ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

“วินาศภภัย” หั่นเป้าเบี้ย ประกันภัย โตแค่ 2%

“บอร์ดใหม่” ชู 4 กลยุทธ์ หนุน ประกันภัย - ศก.ยั่งยืน เหตุแข่งดุ-คปภ.สั่งลดเบี้ย ประกันภัย

“วินาศภภัย” หั่นเป้าเบี้ย ประกันภัย โตแค่ 2%

มิถุนายน

29

สมาคมประกันวินาศภัยไทยเผย เพิ่งปรับเป้าหมายการเติบโตของเบี้ยประกันวินาศภัยใหม่เหลือแค่ 2% เหตุจากเบี้ย ประกันภัย หลายตัวปรับลดลง ทั้งข้าวนาปี รถยนต์ ประกันทรัพย์สิน จากเหตุ การแข่งดุ-คปภ.สั่งลดเบี้ย ขณะที่ขยายความคุ้มครองเพิ่มขึ้น จะทำให้เบี้ยประกันส่วนหนึ่งหายไป คาดครึ่งปีหลังแรงบวกเยอะ จากบิ๊กโปรเจกต์-ระเบียง ศก.ที่จะเข้ามาในระบบ ทั้งรัฐหนุน-ส่งออกดี-ท่องเที่ยวบูม บอร์ดใหม่กางแผนงานด่วน ผลักดัน “ดิจิทัล” หนุน ประกันภัย ลงทุน “ไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์” เร่งทำคลอด “อินชัวรันส์ บูโร”

สมาคมฯ เพิ่งปรับเป้าหมายการเติบโตของอุตสาหกรรมประกันวินาศภัยในปีนี้ใหม่ ลดลงเหลือประมาณ 2% หรือมีเบี้ย ประกันภัย ประมาณ 216,049 ล้านบาท จากเดิมที่คาดการณ์จะเติบโตประมาณ 3-4% หรือมีเบี้ย ประกันภัย 218,000-220,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าจีดีพีที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 3-4% เนื่องจากปีนี้มี ประกันภัย หลายประเภทที่มีเบี้ยประกันลดลง

ในส่วนของ ประกันภัยรถยนต์ ก็ลดลงเช่นกัน ทั้งจากการแข่งขันที่รุนแรง และทาง คปภ.มีคำสั่งให้ลดเบี้ย ประกันภัย ภาคสมัครใจ สำหรับรถที่ติดกล้อง CCTV อีก 5-10% รวมถึงกรมธรรม์ปลอดแอลกอฮอล์ลดเบี้ย ประกันภัย 10% ซึ่งยอดขาย รถยนต์ ยังไม่ส่งผลต่อเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ในทันที ส่วนของเบี้ย ประกันภัยทรัพย์สิน ก็ลดลงเช่นกัน นอกจากการแข่งขันแล้ว ยังเป็นผลมาจาก คปภ.ปรับลดอัตรา ประกันอัคคีภัย ลง 10-15% แม้จะใช้บังคับวันที่ 1 ตุลาคมนี้ แต่มีแนวโน้มที่เบี้ยประกันภัยลดลงแล้ว

โดยแนวโน้มธุรกิจประกันวินาศภัยในช่วงครึ่งปีหลัง ผู้บริโภคจะเข้ามาในธุรกิจ ประกันภัย มากขึ้น เพราะธุรกิจ ประกันภัย ได้รับการยอมรับมากขึ้น การได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง ประกันสุขภาพ การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (มารีน) ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน จะขยายตัวไปพร้อมกับการส่งออก ขณะเดียวกันธุรกิจ ประกันภัย จะเติบโตไปในภาคการค้าขายชายแดนมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ซีแอลเอ็มวี ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม

สำหรับนโยบายการบริหารงานของ คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ในปี 2560-2561 ว่า กำหนดเป้าหมายในการทำงานไว้ 4 ส่วน ได้แก่ 1.ภาคประชาชน ต้องให้ความรู้ในเรื่องของความเสี่ยง เพื่อให้สามารถนำ ประกันภัย เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงได้ โดยต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนควบคู่กันไป 2.หน่วยงานภาครัฐต้องเข้าไปใกล้ชิดให้มากขึ้น อาทิ กรมสรรพากร ที่ยังมีเรื่องที่สมาคมฯ ขอให้นำเบี้ย ประกันสุขภาพ มาหักลดหย่อนภาษีได้ 15,000 บาทค้างอยู่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการขนส่งทางบก เป็นต้น 3.คปภ.ซึ่งต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เช่นเดียวกับในส่วนที่ 4.คือ บริษัทประกันภัย ยกตัวอย่าง บริษัทประกันภัย มีหลายอย่างเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นที่เปล่าประโยชน์ อาทิ น็อค ฟอร์ น็อค

