ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

คปภ.ทยอยเปิดเสรี ธุรกิจประกัน-เบี้ย ประกันภัย

ภาคธุรกิจ ประกันภัย จะต้องเปิดเสรี ประกันภัย พร้อมอาเซียน 10 ประเทศ ต้องเร่งวางกฎกติกา เร่งผลักดันให้ธุรกิจไทย มีความพร้อม

คปภ.ทยอยเปิดเสรี ธุรกิจประกัน-เบี้ย ประกันภัย

มิถุนายน

1

ในปี 2563 ภาคธุรกิจ ประกันภัย จะต้องเปิดเสรี ประกันภัย พร้อมกับกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 10 ประเทศ ที่มีประชากรร่วม 600 ล้านคน ซึ่งเหลือเวลาอีก 3 ปีเท่านั้น ทำให้หน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ต้องเร่งวางกฎกติกา และเร่งผลักดันให้ธุรกิจไทย มีความพร้อมล่วงหน้ารับมือกับการเปิดเสรีดังกล่าว

ทั้งนี้ การเปิดเสรี ประกันภัย มีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง จากระยะแรกที่มีการเพิ่มใบอนุญาต บริษัทประกันภัย และ บริษัทประกันชีวิต ต่อมาระยะที่สอง มีการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในบริษัท ประกันภัย เพิ่มจาก 25% เป็นไม่เกิน 49% และล่าสุดกำลังเข้าสู่ระยะที่สาม คือ การให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นใน บริษัทประกันภัย ได้ 100%

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า การเปิดเสรีธุรกิจ ประกันภัย เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยในส่วนการให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นนั้น เป็นอำนาจของ รมว.คลัง ตามการเสนอของคณะกรรมการ คปภ.

ที่ผ่านมา ได้เปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกือบ 100% ในกรณีบริษัทมีปัญหาทางการเงิน เช่น ในช่วงน้ำท่วม ที่บริษัท ประกันภัย ต้องจ่ายค่าสินไหมจำนวนมาก จนส่งผลกระทบต่อเงินกองทุน และในกรณีที่บริษัทมีปัญหาจากการดำเนินงาน จนทำให้เงินกองทุนมีปัญหา ก็เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้เกือบ 100%

ล่าสุด คปภ.ได้เปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ 100% เพื่อขยายธุรกิจในประเทศไทยได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ในกรณีที่เป็น บริษัทประกันชีวิต ต้องมีการดำรงเงินกองทุนที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท และบริษัทประกันวินาศภัย ต้องมีเงินกองทุนที่สามารถนำมาใช้ได้ทั้งหมด ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจ แต่ยังไม่เปิดให้มีการเข้ามาตั้งสาขาได้ นอกจากนี้ ต่างชาติที่จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จะต้องมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ประกันภัย ไม่น้อยกว่า 10 ปี

“ถือเป็นการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ 100% โดยบริษัทไม่ต้องมีปัญหาฐานะการเงิน หรือเหตุการณ์พิเศษ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการระบุไว้ในกฎหมายตั้งแต่ปี 2558 แล้ว แต่ไม่มีกำหนดรายละเอียด กติกา ก็มาทำให้สมบูรณ์ขึ้น จัดให้มีการร่างกติกา เพื่อจะได้เกิดความชัดเจนว่า การเข้ามาถือหุ้นมีเงื่อนไขอย่างไร และการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาในบริษัทที่มีปัญหา กับบริษัทที่ไม่มีปัญหา ต้องมีกติกาต่างกัน เพราะสเปคนักลงทุนคนละแบบ”

คนไทยคงไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามาเอาประโยชน์อย่างเดียว ต้องให้อะไรกับคนไทยด้วย จึงกำหนดเงื่อนไขชัดเจน เช่น เข้ามาแล้วต้องถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้ธุรกิจ ประกันภัย ไทยด้วย ไม่ใช่เข้ามาเพื่อดูดเงินออกไปอย่างเดียว คนที่เข้ามาต้องเสริมสิ่งที่ไทยขาด ทั้งด้านเทคโนโลยีและความรู้ต่างๆ

อย่างไรก็ตาม การเปิดให้ต่างชาติถือหุ้น 100% ไม่ได้หมายความว่า นักลงทุนจะเข้ามาทันที หากเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่มีนักลงทุนเข้ามา ช่วงก่อนมีนักลงทุนจากสหรัฐสนใจอยากจะมาลงทุน แต่ขณะนี้เงียบไป เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง

นอกจากนี้ คปภ.ยังสนับสนุนให้บริษัทที่มีความพร้อมขยายธุรกิจไปยังกลุ่มอาเซียน ซึ่งมีหลายบริษัทออกไปแล้ว ในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือซีแอลเอ็มวี โดยเฉพาะใน ลาว กัมพูชา เมียนมา มี บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัยร่วม 8 แห่งเข้าไปทำธุรกิจแล้ว อาทิ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต บริษัท กรุงเทพประกันภัย บริษัท ทิพยประกันภัย บริษัท ทิพยประกันชีวิต กลุ่มพานิชชีวะ บริษัท นวกิจประกันภัย บริษัท ฟอลคอนประกันภัย บริษัท ไทยรีประกันชีวิต บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต บริษัท เมืองไทยประกันภัย บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ และยังมีบริษัทอื่นๆ อีกที่อยู่ระหว่างการศึกษา

