ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

สินค้า ประกันภัย ถึงยุคผลัดใบ สนองรับแรงซื้อมนุษย์ 4.0

ธุรกิจ ประกันภัย รุกคืบ “ประกันภัยยุคดิจิทัล” เดินเครื่องโครงการทดสอบนวัตกรรม ที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการ

สินค้า ประกันภัย ถึงยุคผลัดใบ สนองรับแรงซื้อมนุษย์ 4.0

พฤษภาคม

30

ธุรกิจ ประกันภัย รุกคืบ “ประกันภัยยุคดิจิทัล” เดินเครื่องโครงการทดสอบนวัตกรรม ที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจ ประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) “สนามเด็กเล่น” ของการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาทดลองทำว่าจะถูกกฎระเบียบ หรือติดขัด หรือแก้ไขได้ เพื่อเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันว่า จะสามารถทำได้จริงหรือไม่ เป็นโอกาสในการคิดค้นแบบ ประกันภัย ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ เลิกวิธียื่นขออนุมัติกรมธรรม์ใหม่ๆ แต่แก้กลับไปกลับมา

เตรียมชงเลขาฯ คปภ. อนุมัติร่างฯ ตั้งเป้าประเดิม 10 โครงการ

รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เตรียมนำเสนอเลขาธิการ คปภ.ลงนามร่างประกาศแนวทางเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรม ที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจ ประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) หลังจากได้หารือกับฝ่ายกฎหมายอีกรอบ โดยประกาศนี้ทาง คปภ.ปรับปรุงจากโมเดลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจ ประกันภัย ซึ่งหลังจากเลขาฯ ลงนามจะมีผลบังคับใช้ทันที และบริษัท ประกันภัย สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการทดสอบได้ทันทีเช่นกัน

“จำนวนโครงการที่จะเข้าร่วมจะมีจำนวนเท่าไหร่จะถึง 10 โครงการหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับโครงการมีความน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน ความเป็นไปได้ของโครงการหลังออกจากแซนบ็อกซ์แล้วสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้แค่ไหน เช่น เสนอมา 20 โครงการ แต่ไม่มีความเป็นไปได้เลย เป็นต้น หรือเสนอเข้าร่วม 20 โครงการ มีความน่าสนใจและเป็นไปได้ทั้งหมด มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจ ประกันภัย และประชาชน แต่อาจจะติดกฎระเบียบไม่ใหญ่โตมากแบบนี้ จะผลักดันให้เกิดขึ้นได้ เป็นต้น”

อย่างไรก็ดี จะมีการตั้งคณะกรรมการคัดเลือกโครงการขึ้นมา และเนื่องจากโครงการที่ส่งเข้ามาเป็นนวัตกรรมของแต่ละบริษัท ต้องระมัดระวังไม่ให้หลุดออกไปข้างนอก ดังนั้นตัวคณะกรรมการจึงต้องพิจารณากันเป็นพิเศษ จะเป็นคนของ คปภ.เกือบทั้งหมดในส่วนของกำกับ ตรวจสอบ และไอที รวมไปถึงจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเข้ามาร่วมด้วย

“คปภ.เปิดกว้าง อยากได้แนวความคิดใหม่ๆ ดังนั้นนวัตกรรมอะไรได้หมด ไม่ว่าจะเป็นฟินเทค (FinTech Firms) หรือ อินชัวร์ เทค (Insur Tech) ที่มาบวกกับธุรกิจ ประกันภัย และพัฒนาเป็นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ประกันภัย และธุรกิจ ประกันภัย โดยรวม ถามว่าแซนบ็อกซ์จะพลิกโฉมธุรกิจ ประกันภัย หรือไม่ ขึ้นอยู่กับบริษัท ประกันภัย นำเสนออะไร และความพร้อมของบริษัท ประกันภัย เพราะจากสถิติที่มีในต่างประเทศ มีนวัตกรรมที่ผ่านสนามทดลองแซนบ็อกซ์ และประสบความสำเร็จในการใช้งานจริงได้ไม่ถึง 20% คือคนที่เอามาทำที่จะสำเร็จได้ ต้องมีความพร้อมทั้งในแง่ของคน ระบบ แนวคิด กระบวนการต่างๆ โครงสร้างธุรกิจ และแผนกลยุทธ์ต่างๆ”

