ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

คปภ.เชียร์ ประกันภัย ขุดทอง CLMV

รุกอีก แก้กฏลงทุนโตต่างแดน ผนึกเอกชนลุย/ยัน “สินค้า-ราคา” เหนือคู่แข่ง

คปภ.เชียร์ ประกันภัย ขุดทอง CLMV

เมษายน
17

เลขาธิการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในปีนี้ คปภ.ให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี (CLMV) ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยจะสนับสนุนบริษัท ประกันภัย ของไทยเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศกลุ่มนี้มากขึ้น อาทิ ใน สปป.ลาวหลังจากในปีที่ผ่านมาได้ไปลงนามบันทึกความเข้าใจกับหน่วยงานกำกับแล้ว โดย สปป.ลาวอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมาย ประกันภัย ซึ่งขอให้ คปภ.เข้าไปช่วยในด้านนี้ด้วย

“เนื่องจากไทยมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจต่ำ อยู่ที่ประมาณ 3-4% เทียบกับกลุ่มในกลุ่มซีแอลเอ็มวีที่สูงกว่า อาทิ สปป.ลาวอยู่ที่ 8% การสนับสนุนให้บริษัท ประกันภัย ไทยที่มีศักยภาพ มีความมั่นคงทางการเงิน มีโนฮาวที่ดี ไปประกอบธุรกิจในประเทศกลุ่มนี้ จะสามารถเพิ่มการเติบโตจากเศรษฐกิจของเขาได้ ก็มีบริษัท ประกันภัย ไทยที่มีศักยภาพหลายแห่งเข้าไปเปิดบริการธุรกิจแล้ว”

นอกจาก สปป.ลาวแล้ว ยังมีเมียนมา แม้ขณะนี้เมียนมายังไม่ได้เปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน แต่เปิดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา ซึ่งในเขตนี้ให้บริษัทต่างชาติเข้าไปเปิดให้บริการ ประกันภัย ได้ แต่ที่ผ่านมาบริษัท ประกันภัย ไทยเข้าไปช้ากว่าประเทศอื่นๆ มาก อาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น ซึ่งหากมีการลงทุนของต่างชาติ หรือบริษัทของคนไทยไปในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ ถ้าบริษัท ประกันภัย ไทยสามารถเข้าไปรับ ประกันภัย ได้ จะเป็นการขยายการเติบโตให้กับบริษัทไทยได้

“จริงๆ ไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเมียนมาและไปลงทุนก่อนคนอื่น แต่กลับเสียโอกาสเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น เกาหลี ที่เข้าไปทีหลังไทย แต่กลับเปิดธุรกิจ ประกันภัย ขึ้นแล้ว ตรงนี้หน่วยงานภาครัฐต้องเข้าไปร่วมด้วย ภาคธุรกิจมองว่าเสี่ยง เพราะมองว่ายังไม่มีการเปิดตลาดให้กับต่างชาติ ไม่ได้ไปมองว่ามีเรื่องของการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย ซึ่งการเข้าไปในเขตนี้อย่างเมียนมา จำเป็นต้องตั้งสำนักงานผู้แทนขึ้นมาระยะหนึ่งก่อนอาจจะ 4-5 ปี จึงจะมีสิทธิ์เข้าไปเปิดธุรกิจ ประกันภัย ในเขตเศรษฐกิจพิเศษได้ อย่างไรก็ดี ตอนนี้ก็มีบริษัท ประกันภัย ไทยเข้าไปเปิดสำนักงานผู้แทนขึ้นในเมียนมาแล้ว”

คปภ.พร้อมจะสนับสนุนบริษัท ประกันภัย ไทยเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประกาศการลงทุนเปิดช่องให้อยู่ โดยพร้อมที่จะปรับปรุงกฎกติกาต่างๆ ในประกาศ ให้สอดรับกับพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัท ประกันภัย ไทย ซึ่งในขณะนี้ได้ให้ฝ่ายกำกับดูภาพรวมประกาศการลงทุนอยู่ มีข้อขัดข้อง มีอุปสรรคอะไรหรือไม่ ถ้ามี พร้อมแก้ไข