ทั้งนี้ การเข้าไปทำธุรกิจในกลุ่มซีแอลเอ็มวี ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุนกับนักลงทุนท้องถิ่น รองลงมาเป็นการร่วมทุนกับสถาบันการเงินไทยที่ดำเนินการในต่างประเทศ การเปิดสำนักงานสาขา

รวมทั้งยังมีการลงนามความร่วมมือในการขาย ประกันภัย ข้ามแดน การให้บริการสินไหมทดแทนข้ามแดน ซึ่งประเทศในกลุ่มนี้ ผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์และบริการของไทย โดยเฉพาะ ประกันภัยรถยนต์ ประกันชีวิต และประกันสุขภาพ จะได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ

ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ในกลุ่มอาเซียนธุรกิจ ประกันภัย ไทยถือว่ามีความแข็งแกร่ง เป็นรองเฉพาะสิงคโปร์ และมาเลเซียเท่านั้น และจากการที่รัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะยกระดับประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ อาทิ ศูนย์กลางทางการรักษาพยาบาล ศูนย์กลางด้านการขนส่ง ศูนย์กลางด้านอัญมณี และอื่นๆ จะเป็นโอกาสให้ธุรกิจ ประกันภัย ไทยเข้าไปมีส่วนในเบี้ย ประกันภัย ต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่การเปิดเสรีเบี้ย ประกันภัย นั้นได้เริ่มทยอยทำแล้ว เริ่มจากการเพิ่มความคุ้มครอง ประกันภัย ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. โดยที่ไม่เพิ่มเบี้ย ประกันภัย การให้ส่วนลด 5-10% เบี้ย ประกันภัยรถยนต์ สำหรับ รถยนต์ ที่ติดตั้งกล้องวงจรปิด การลดเบี้ย ประกันอัคคีภัย บ้าน 10-15% ซึ่งเป็นการทดสอบความสามารถในการบริหารจัดการ และความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทประกันวินาศภัย

สำหรับในเรื่องเบี้ย ประกันภัย นั้น แม้ว่าปัจจุบันจะมีการกำหนดเพดานเบี้ย ประกันภัย ต่างๆ เพื่อไม่ให้บริษัทที่มีเงินกองทุนขนาดใหญ่ทุ่มตลาด ด้วยการคิดเบี้ยราคาถูก และไม่ให้บริษัทขนาดเล็ก ใช้ราคาต่ำในการทำตลาดจนบริษัทเสียหาย แต่การที่ คปภ.ออกประกาศลดเบี้ย ให้ส่วนลดเบี้ย ถือเป็นการส่งสัญญาณการเปิดเสรีเบี้ย ประกันภัย ที่ภาคธุรกิจจะต้องเตรียมรับมือ

โดย ประกันภัยรถยนต์ จะเป็นกลุ่มแรก ที่จะมีการเปิดเสรีเบี้ย ประกันภัย เพราะมีจำนวนผู้ทำ ประกันภัย มาก และมีข้อมูล สถิติ ที่มากพอ ทำให้เห็นต้นทุนชัดเจน ซึ่งภาคธุรกิจเองได้เตรียมพร้อม และทดลองทำแล้วบางส่วน เช่น การออกสินค้าเฉพาะกลุ่มที่คิดเบี้ยถูกกว่าตลาด เพื่อดูต้นทุนความเสียหาย ค่าใช้จ่ายในการจัดการสินไหมทดแทน ค่าใช้จ่ายในการรับ ประกันภัย และกำไร เป็นต้น

“ทุกวันนี้ รถบางยี่ห้อ บริษัท ประกันภัย ขาดทุนหนัก แต่ยังขายกันได้ในราคาเบี้ยที่ต่ำ เพราะมีการนำเบี้ย ประกันภัย อื่นมาโปะ แต่ถ้าเปิดเสรีเบี้ย ประกันภัย ทั้งหมดพร้อมกัน จะต้องมานั่งดูรายสินค้าเลย และเบี้ยจะถูกกำหนดจากต้นทุนที่แท้จริง บวกด้วยกำไร ซึ่งไทยเดินทางมาถึงระยะกลางของการเปิดเสรีเบี้ยแล้ว คือ การให้ส่วนลดเบี้ย ในส่วนของอุปกรณ์เสริมที่เพิ่มความปลอดภัย เหมือนที่ญี่ปุ่น และหลายประเทศทำก่อน เปิดเสรีที่ได้ศึกษามาหมดแล้ว”

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจประกันวินาศภัยกำลังดำเนินการควบรวมกิจการ ของสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (IPRB) กับบริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท (TID) เป็นบริษัท ไทยแลนด์อินชัวรันส์ รีเสริชแอนด์ดีเวลล็อปเม้นท์ (TIRD) มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่คำนวณต้นทุนธุรกิจประกันวินาศภัยทั้งระบบ เพื่อหาต้นทุนอ้างอิง และให้คำแนะนำด้านการเปิดเสรีเบี้ย ประกันภัย ในอนาคต

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา บริษัทประกันชีวิต และ บริษัทประกันวินาศภัย ได้ปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเพิ่มธุรกิจดิจิทัล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขัน และลดต้นทุนทางธุรกิจ เตรียมไว้รับมือกับการเปิดเสรีในอนาคตอันใกล้

ที่มา : โพสต์ทูเดย์