ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

สัจจะประกันภัย กรณีศึกษา ที่ไม่ใช่รายสุดท้าย

เบี้ยประกันวินาศภัยเติบโตน้อยลง ค่าใช้จ่ายในการรับ ประกันภัย สูงขึ้น กำไรจากการรับ ประกันภัย น้อยลงเรื่อยๆ

สัจจะประกันภัย กรณีศึกษา ที่ไม่ใช่รายสุดท้าย

พฤษภาคม

22

ท่ามกลางกระแสการตื่นตัวเรื่อง “ธรรมาภิบาล” หรือ “การกำกับดูแลกิจการที่ดี” (Corporate Governance : CG) ตลอดจนการเปิดตัวต่อสาธารณชนของ “กองทุนประกันชีวิต-กองทุนประกันวินาศภัย” ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อคุ้มครองผู้เอา ประกันภัย ด้วยการ “จ่ายหนี้แทนให้” หากบริษัท ประกันภัย “ล้ม” หรือถูก “เพิกถอน” ใบอนุญาต

ข่าวด่วนจาก “คปภ.” ออกมาว่า “บอร์ด คปภ.” สั่ง “สัจจะประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวแล้ว โดย เลขาธิการ คปภ.ได้เปิดเผยถึงผลการประชุม คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) นัดล่าสุด เมื่อวันที่ 28 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ “สัจจะประกันภัย” หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. 2560 เป็นต้นไป

เนื่องจากมีหลักฐานปรากฏว่า บริษัทนี้ทำผิดข้อหา “อุกฉกรรจ์” หลายกระทง ทั้งมีการดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย ดำรงสินทรัพย์สำหรับเงินสำรองสำหรับเบี้ย ประกันภัย ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท เงินสำรองค่าสินไหมทดแทน และเงินสำรองอื่นของบริษัทประกันวินาศภัย และจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญา ประกันภัย ไม่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

ฝ่าฝืนคำสั่งพนักงานเจ้าหน้าที่ กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการถอนเงินในบัญชีธนาคารของบริษัท ให้กับกรรมการและบุคคลอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท มีการบันทึกบัญชีไม่ถูกต้อง ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท ทำให้รายงานทางการเงินของบริษัทขาดความน่าเชื่อถือ อีกทั้งยังค้างชำระค่าปรับตามมติคณะกรรมการเปรียบเทียบ จึงทำให้มีฐานะการเงิน หรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอา ประกันภัย หรือประชาชน และมีเหตุสมควรที่จะสั่งให้หยุดรับ ประกันภัย เป็นการชั่วคราว

อย่างไรก็ดี ระหว่างหยุดรับ ประกันภัย ชั่วคราวนี้ “สัจจะประกันภัย” ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขฐานะการเงิน และการดำเนินงาน ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ 1.ให้แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการ และคณะผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถ 2.ให้ปรับปรุงการบันทึกรายการบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพื่อให้งบการเงินของบริษัทมีความน่าเชื่อถือ และผ่านการรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 3.จัดให้มีระบบควบคุมภายใน การสอบทาน และการคานอำนาจของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการชุดย่อย ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยจัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานชัดเจน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งให้มีการทดสอบระบบให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4.จัดให้มีแผนธุรกิจ แผนบริหารความเสี่ยง และแผนการดำเนินงาน ที่สำนักงานเห็นชอบให้มีความน่าเชื่อถือ สามารถปฏิบัติได้ โดยมีการจัดให้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ ที่ส่งจะส่งผลกระทบในเชิงลบ 5.ต้องดำรงทรัพย์สินสำหรับเงินสำรองสำหรับเบี้ย ประกันภัย ที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท เงินสำรองค่าสินไหม และเงินสำรองอื่น และต้องจัดสรรสินทรัพย์ไว้สำหรับหนี้สินและภาระผูกพัน ตามสัญญา ประกันภัย ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด และ 6.ต้องชำระค่าปรับให้ครบถ้วน โดย คปภ.ให้เวลาแก้ไขภายใน 31 ก.ค. นี้เท่านั้น หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

“การสั่งให้ สัจจะประกันภัย หยุดรับ ประกันภัย ชั่วคราว จะไม่กระทบต่ออุตสาหกรรม ประกันภัย โดยรวม ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งระหว่างนี้บริษัทยังต้องจ่ายค่าสินไหมตามปกติ เพียงแต่ไม่สามารถรับลูกค้ารายใหม่ได้ โดยสั่งการไปยังสำนักงาน คปภ.ทั่วประเทศให้ตรวจสอบสาขา/สำนักงานตัวแทนของ สัจจะประกันภัย โดยให้แจ้งถึงการสั่งหยุดรับ ประกันภัย เป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทฯ ออกกรมธรรม์รายใหม่ ซึ่งระหว่างการหยุดรับ ประกันภัย เป็นการชั่วคราวนี้ คปภ.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะหน้าที่เข้าไปประจำที่บริษัทฯ เพื่อควบคุมดูแลให้ดำเนินการตามเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนดแล้ว” เลขาฯ กล่าว