อย่างไรก็ดี ในการเข้าไปนั้น ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องไปด้วยกัน โดยภาครัฐก็ต้องไปทำความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับของประเทศต่างๆ อย่างที่ สปป.ลาว หน่วยงานกำกับเหมือนของไทยเมื่อ 20 ปีก่อน ซึ่งต้องการการพัฒนาอย่างมากและมอง คปภ.เป็นโมเดล และแม้บริษัท ประกันภัย ไทยต้องไปแข่งขันกับบริษัทต่างชาติ แต่เชื่อว่าไทยมีความได้เปรียบหลายเรื่อง อาทิ ภาษา วัฒนธรรม การคิดค้นสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการในซีแอลเอ็มวีทำได้ง่ายกว่ามาก ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ได้ดีกว่า

“ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐจะทำ 2 มิติ คือ 1.เราจะอำนวยความสะดวกให้บริษัทที่มีศักยภาพเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่ออาศัยจุดเด่นความได้เปรียบของบริษัทเรา และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มากกว่าเรา เพื่อทำให้บริษัทของเราสามารถที่จะขยายได้ แต่ขณะเดียวกันเราต้องควบคุมคุณภาพบริษัทไทย ทั้งให้เขารายงานมาที่เราและเราไปร่วมมือกับหน่วยงานกำกับและช่วยเข้าพัฒนา ถ้าหากว่ามาตรฐานของเราใกล้เคียงกัน จะทำให้บริษัทไทยที่ไปประกอบธุรกิจที่นั่นทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น การกำกับก็ง่ายขึ้น ถ้าคนละมาตรฐาน การกำกับดูแลเป็นไปได้ยาก คนจะเลี่ยงไปทำธุรกิจในต่างประเทศ ไปอาศัยจุดด้อยของกฎหมายมาเอาเปรียบประชาชน”

เลขาธิการกล่าวว่า แม้ระดับมาตรฐานของประเทศในกลุ่มซีแอลเอ็มวีต่างกัน อาทิ สปป.ลาวต่ำกว่าไทย ซึ่งเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาส แต่มองเป็นโอกาสมากกว่า เพราะการถือครองกรมธรรม์ของ สปป.ลาวมีสัดส่วนน้อยมาก มีโอกาสที่ตลาด ประกันภัย จะเติบโตได้ ขณะที่ใน สปป.ลาว ใบอนุญาตประกอบธุรกิจเป็น “คอมโพสิทไลเซ่นส์” คือถือใบอนุญาตเดียวให้บริการได้ทั้ง ประกันชีวิต และ วินาศภัย เทียบกับประเทศไทย ต้องถือใบอนุญาต 2 ใบ อีกทั้งปัจจุบันคนลาว คนกัมพูชา เข้ามารักษาพยาบาลที่ไทยจำนวนมาก เป็นโอกาสของการประกันสุขภาพ

“เรามองว่าถ้ากฏกติกาต่างๆ ในซีแอลเอ็มวีเป็นกติกาที่สอดคล้องกัน การกำกับดูแล หรือการประกอบธุรกิจ ประกันภัย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมุมมองในอนาคตเรื่องการลงทุนของบริษัทไทยเราคงไม่ได้มองแค่ตลาดในบ้านเราอย่างเดียว เรามองตลาดอาเซียนด้วยเป็นตลาดเดียว แต่ในเฟสแรกเราจำเป็นต้องโฟกัสไปที่กลุ่มซีแอลเอ็มวีก่อน ซึ่งในปีนี้เราจะเห็นการเติบโตของธุรกิจ ประกันภัย ในประเทศเพื่อนบ้านมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน”

รวมฟีดแบ็คเอกชนก่อนนัดถก

ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำกับธุรกิจและการลงทุน สำนักงาน คปภ.กล่าวถึงการปรับปรุงประกาศลงทุนว่า คปภ.ได้ทำหนังสือสอบถามความคิดเห็นของทุกบริษัทไปแล้ว ถึงประกาศที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน มีประเด็นที่ต้องการเสนอแนะหรือให้ทบทวนหรือไม่อย่างไร ซึ่งน่าจะได้คำตอบกลับมาแล้ว หลังจากนี้จะรวบรวมนำมาหารือกันต่อไป