ภารกิจอันดับแรกที่ต้องผลักดันออกมา คือ การรองรับดิจิทัลไลเซชั่น (Digitalization) เทคโนโลยีประกันภัย (อินชัวร์ เทค) ที่ต้องเข้าไปศึกษา เพราะ อินชัวร์ เทค เป็นเรื่องที่อันตราย บางครั้งไม่สามารถเข้าไปกำกับได้ จะทำให้ภาพลักษณ์ของธุรกิจ ประกันภัย เสียหาย และยังคงต้องตอบสนองนโยบายของรัฐเพื่อรักษาเศรษฐกิจให้มั่นคง ยั่งยืน อาทิ ประกันภัยข้าวนาปี ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ประกันภัยสำหรับผู้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (ประกันภัยผู้มีรายได้น้อย) ซึ่งแม้รัฐบาลจะชะลอไป ทางภาคธุรกิจก็ต้องศึกษาต่อไป

อีกตัวที่สำคัญมากคือ การลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (ไทยแลนด์ ฟิวเจอร์ ฟันด์) ซึ่งจะสนับสนุนให้ บริษัทประกันภัย เข้าไปลงทุนให้มากขึ้น ตามความสามารถของ บริษัทประกันภัย

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ฐานอุตสาหกรรม ประกันภัย (อินชัวรันส์ บูโร) เพราะตอนนี้แข่งขันที่ บิ๊กดาต้า ถ้า อินชัวรันส์ บูโร ไม่เกิด บิ๊กดาต้าก็ไม่เกิด กระทบถึงผู้บริโภค เราไม่รู้ว่าภัยอยู่ที่ไหน ซึ่งขณะนี้ อินชัวรันส์ บูโร ก็มีความคืบหน้า โดย คปภ.กำลังจะเซ็นเอ็มโอยูกับ บริษัทประกันภัย ทั้งหมด มีสมาคมฯ เข้าไปร่วมด้วย ซึ่งภายใต้กรอบเอ็มโอยูนี้ จะเรื่องของการส่งข้อมูลซึ่งกันและกัน รูปแบบของข้อมูล และการเอาข้อมูลมาใช้อย่างไร ในการปรับเบี้ย ประกันภัย ให้ตรงกับภัย และนำเสนอการ ประกันภัย ที่ตรงกับภัยความเสี่ยงภัย

ด้าน กรรมการและกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการการบัญชี-การเงิน และการลงทุน สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวเสริมว่า สมาคมฯ จะสนับสนุนนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (เนชั่นแนล อี-เพย์เมนท์) อาทิ การชำระเบี้ย ประกันภัย และการจ่ายสินไหมทดแทน นอกจากจะเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชนแล้ว ยังทำให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้บริการขั้นพื้นฐานทางการเงินลดลงด้วย

มุมมองต่อธุรกิจประกันวินาศภัยในช่วงครึ่งปีหลัง จะมีปัจจัยบวกเยอะขึ้น ทั้งโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (เมกะโปรเจกต์) รถยนต์ คันแรกที่ครบกำหนด 5 ปี และนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ยังมีอีก 2 ปัจจัยที่น่าจับตามอง คือ การแข่งขันในตลาด ประกันภัย ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน รุนแรงมากขึ้น โดยชื่อว่าเบี้ย ประกันภัย จะปรับลดลงอีก หลังจากปีที่ผ่านมาลดลงเฉลี่ย 30% และปัจจัยที่สองคือ เศรษฐกิจซึ่งต้องลุ้นกันต่อไป

ด้าน รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.วิริยะประกันภัย ให้ความเห็นถึงธุรกิจ ประกันภัย ในช่วงครึ่งปีหลังว่า น่าจะดีขึ้น แต่ไม่หวือหวา เพราะสัญญาณที่เห็นชัดคือ ส่งออกดีขึ้น ตลาดเอเชียดีขึ้น โดยตัวที่มาแรงคือ กลุ่มโลจิสติกส์ซึ่งสัมพันธ์กับการส่งออก จะส่งผลมาถึง ประกันภัย กลุ่มรถขนาดใหญ่ ประกันการขนส่ง

“แนวโน้มการแข่งขันราคา เชื่อว่าไม่น่าแรงเหมือนปลายปีก่อน คนที่เข้ามาแข่งขันน่าจะเริ่มรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น การทำธุรกิจประกันภัยจริงๆ อยู่ที่กำไรจากการลงทุน กำไรจากเบี้ยประกันอย่างเก่ง 5%”

เครดิต : สยามอินชัวรันส์ นิวส์

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์