สำหรับความคืบหน้าในการออกประกาศลูกต่างๆ เพื่อรองรับประกาศ คปภ. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการออกกรมธรรม์ ประกันภัย การเสนอขาย การชดใช้สินไหมทดแทน ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ขณะนี้ คปภ.เตรียมออกประกาศลูกฉบับใหม่ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ขาย ประกันภัย ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งได้หารือกับภาคธุรกิจไปแล้วเช่นกัน โดยประกาศฉบับนี้จะมีการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ของบริษัท ประกันภัย ที่จะขายผ่านออนไลน์ได้ ซึ่งจะล้อไปกับประกาศฉบับแม่ เรื่องการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาบริษัท ประกันภัย ที่จะขายผ่านออนไลน์ด้วย

ส่วนการกำหนดมาตรฐานเรื่อง EKYC (Electronic Know Your Customer) จะทำให้ธุรกิจ ประกันภัย ขาย ประกันภัย ทางออนไลน์ได้สะดวกขึ้น โดย EKYC อยู่ใน Sandbox ด้วย

ให้เวลาทดสอบโครงการละ 1 ปี มีกรอบควบคุมความเสี่ยง-กระทบลูกค้า

ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างประกาศ Insurance Regulatory Sandbox กำหนดผู้เข้าร่วมโครงการได้ คือ บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันวินาศภัย บริษัทนายหน้าประกันภัย ส่วนผู้ประกอบธุรกิจฟินเทค หรือผู้ที่มีความชำนาญด้านเทคโนโลยี (Technology Firms) ที่สนใจ จะต้องดำเนินการร่วมกับบริษัทที่กล่าวข้างต้น โดยจะต้องมีคุณสมบัติ 1.มีทรัพยากรด้านเงินทุน ระบบงาน และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอที่จะให้บริการได้อย่างเหมาะสม 2.กำหนดกรอบขอบเขตในการทดสอบ รวมทั้งผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการนำนวัตกรรมมาทดสอบอย่างชัดเจน และมีความประสงค์ต้องการนำนวัตกรรมนั้น มาเสนอให้กับผู้บริโภคในประเทศไทย หลังจากผ่านการทดสอบ 3.นำเสนอผลศึกษาที่แสดงถึงความเป็นไปได้ของนวัตกรรมที่จะนำมาทดสอบ รวมถึงศึกษาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมมีแผนการจัดการความเสี่ยงนั้น 4.มีแผนรองรับการออกจาก Sandbox ทั้งกรณีประสบความสำเร็จ และกรณีไม่ประสบความสำเร็จ

โดยนวัตกรรมที่นำมาทดสอบ ต้องไม่เคยมี หรือไม่เหมือนกับผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่นำเสนออยู่แล้วในประเทศไทย หรือเป็นนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ หรือการให้บริการที่มีอยู่เดิม ได้แก่ 1.ผลิตภัณฑ์ ประกันภัย รูปแบบใหม่ 2.กระบวนการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ประกันภัย 3.กระบวนการเรียกร้อง และ/หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 4.Smart Contract 5.ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่อง หรือเกี่ยวกับธุรกรรมตามคุณสมบัติข้อ 1-4 และ 6.ธุรกรรมอื่นที่สำนักงาน คปภ.พิจารณาเห็นชอบ

ผู้สมัครสามารถยื่นใบสมัครพร้อมแผนการทดสอบ กระบวนการ ขั้นตอน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง และแผนรองรับการออกจาก Sandbox ทั้งในกรณีที่การทดสอบประสบความสำเร็จ และไม่ประสบความสำเร็จ โดยสำนักงาน คปภ.จะแจ้งผลการพิจารณาภายใน 60 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ผู้สมัครยื่นใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องครบถ้วน โดยมีระยะเวลาทดสอบใน Sandbox ไม่เกิน 1 ปี และอาจพิจารณาขยายเวลาการทดสอบให้ โดยผู้สมัครต้องยื่นขออนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ ก่อนถึงวันครบกำหนดการทดสอบ

