ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

“โรดแมป” บูม ประกันภัย มารีน

ประกันภัยขนส่งทางทะเล กำลังได้รับการส่งเสริมให้ขยายตัวมากขึ้น เพราะมีสัดส่วนแค่ 3% เทียบกับ ประกันภัย ทั้งระบบ

“โรดแมป” บูม ประกันภัย มารีน

เมษายน
3

“ประกันภัยขนส่งทางทะเล” หรือ “ประกันมารีน” กำลังได้รับการส่งเสริมให้ขยายตัวมากขึ้น จากดำริของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่ต้องการให้ “สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)” และ “สมาคมประกันวินาศภัยไทย” หาแนวทางผลักดัน เพราะปัจจุบันเบี้ย ประกันภัย มารีน มีสัดส่วนแค่ 3% หรือประมาณ 6,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเบี้ย ประกันภัย ทั้งระบบ ที่มีประมาณ 200,000 ล้านบาท และยังน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้าและส่งออกของไทย ที่มีมูลค่ารวมถึง 14 ล้านล้านบาท

ล่าสุด “สมาคมประกันวินาศภัยไทย” สนองแนวคิดนี้ ด้วยการจัดทำข้อเสนอไปยัง รมว.คลัง 4 ข้อ ประกอบด้วย 1.มีนโยบายส่งเสริมทางภาษีสำหรับผู้นำเข้า-ส่งออก ที่ทำ ประกันภัย มารีน กับบริษัทประกันภัยในประเทศ สามารถนำเบี้ย ประกันภัย มาหักภาษีได้ 2 เท่า 2.บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจาก บีโอไอ ที่ต้องซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ขอให้ใช้ ประกันภัย ในประเทศ 3.การค้าขายระบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ให้ใช้บริษัท ประกันภัย ในประเทศ เช่น การนำเข้าส่งออกสินค้าเกษตร การสั่งซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นต้น และ 4.สนับสนุนให้มีมาตรการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง บริษัทประกันภัย กับกรมศุลกากรผ่านระบบ NSW โดยภาครัฐรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการไทยหันมาใช้บริการ ประกันภัย ในประเทศให้มากขึ้นด้วย

งานนี้หมายมั่นปั้นมือเต็มที่จะช่วยกระตุ้น “ประกันภัยมารีน” ของไทย ให้เบี้ย ประกันภัย เติบโตขึ้นมาได้บ้าง เพราะศักยภาพยังโตได้อีกเพียบ ยิ่งเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้ว เบี้ย ประกันภัยมารีน ไทยน้อยกว่ามาเลเซียเป็นเท่าตัว ทั้งๆ ที่การนำเข้า-ส่งออกเยอะกว่า ส่วนเรื่องอัตราเบี้ยยิ่งไม่ต้องพูดถึง ของไทยไม่ได้แพงกว่าเพื่อนบ้านเลย แต่อยู่ที่โครงสร้างการนำเข้า-ส่งออกของไทยมากกว่า ที่ผู้ประกอบการไทยนิยมซื้อขายในราคาหน้าท่าเรือเป็นหลัก เช่น หาก “ส่งออก” ก็จะกำหนดขายถึงแค่ท่าเรือ ส่วนการขนส่งและ ประกันภัย ก็จะเป็นเรื่องของผู้ซื้อ ขณะเดียวกันเวลา “นำเข้า” ก็นิยมซื้อในราคาที่รวมค่า ประกันภัย และขนส่งมาถึงท่าเรือประเทศไทย เป็นต้น ทำให้ “อำนาจต่อรอง” ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จึงเลือกซื้อ ประกันภัย กับต่างประเทศเป็นหลัก

ดังนั้น หากช่วยกันส่งเสริมจัดทำเป็น “โรดแมป” ตามนโยบายของ “รมว.คลัง” ก็น่าจะขยับขยายไปได้อีกมาก แม้ปัจจุบันเบี้ยส่วนใหญ่จะอยู่ในมือบริษัทประกันวินาศภัยสัญชาติญี่ปุ่น อยู่ในมือบริษัทไทยแค่เศษเสี้ยวก็ตาม

สอดรับกับความเคลื่อนไหวของค่ายประกันวินาศภัย หลายค่ายก็เตรียมตัวขานรับนโยบายเรื่องนี้ เช่น “บมจ.ทิพยประกันภัย” ปีนี้มีแผนขยับขยาย ประกันภัยมารีน มากขึ้น โดยโฟกัสไปที่ “อินแลนด์ ทรานซิท” (Inland Transit) คือ การขนส่งภายในประเทศ แทนการขนส่งทางทะเล หรือ ที่จะเริ่มต้นเมื่อสินค้าลงเรือ หรือขึ้นเครื่องบินแล้ว และไปต่างประเทศ และตลาดนี้ส่วนใหญ่อยู่มือค่าย ประกันภัย ญี่ปุ่น ซึ่งยึดความเป็นชาตินิยม จะทำ ประกันภัย กับบริษัทสัญชาติเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นจึงต้องหาช่องทางยังที่ยังสามารถขยับขยายได้อย่าง “อินแลนด์ ทรานซิท” การขนส่งภายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งโดยรถไฟ รถยนต์ หรือเรือที่อยู่ในแม่น้ำ

ยิ่งกำลัง “เปิด AEC” ระบบโลจิสติกส์ระหว่างภูมิภาคอาเซียนก็ยิ่งมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นการขนส่งภายในประเทศจึงทวีความสำคัญมากขึ้น หากสามารถเข้าไปเจาะตลาดได้ ก็จะเป็นอีกช่องทางในการขยาย ประกันภัยมารีน ได้ ซึ่งขณะนี้เริ่มเสนอแนวคิดนี้กับผู้รับขนส่งเป็นผู้ซื้อ ประกันภัย แทน เป็นการเตรียมรับการบุกตลาดนี้

เห็นเช่นนี้แล้ว น่าจับตาตลาดขนส่งในประเทศที่จะทะยานเติบโตขึ้น เพราะเชื่อว่าค่ายประกันวินาศภัยยักษ์ใหญ่อีกหลายๆ แห่ง ก็มองตลาดนี้ไว้เช่นกัน ถือเป็นผลดีต่อตลาดประกันวินาศภัยในภาพรวมปีนี้ที่จะมีเบี้ยอีกประเภทพุ่งพรวดขึ้นมาเป็น “ดาวเด่น” ดวงใหม่ก็เป็นได้

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์