เท้าความกันสักนิด “สัจจะประกันภัย” คือ “กมลประกันภัย” นั่นเอง โดยกลุ่มทุนใหม่คือ “บริษัท อีทีซี กรุ๊ป” ดำเนินธุรกิจก่อสร้าง และเป็นเจ้าของโรงเรียนนานาชาตินอริช แบงค์คอก ได้เข้าซื้อกิจการต่อจากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ที่ทำธุรกิจสหกรณ์แท็กซี่ เมื่อปลายปี 2558 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “สัจจะประกันภัย” ในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ดี การที่ “สัจจะประกันภัย” ถูก คปภ.สั่งให้หยุดรับ ประกันภัย ชั่วคราวนั้น ไม่ได้เกินไปจากที่คาดกันนัก เพราะก่อนที่กลุ่มทุนใหม่จะเข้ามาซื้อกิจการ บริษัทถูก “คปภ.” สั่งหยุดรับ ประกันภัย ชั่วคราวอยู่ก่อนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 2558 ด้วยความผิดที่ไม่ต่างจากในตอนนี้นัก แม้กลุ่มทุนใหม่จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ จนกลับมาเปิดรับ ประกันภัย ได้อีกครั้งก็ตาม

กระนั้นก็เป็นที่รู้กันว่า “เจ้าของใหม่” ไม่ได้รู้จักธุรกิจ ประกันภัย ดีพอ อาจจะไม่มีความรู้ในธุรกิจนี้เลยด้วยซ้ำ (แม้แต่ผู้บริหารที่มีความรู้ยังทำธุรกิจยาก) การบริหารธุรกิจจึงเป็นไปได้ยาก แม้ตอนจัดแถลงข่าวเมื่อกลางปีก่อน ได้เปิดตัวผู้บริหารใหม่ที่ฟอร์มทีมเข้ามาช่วยงาน แต่ส่วนใหญ่เป็นคน “พาณิชยการประกันภัย” ที่ถูกปิดไปก่อนนั้นแล้ว

“สยามอินชัว นิวส์” ได้ตรวจสอบข้อมูล คปภ. พบว่า ในปี 2559 “สัจจะประกันภัย” มีเบี้ย ประกันภัย รับเพียง 67.76 ล้านบาทเท่านั้น เทียบกับปี 2558 (ตอนใช้ชื่อกมลประกันภัย) มีเบี้ย ประกันภัย 259.45 ล้านบาท ส่วนฐานะการเงิน เท่าที่เช็คจากเว็บไซต์บริษัท ข้อมูลล่าสุดที่เปิดเผย ณ สิ้นไตรมาสที่ 3 ปีก่อน มีสินทรัพย์ 408.99 ล้านบาท ลดลงจาก 643.2 1 ล้านบาท ส่วนหนี้สินลดลงจาก 556.27 ล้านบาท เหลือ 301.60 ล้านบาท ในปี 2558

ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 87.54 ล้านบาท เป็น 107.39 ล้านบาท เงินกองทุนจากที่ติดลบ 22.97 ล้านบาท เพิ่มเป็น 62.71 ล้านบาท ส่วน CAR Ratio จากที่ติดลบ 39.83% เพิ่มเป็น 140.36% สูสีกับเกณฑ์ขั้นต่ําที่ คปภ.กำหนด และมีกำไร 13.92 ล้านบาท จากที่ขาดทุนสุทธิ 10.84 ล้านบาท

“สัจจะประกันภัย จะแก้ปัญหาได้มั้ย ตอบยาก ขึ้นกับว่าบริษัทจะมีเงินทุนมาอัดฉีดหรือไม่ และมีแผนการทางธุรกิจอย่างไร เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจไปต่อได้อย่างแข็งแรง เพราะมีเงื่อนไขที่บริษัทต้องนำส่งแผนธุรกิจที่ คปภ.เห็นชอบด้วย เรื่องเงินทุนอาจจะหาผู้ร่วมทุนได้ แต่เรื่องธุรกิจ อย่างที่รู้กัน เจ้าของไม่มีความรู้เรื่องประกัน การหาผู้ช่วยที่มีฝีมือคงจะยาก ยิ่งพอมีคำสั่งนี้ยิ่งวิกฤตเข้าไปอีก ไม่มีใครอยากเสี่ยงเป็นผู้บริหารของบริษัทที่กำลังมีปัญหาแบบนี้” แหล่งข่าวรายหนึ่งให้ความเห็น

ด้านแหล่งข่าวจากบริษัท ประกันภัย แห่งหนึ่ง ให้มุมมองไว้อย่างน่าสนใจว่า กฎระเบียบภาครัฐเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทขนาดเล็ก ที่มีเบี้ยต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทอยู่ยาก ขณะที่รูปแบบการทำธุรกิจของหลายบริษัทก็น่าเป็นห่วง ยังตัดราคา ขึ้นค่าคอมมิชชั่น ขอให้ได้เบี้ยเข้ามาก่อนเป็นพอ เมื่อดูจากผลการรับ ประกันภัย สุทธิของแต่ละบริษัทในช่วงปีหลังๆ นี้ ผลกำไรลดลงอย่างมาก จึงเชื่อว่าคงมีอีกหลายบริษัทที่จะเป็นเหมือน “สัจจะประกันภัย”

สอดคล้องกับที่ รองเลขาธิการด้านตรวจสอบ สำนักงาน คปภ.บอกบนเวที CG ว่า เบี้ยประกันวินาศภัยเติบโตน้อยลง มาจากการแข่งขันด้านราคา จุดที่น่ากังวลคือค่าใช้จ่ายในการรับ ประกันภัย สูงขึ้น โดยค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้กำไรจากการรับ ประกันภัย น้อยลงเรื่อยๆ

เห็นแบบนี้ต้องลุ้น “สัจจะประกันภัย” จะรอดหรือไม่ และคงไม่ใช่รายสุดท้ายแน่ๆ แม้ “คปภ.” จะมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) สกัดบริษัท ประกันภัย ที่มีปัญหามาให้ลุกลามถึงขั้นโคม่า

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์