“ประกาศการลงทุนที่มีอยู่ จะมีเรื่องลิมิตต่างๆ เราก็ต้องไปดูในฝั่งธุรกิจ มีอะไรที่ปริ่มหรือไม่มีที่จะไปแล้วหรือไม่ แต่เท่าที่ดูในภาพรวมตอนนี้ ยังมีพื้นที่ให้เขาลงทุนในแต่ละลิมิตที่มีอยู่ กฏเดิมยังไม่มีใครเต็ม บางบริษัทเหลือที่เยอะมาก ถ้ายังไม่แก้อะไรเลย เขายังดำเนินการตามปกติได้ อย่างที่เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมในเรื่องอินฟราสตรัคเจอร์ ต้องกลับมาดูว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ระหว่างนี้เรากำลังมีประเด็นที่หารือร่วมกันกับภาคธุรกิจอยู่ เรื่องซีแอลเอ็มวี เลขาฯ มีนโยบายสนับสนุนอยู่”

2560 ปีแรกเบี้ยเกิน 8 แสนล้าน

สำหรับแนวโน้มธุรกิจ ประกันภัย ในปีนี้ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงาน คปภ.กล่าวว่า คาดว่าทั้งอุตสาหกรรม ประกันภัย จะมีเบี้ย ประกันภัย รวม 824,475 ล้านบาท เติบโต 6.01% ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่เบี้ย ประกันภัย รวมเกิน 8 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ย ประกันชีวิต 611,324 ล้านบาท เติบโต 7.63% และเบี้ยประกันวินาศภัย จำนวน 213,151 ล้านบาท เติบโต 1.63% ซึ่งในส่วนของ ประกันชีวิต คาดว่ากรมธรรม์ประกันชีวิต แบบบำนาญ แบบควบการลงทุน แบบยูนิตลิงค์ และแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ จะมีอัตราเติบโตโดดเด่นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ ขณะที่ประกันวินาศภัยจะมาจาก ประกันภัยรถยนต์ และเบี้ย ประกันภัย เบ็ดเตล็ด ที่น่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง

สำหรับในปี 2559 ธุรกิจ ประกันภัย มีเบี้ยประกันภัยรับตรงโดยตรง 777,717 ล้านบาท ขยายตัว 4.76% แบ่งเป็นเบี้ย ประกันชีวิต 567,974 ล้านบาท ขยายตัว 6.52% และเบี้ยประกันวินาศภัย 209,743 ล้านบาท ขยายตัว 0.26%

โดยทั้งระบบมีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3,357,939 ล้านบาท ขยายตัว 10.43% แยกเป็นสินทรัพย์รวมของธุรกิจ ประกันชีวิต 2,895,816 ล้านบาท ขยายตัว 12.22% และสินทรัพย์รวมของธุรกิจประกันวินาศภัย 462,123 ล้านบาท ขยายตัว 0.35%

“ในเรื่องของการลงทุนอยากให้ดู 3 ตัว คือ Return on Assets (ROA) ตัวนี้ของ ประกันชีวิต อยู่ที่ 1.31% Return on Equity (ROE) อยู่ที่ 6.39% และ Return on Investment (ROI) อยู่ที่ 3.95% ที่อยากจะโชว์คือตัว ROI ของ ประกันชีวิต ทั้งที่ในปี 2558-2559 อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ต่ำมาก อยู่ที่ 0.5%, 0.7-0.75% โดยประมาณ แต่ ROI ของ ประกันชีวิต ไปถึง 3.95% ดีมาก ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัย ROE, ROA, และ ROI อยู่ที่ 3.85% ใกล้เคียงกับ ประกันชีวิต เมื่อเทียบกับ ดอกเบี้ย ในแต่ละปี ถือว่า ROI ของทั้ง 2 ธุรกิจดีเช่นกัน ขณะที่ คาร์ เรโช ก็ดีขึ้นมาก โดยธุรกิจ ประกันชีวิต อยู่ที่ 321.53% เพิ่มขึ้น 3.25% ธุรกิจประกันวินาศภัย อยู่ที่ 321.53% เพิ่มขึ้น 3.25%”

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์