ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ชง 3 สูตร “ประกันข้าว”

หั่นเบี้ยเหลือ 90 เพิ่มความคุ้มครองเป็น 1,200 ลุ้นตั้งกองทุน ประกันภัย ต่อภาคเกษตร

ชง 3 สูตร “ประกันข้าว”

เมษายน
19

ประกันภัย ข้าวปี 60 คืบ ส.วินาศภัยชง 3 สูตรให้รัฐ ลดเบี้ยจากไร่ละ 100 เหลือ 90 เพิ่มคุ้มครองเป็น 1,200 หรือเบี้ย 100 บาทเท่าเดิม เพิ่มคุ้มครองเป็น 1,300-1,350 บาท แถมเปิดช่องให้เกษตรกรซื้อ “ออนท็อป” เพิ่มได้ รอเคาะ ด้านเลขาฯ คปภ.ชี้ ปีนี้ ประกันข้าว เริ่มได้เร็วกว่าปีที่แล้ว ย้ำศึกษาขยายคลุมพืชอื่น-ปศุสัตว์ ฟากสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัยชงอีกยกตั้ง “กองทุนประกันภัยต่อภาคเกษตรกรรม” ยึด “เกาหลีโมเดล” รัฐแชร์ความเสี่ยงรับ ประกันภัย ต่อจากภาคธุรกิจ

นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้นำเสนอแนวทางการปรับปรุง โครงการ ประกันภัย ข้าวนาปี 2560 ทั้งในส่วนของเบี้ย ประกันภัย และความคุ้มครอง ที่ได้หารือกับผู้รับ ประกันภัย ต่อหรือ รีอินชัวเรอส์ กับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แล้ว มีอยู่ด้วยกัน 3 แนวทาง ได้แก่ 1.ปรับลดอัตราเบี้ย ประกันภัย ลงจากไร่ละ 100 บาท เหลือ 90 บาท ขณะที่ความคุ้มครองเพิ่มขึ้นจาก 1,111 บาท เป็น 1,200 บาท 2.อัตราเบี้ย ประกันภัย ไร่ละ 100 บาท เท่าเดิม แต่ความคุ้มครองเพิ่มเป็น 1,350 บาท และ 3.เบี้ย ประกันภัย ไร่ละ 100 บาท เช่นกัน ความคุ้มครอง 1,300 บาท

อย่างไรก็ดี ในแนวทางที่ 3 นี้ ได้เปิดเงื่อนไขให้เกษตรกรสามารถซื้อความคุ้มครองนาข้าวเพิ่มขึ้นได้ ที่เรียกว่า “ออนท็อป” โดยจ่ายเบี้ย ประกันภัย เพิ่มขึ้นอีกเพียงไร่ละ 20 บาท จะได้ความคุ้มครองเพิ่มขึ้นอีก 500 บาท รวมเป็น 1,800 บาท แต่ทั้งนี้จำกัดนาข้าวที่จะซื้อ ประกันภัย ในกลุ่มนี้สูงสุดไม่เกิน 500,000 ไร่เท่านั้น เพราะเกรงว่านาข้าวที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะแห่มาซื้อจำนวนมาก อาจจะกระทบกับความเสียหายโดยรวมของโครงการได้

“ที่ออกมาเป็น 3 สูตรนี้ ทั้งลดเบี้ยและเพิ่มความคุ้มครอง เพราะเห็นว่าอัตราความเสียหายของประเทศลดลง ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม ทำให้อัตราสินไหมทดแทน (Loss Ratio) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาลดลงไปด้วย โดยปี 2557 Loss Ratio อยู่ที่ 50% ปี 2558 อยู่ที่ 30% เศษ ปี 2559 อยู่ที่ 30-40% เทียบกับปี 2554 ที่เริ่มทำ อยู่ที่ 500 กว่า % มาจากรัฐบาลมีการบริหารจัดการน้ำดีขึ้น โดยสูตรที่เสนอไปขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่เป็นผู้อุดหนุนค่าเบี้ยให้กับเกษตรกรจะเลือก โดยความคุ้มครองภัยธรรมชาติ 6 ภัย ก็วงเงินตามนี้ แต่ถ้าเป็นภัยจากแมลงศัตรูพืช หรือโรคระบาด จะลดลงครึ่งหนึ่ง”

สำหรับเป้าหมายนาข้าวที่จะทำ ประกันภัย ในปีนี้ ล่าสุดรัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ไม่ต่ำกว่า 25 ล้านไร่ ซึ่งทันทีที่รัฐบาลมีคำตอบออกมาว่าจะเลือกแนวทางไหน สมาคมฯ จะได้ชี้แจงกับบริษัท ประกันภัย ต่างๆ เพื่อสอบถามถึงการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งในปีนี้ต้องการที่จะให้บริษัท ประกันภัย ร่วมรับ ประกันภัย ไว้ในประเทศเพิ่มขึ้น ตามเป้าหมาย 25-30% จากปีที่ผ่านมารับไว้ 15% อีก 85% ส่ง ประกันภัย ต่อไปต่างประเทศ เพราะเห็นว่าความเสี่ยงในปีที่ผ่านมาไม่สูงมาก น่าจะรับความเสี่ยงภัยไว้เองได้มากขึ้น

