ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยง “ดอกเบี้ยขาขึ้น” เขย่า ประกันภัย

ธุรกิจ ประกันภัย ไทย 10 ปีข้างหน้า เติบโตเฉลี่ยปีละ 9.3% อานิสงส์สังคม “ผู้สูงวัย” คนจะไม่ทำประกันออมเงิน กรณีที่ ดอกเบี้ย ปรับสูงขึ้น

ปัจจัยเสี่ยง “ดอกเบี้ยขาขึ้น” เขย่า ประกันภัย

กรกฎาคม

6

วิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ ประกันภัย ไทย 10 ปีข้างหน้า เติบโตเฉลี่ยปีละ 9.3% ด้วยอานิสงส์สังคม “ผู้สูงวัย” และอัตราการพึ่งพาผู้สูงอายุในประเทศไทย ที่จะเพิ่มขึ้นจาก 15.2% เป็น 52.5% ในปี 2593 เตือนปัจจัยเสี่ยง “ดอกเบี้ยขาขึ้น” ในครึ่งปีหลังเขย่าวงการ

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มอลิอันซ์ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นหลัก บมจ.อลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิต เปิดเผยถึงมุมมองในแง่ธุรกิจ ประกันชีวิต ในประเทศไทยว่า ตั้งแต่ปี 2555 ตลาด ประกันภัย ในประเทศไทยได้สูญเสียแรงกระตุ้นบางส่วนไป อัตราการเติบโตของเบี้ย ประกันชีวิต และเบี้ย ประกันภัย ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 3.9% ในปี 2559 เป็นการลดลง 4 ปีติดต่อกัน จากตัวเลขเบื้องต้นพบว่า อัตราการเติบโตของยอดเบี้ย ประกันภัย ในธุรกิจประกันวินาศภัยมีการเติบโตลดลงติดลบ -2.1% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2542 ขณะที่การเติบโตของ ประกันชีวิต เติบโตขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่ 6.6%

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีอัตราเติบโตที่ค่อนข้างต่ำ แต่รายได้จากเบี้ย ประกันภัย คิดเป็น 4.9% ของจีดีพี ถือว่ามีอัตราเติบโตเทียบเท่ากับประเทศเยอรมนี ในส่วนของการใช้จ่ายต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 10,290 บาท หรือประมาณ 264 ยูโร ทำให้ประเทศไทยสูญเสียตำแหน่งผู้นำ และมีรายจ่ายต่อหัวอยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศจีน ซึ่งเร่งตามมาจากการที่เบี้ยประกันเพิ่มสูงขึ้นถึง 23.1% ในปีที่ผ่านมา

สำหรับเบี้ยประกันจากธุรกิจ ประกันชีวิต มีสัดส่วนคิดเป็น 70% ของรายได้จากเบี้ย ประกันภัย รวม ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจของธนาคารโลกที่พบว่า 65% ของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นผู้ใหญ่บอกว่า พวกเขาเก็บเงินออมไว้ใช้ในยามสูงวัย ทั้งนี้จากอัตราพึ่งพาผู้สูงอายุในประเทศไทย ที่จะเพิ่มขึ้นจาก 15.2% เป็น 52.5% ในปี 2593 เราคาดว่าการเติบโตของธุรกิจ ประกันชีวิต จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม ประกันภัย ในช่วง 10 ปีข้างหน้าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 9.3% ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจน่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจประกันวินาศภัย ซึ่งเรามองเห็นศักยภาพในการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 7.5% ต่อปี ไปจนถึงปี 2570

“ปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจ ประกันภัย ในช่วงครึ่งปีหลัง อยู่ที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งจะส่งผลต่อธุรกิจประกันชีวิต เนื่องจากคนจะไม่ทำประกันเพื่อออมเงิน แต่จะหันไปซื้อพันธบัตรที่มีผลตอบแทนที่ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะเป็นกรณีที่ ดอกเบี้ย ที่ปรับสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งมองว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นค่อนข้างยาก เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลอย่างใกล้ชิด”

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจอลิอันซ์ คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย จะยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 3% ในปีนี้เเละปีหน้า เป็นผลจากข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันที่แข็งแกร่ง (เช่น ราคาที่แข่งขันได้ ยุทธศาสตร์ที่ตั้ง) และความต้องการจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น จะช่วยสนับสนุนการส่งออกและรายได้จากการท่องเที่ยว ด้วยหนี้สาธารณะที่คิดเป็นสัดส่วน 43% ของจีดีพี (ต่ำกว่าเพดานหนี้สาธารณะ 60%) ช่องว่างทางการคลังที่มีอยู่ จะถูกใช้เพื่อส่งเสริมการเติบโตในรูปแบบการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้ การเดินหน้ายกระดับความเชื่อมั่นของภาคเอกชนจะเป็นหัวใจสำคัญ ในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ นำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนสำหรับตอนนี้ การใช้จ่ายภาคเอกชนถือว่าเป็นจุดอ่อนสำคัญของเศรษฐกิจ เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อภาคเอกชนที่จำกัด รวมถึงความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจที่อ่อนแอ และการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศอยู่ในอัตราต่ำ

ด้านภาวะเศรษฐกิจโลกประจำปี 2560 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจอลิอันซ์คาดการณ์ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ประมาณ 2.8% ในปี 2560 เทียบกับ 2.5% ในปี 2559 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจะมีอัตราการขยายตัวของจีดีพีอยู่ที่ 1.9% กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จีดีพีเติบโต 4.1% เพิ่มขึ้นจาก 3.7% ในปี 2559 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว แนวโน้มการเติบโตจะดีขึ้นโดยรวม โดยรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัวเล็กน้อยที่ประมาณ 2% ในปีนี้ ขณะที่ยูโรโซน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป เราคาดว่าจีดีพีจะเพิ่มเพิ่มขึ้น 1.7%

ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียเกิดใหม่ น่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีในปี 2560 และ 2561 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจอลิอันซ์คาดว่าการเติบโตของจีดีพีในปีนี้ จะเพิ่มขึ้น 6.0% และจะลดลงเหลือเพียง 5.7% ในปี 2561 การเติบโตของจีดีพีได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของประเทศจีน ที่แม้เศรษฐกิจจะชะลอตัว แต่ยังคงแข็งแกร่ง (6.7% ในปี 2560) การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มอาเซียน -5 (4.6%) และอินเดีย (ประมาณ 7%) อุปสงค์ในประเทศยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ในการบริโภคและการใช้นโยบายการคลังที่ดี การส่งออกได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก สกุลเงินมีเสถียรภาพ และธนาคารกลางในภูมิภาคมีความคล่องตัวมากขึ้น ในการมุ่งเน้นการพัฒนาเสถียรภาพทางการเงิน

เครดิต : สยามธุรกิจ

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์