นอกจากนี้ต้องมีมาตรการดูแลผู้เอา ประกันภัย ในระหว่างทดสอบ 1.ผู้เอา ประกันภัย ต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนเพียงพอในการพิจารณาตัดสินใจ โดยจะต้องแจ้งให้ผู้เอา ประกันภัย ทราบว่าเป็นการทดสอบในโครงการ Sandbox 2.ผู้เอา ประกันภัย ยินยอมที่จะใช้บริการผลิตภัณฑ์/นวัตกรรม ที่นำมาทดลอง 3.มีช่องทางและมาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน และ 4.มีแผนการชดเชยให้ผู้เอา ประกันภัย และผู้ที่ได้รับความเสียหายจากความผิดพลาดของการทดสอบ

ขณะเดียวกันต้องมีระบบการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เพียงพอ รวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบงานแล้วข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบงานและข้อมูล (Integrity) ความพร้อมใช้ของระบบงาน (Availability) ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Risk) และความเสี่ยงด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Risk) โดยจะต้องมีการจัดส่งรายงานดำเนินการ ผลการทดสอบ ข้อมูลสถิติ ข้อมูลความเสี่ยง ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ข้อมูลการทุจริต ข้อร้องเรียนที่ได้รับจากผู้บริโภค และการดำเนินการจัดการต่อข้อผิดพลาด/ข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นต่อสำนักงาน คปภ. ตามระยะเวลาที่ได้ตกลงไว้กับสำนักงาน คปภ.รวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

ภาคธุรกิจขาดรับ “สนามเด็กเล่น” ห่วง คปภ.เพิ่มทรัพยากรช่วยคุม

อย่างไรก็ดี ในงานประชุมผู้บริหารระดับสูงด้านการ ประกันภัย ประจำปี 2560 (CEO Insurance Forum 2017) ได้ยกเรื่อง “การกำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัยด้วย Regulatory Sandbox“ มาเปิดสัมมนากลุ่มย่อยกลุ่มที่ 2 รองเลขาธิการด้านกำกับฯ กล่าวว่า ได้สร้างความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ใน Regulatory Sandbox รวมทั้งหลักเกณฑ์ในโครงการนำร่อง ซึ่งที่ประชุมได้ตั้งข้อสังเกตไปที่ คปภ. มีทรัพยากรเพียงพอหรือไม่ ในการจะพิจารณาคัดเลือกโครงการเข้าร่วม Sandbox และฝากเลขาฯ พิจารณากรณีผู้ที่เสนอโครงการเข้าไปแล้ว หากไม่ได้รับการพิจารณา ภาคธุรกิจมองว่าเป็นการเสียโอกาส

ส่วนหัวข้อ ยกระดับธุรกิจ ประกันภัย ผลสรุปเป็นที่น่าพอใจ สมาคมประกันชีวิตไทยจะพูดถึงความก้าวหน้าในการสนับสนุนประกาศขาย ประกันภัย ผ่านออนไลน์ ที่จะมีผลบังคับในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า รวมทั้งความก้าวหน้าในการทำระบบ EKYC หรือการรู้จักตัวตนของลูกค้า ซึ่งทั้งสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้เตรียมพร้อม โดยมองว่าระบบ EKYC จะแบ่งตามประเภทลักษณะของความเสี่ยง และท้ายสุดจะร่วมมือกันเพื่อกำหนด EKYC ให้สามารถดำเนินไปได้