จับตา ตั้งกองทุนประกันพืชผล ยึด “เกาหลีโมเดล” รัฐประกันต่อ

เลขาธิการสำนักงานอัตราเบี้ยประกันวินาศภัย (IPRB) เปิดเผยว่า ทางสำนักงานมีแผนจะร่วมมือกับประเทศสมาชิกการประชุมข้อมูล ประกันภัย และการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยแห่งเอเชีย (IIRFA) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกันภัย ภาคการเกษตร และจัดตั้งกองทุน ประกันภัย ต่อภาคการเกษตร ที่ได้เสนอไว้ในคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการ ประกันภัย พืชผล โดยดูโมเดลของเกาหลีใต้เป็นแบบอย่าง เนื่องจากเกาหลีใต้ทำโครงการ ประกันภัย ภาคการเกษตรมาไม่ต่ำกว่า 20 ปี ครอบคลุมพืชผลหลายชนิด นอกจากข้าวแล้ว ยังมีผลไม้ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีเบี้ย ประกันภัย ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

“ที่เกาหลีเป็นกฎหมายเฉพาะ โมเดลของเขากึ่งบังคับเหมือนบ้านเรา ที่ให้เกษตรกรที่ขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส.ต้องทำ ประกันภัย โดยรัฐบาลของเขาเข้ามาช่วยจ่ายเบี้ยให้ส่วนหนึ่ง และยังช่วยรับ ประกันภัย ต่อด้วย โดยบริษัท ประกันภัย รับ 50% อีก 50% รัฐบาลและผู้รับ ประกัน ภัยต่อแบ่งคนละครึ่ง ซึ่งหน่วยงานที่ทำเรื่องนี้ของเขาคือ Korea Insurance Development Institute (KIDI) อยู่ใน IIRFA ด้วย เราย้ำกับเขาเรื่องนี้แล้ว โดยหน่วยงานนี้นอกจากจะกำหนดอัตราเบี้ยที่แฟร์กับทุกฝ่ายแล้ว เขายังทำเรื่องต้นทุนความเสียหายภาคการเกษตรทั้งหมดด้วย เรามองว่าเป็นโมเดลที่น่าจะเอามาใช้ในไทยได้ ตอนนี้ ประกันภัย ข้าวของเรามีสเกลที่ใหญ่พอ ซึ่งก็เป็นนโยบายของรัฐบาลที่อยากจะผลักดันต่อเนื่อง”

การดำเนินการโครงการนี้จะทำเป็น “แอคชั่น แพลน” ซึ่งภายใน 1-2 เดือนนี้ คงจะเริ่มหารือกับทางเกาหลีใต้จริงจังในหลายเรื่องๆ อาทิ การเก็บสถิติของเขาเป็นอย่างไร การคำนวณต้นทุนความเสียหาย การสำรวจความเสียหาย เพื่อรวบรวมนำมาประกอบเป็นผลศึกษาเพื่อนำไปหารือกับธุรกิจ ประกันภัย และรัฐบาลต่อไป ซึ่งการจัดตั้งกองทุนต้องมีกฎหมายรองรับ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เป็นเจ้าภาพดูเรื่องนี้อยู่

ไอพีอาร์บี อยู่ระหว่างรวมเข้ากับบริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าเนท (TID) เป็นองค์กรใหม่ชื่อว่า ไทยแลนด์ อินชัวรันส์ รีเสิร์ช แอนด์ ดีเวลล็อปเม้น (TIRD) ซึ่งมีกำหนดรวมเสร็จในปีนี้ โดยองค์กรใหม่จะเป็นองค์กรอิสระที่มีขนาดใหญ่เหมือนกับหน่วยงานที่เกาหลีใต้ ซึ่งจะสนับสนุนธุรกิจ ประกันภัย ด้านงานวิจัยต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ งานวิจัยด้านความเสี่ยงภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่ประเทศไทยเจออยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะร่วมมือกับสมาชิก

คปภ.พร้อมผลักดัน ก.ม.รองรับ ชี้ประกันข้าวเริ่มเร็วกว่าปีก่อน

อย่างไรก็ดี ในเรื่องการจัดตั้งกองทุน ประกันภัย ต่อภาคการเกษตรนั้น เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า จะต้องมีกฎหมายรองรับ ซึ่งมีการพูดคุยเรื่องนี้กันไปบ้างแล้วในการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการปฏิรูปการ ประกันภัย พืชผล ซึ่งในที่ประชุมหลายท่านก็เห็นด้วย โดยหากรัฐบาลให้การสนับสนุนจะต้องมีการพูดคุยกันต่อไป ส่วนเรื่องของกฎหมาย ทาง คปภ.พร้อมจะผลักดันต่อเนื่อง

สำหรับ ประกันภัย ข้าวนาปี เลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า ในปีนี้จะเริ่มให้เร็วขึ้น โดยจะพยายามรวบรวมอุปสรรค ปัญหาต่างๆ ในปีที่ผ่านมา เพื่อหาทางแก้และพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกร ทั้งนี้และทั้งนั้นเพื่อให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด และให้สามารถขยายการรับ ประกันภัย ไปยังพืชผลทางการเกษตรประเภทอื่นๆ รวมถึงเรื่องของ ประกันภัย ปศุสัตว์ด้วย

อนึ่ง IIRFA ประกอบด้วยสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ไต้หวัน และไทย มีเบี้ยรวมกันประมาณ 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 42 ล้านล้านบาท คิดเป็น 89.46% ของตลาด ประกันภัย ในเอเชีย หรือ 26.54% ของตลาดโลก

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์