่างชาติ ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในจีน เพราะทำให้มีอำนาจในการบริหารจัดการธุรกิจได้มากขึ้น ขณะเดียวกันจะเอื้อประโยชน์ต่อ บริษัทประกันชีวิต ภายในประเทศด้วย เพราะจะกระตุ้นให้เกิดการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่มีความหลากหลายมากขึ้นออกมาสู่ตลาด เพื่อจัดการกับสถาณการณ์ที่ย่ำแย่ ที่อุตสาหกรรม ประกันชีวิต กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากการพึ่งพิงผลิตภัณฑ์ระยะสั้นมากเกินไป

ปัจจุบันด้วยสภาพแวดล้อม ด้านการกำกับดูแลที่เข้มงวดของจีน รวมไปถึงตลาด ประกันชีวิต ในบางพื้นที่่ของจีน ที่ยังไม่มี ประกันภัย อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่เบี้ย ประกันภัย เติบโตค่อนข้างสูง เฉลี่ยอยู่ที่ 22% ต่อปี ในช่วงปี 2555-2559 ได้จำกัดผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้น จากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในตลาด ประกันภัย จีนไปโดยปริยาย

ทั้งนี้ การเติบโตของ บริษัทประกันชีวิต จากต่างประเทศในจีน ทำได้ไม่เต็มที่นักในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากถูกจำกัดด้วยกฎระเบียบเกี่ยวกับ สัดส่วนการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติ และการขยายสาขา ซึ่่งปัจจุบันมี บริษัทประกันชีวิต จากต่างประเทศเปิดดำเนินธุรกิจอยู่ในจีน 28 บริษัท ซึ่งจากข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2560 ทั้ง 28 บริษัทมีส่วนแบ่งการตลาด รวมกันเพียง 6.4% เท่านั้น ดังนั้นการให้ถือหุ้นใหญ่ได้ จะช่วยเพิ่มการเติบโตและรายได้ของ บริษัทประกันชีวิต ต่างชาติ

ปัจจุบัน มี บริษัทประกันภัย ต่างชาติบางบริษัท จำกัดการถือครองหุ้นใน บริษัทประกันภัย ของจีน ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 25% เพื่อให้ บริษัทประกันภัย ร่วมทุน มีสถานะเป็นบริษัทจีน เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคด้านกฎระเบียบพิเศษต่างๆ

เครดิต: สยามอินชัวร์ นิวส์

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์