ด้าน ประธานคณะอนุกรรมการดิจิทัล สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า ผลดีของ Sandbox คือ เป็นการร่วมมือกันของภาคธุรกิจและ คปภ. ซึ่งนอกจาก ฟินเทค อินชัวร์เทค แล้ว ยังมีสตาร์ทอัพ ที่มีไอเดียหลากหลาย บางเรื่องที่ไม่ติดกฎระเบียบทำได้ตามกฎระเบียบเป๊ะ ก็จับมือแล้วทำร่วมกันขึ้นมาเลย แต่บางเรื่องจะมีปัญหาหรือไม่ อาจจะต้องเข้า Sandbox ซึ่งหากภาคผู้กำกับดูแลร่วมใน Sandbox ก็ทำให้เห็นความเป็นไปในโครงการ

“มันดีกว่าการที่เราไปยื่นขอแบบ ประกันภัย แล้วส่งกลับไปกลับมา ตรงนี้ช่วยให้เกิดแบบ ประกันภัย ใหม่ๆ เช่น ตอนนี้ คปภ.สนับสนุนการออกแบบ ประกันภัย ที่ตรงกับความเสี่ยงของลูกค้า คล้ายออนดีมานต์ได้ หรือที่ใช้เทคโนโลยีพวก Smile Contract บ็อกซ์เชน ซึ่งตัวนี้ก็จะทำให้โมเดลมันเปลี่ยน มันจะมีผลกระทบอะไร หรือไม่ก็เรียนรู้ไปด้วยกัน”

ระดมสมองรับตลาดดิจิทัล ก.ม.-ช่องทางขาย-การนำเทคโนโลยีมาใช้

ส่วนสัมมนากลุ่มย่อยอื่นๆ อย่างกลุ่มย่อยที่ 1 หัวข้อ “การพัฒนากฎหมาย การควบคุม และการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับการฉ้อฉล ประกันภัย ในยุคดิจิทัล” สรุปต้องใช้ อินชัวรันส์ บูโร เป็นข้อมูลกลางที่ทุกคนสามารถมาใช้ในการบ่งชี้ตัวผู้เอา ประกันภัย ส่วนข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคล การแก้ไขกฎหมายเป็นเรื่องยาก สิ่งที่ทำได้คือใบคำขอเอา ประกันภัย ให้ผู้เอา ประกันภัย แสดงตน ยืนยันตนว่าสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ขณะที่กรณีเคลมดิจิทัล เลขาธิการ คปภ.ให้แก้กฎหมายนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้ใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนี้คณะกรรมการ คปภ.อาจจะประกาศกำหนดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ฉะนั้นสร้างความมั่นใจได้ว่า กฎหมายมีความยืดหยุ่น สามารถจะปรับใช้ได้ตลอด

ขณะกลุ่มย่อยที่ 3 หัวข้อ “การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการทำธุรกิจ ประกันภัย” สรุปว่าธุรกิจ ประกันภัย ไทยต้องมีการปรับตัว เมื่อมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ ประกันภัย รูปแบบใหม่ๆ สินค้าต้องแคบลงเป็นเฉพาะกลุ่ม เฉพาะด้านมากขึ้น โดยกรมธรรม์ที่มาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ ควรมีธรรมาภิบาลที่อาจจะเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ให้เหมาะสม นอกจากนี้ธุรกิจ ประกันภัย ต้องแข่งขันกับคนอื่นด้วย อาทิ เพียร์ ทู เพียร์ รวมทั้งการแข่งขันจากต่างชาติ การขายกรมธรรม์ผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นระบบแชท ระบบผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ต้องเกิดขึ้น ดังนั้นจึงต้องสร้างความตระหนักรับรู้ให้กับประชาชน ให้ความเชื่อถือกับบริษัท ควบคู่กับการสร้างแบรนด์ สร้างความน่าเชื่อถือให้ประชาชนด้วย และต้องมีการตรวจสอบเทคโนโลยี เรียกว่า “ไอที ออดิต” (IT Audit) ซึ่ง คปภ.กำลังกำหนดแนวทางในการตรวจสอบไว้ 9 ข้อ 9 ขั้นตอน โดยนำแนวทางมาจาก ก.ล.ต. และ ธปท. จะเริ่มดำเนินการออกตรวจสอบบริษัท ประกันภัย ประมาณปี 2561 ในช่วงกลางปีหรือปลายปี

ส่วนกลุ่มย่อยที่ 4 หัวข้อ “การยกระดับการกำกับพฤติกรรมทางการตลาด รวมถึงการคุ้มครองสิทธิประโยชน์” หารือในประเด็นการขายผ่านทางโทรศัพท์ การเสนอขายผ่านธนาคาร การพัฒนาการจัดการสินไหมทดแทน เพื่อการร้องเรียกด้านการ ประกันภัย และการเสริมสร้างความรู้ ประกันภัย ให้กับประชาชน โดยเรื่องการขายผ่านโทรศัพท์ อยากให้ คปภ.หาที่มาของการได้มาของข้อมูล และเห็นควรต้องมีการบันทึกเทปการนำเสนอขายที่ชัดเจน และสอบถามได้หมายเลขโทรศัพทมาจากที่ใด และบันทึกไว้ในเทปนั้น และควรเปิดเผยชื่อของผู้เสนอขายผ่านทางโทรศัพท์ เพื่อให้ประชาชนได้สืบค้นได้ว่า คนๆ นั้นมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ ส่วนการเสนอขายผ่านธนาคาร ประเด็นฮอตที่สุดในเวทีนี้คือ การขายโดยพนักงานธนาคารนอกสถานที่ มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ส่วนใหญ่บอกว่าไม่น่าจะทำได้ในภาวะปัจจุบัน เพราะมีตัวแทน นายหน้าบุคคลธรรมดา นำเสนอข้อมูลที่หลากหลายและละเอียดให้กับประชาชนอยู่แล้ว ขอให้ธนาคารขายเฉพาะในธนาคาร และต้องมีความชัดเจนในเรื่องของเอกสารเสนอการขาย หรือเงื่อนไขในกรมธรรม์ และเอกสารแนบกรมธรรม์ต่างๆ โดยเฉพาะ ประกันสุขภาพ

นอกจากนี้มีข้อเสนอว่า ควรมีมาตรการตรวจสอบควบคุมตัวแทน นายหน้า โดยเฉพาะตัวแทนและนายหน้าบุคคลธรรมดา พร้อมหาวิธีที่มีกฎระเบียบสอดรับ โดยการกำกับตัวแทน ควรเน้นไปที่การป้องกันมากกว่าเรื่องภาพลักษณ์ของธุรกิจ ประกันภัย ขณะที่บริษัทควรให้ความรู้กับพนักงานในเรื่องของการเสนอขายที่มีความถูกต้องชัดเจนให้มากขึ้น มีระบบการจัดการสินไหมที่มีความชัดเจน และ คปภ.ควรมีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงการร้องเรียน การกำกับในเรื่องของเงื่อนไขข้อพิพาทต่างๆ มีการเชื่อมโยงข้อมูลกันตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนเรื่องสุดท้าย เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนเพิ่มยิ่งขึ้นเป็นเรื่องสำคัญ

อนึ่ง ในไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา คปภ.พึ่งเพิกถอนใบอนุญาตตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เพิ่มขึ้นอีก 4 ราย เป็นตัวแทนประกันชีวิต 3 ราย และนายหน้าประกันวินาศภัย 1 ราย เนื่องจากกระทำความผิดเดียวกัน คือรับชำระเงินค่าเบี้ย ประกันภัย จากผู้เอา ประกันภัย แต่มิได้นำเงินค่าเบี้ย ประกันภัย ส่งให้บริษัท

ณ 31 มีนาคม 2560 ธุรกิจ ประกันภัย ทั้งระบบมีตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ทั้งสิ้น 522,828 ราย แบ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต 273,892 ราย ตัวแทนประกันวินาศภัย 20,209 ราย นายหน้าประกันชีวิต 104,806 ราย และนายหน้าประกันวินาศภัย 123,921 ราย

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์