ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ถอดร่าง พ.ร.บ. ประกันภัย ฉบับใหม่

ถอดร่าง พ.ร.บ. ประกันภัย ฉบับใหม่ คุมตัวแทน-นายหน้า-เซอร์เวย์เยอร์ เพิ่มโทษฉ้อฉลเชือด “แก๊งเคลม”

ถอดร่าง พ.ร.บ. ประกันภัย ฉบับใหม่

กุมภาพันธ์
1

อีกหนึ่งไฮไลต์ในปี 2560 ที่วงการ ประกันภั ยและธุรกิจที่เกี่ยวข้องต้องเกาะติด คือการผลักดันร่างกฎหมาย ประกันภัย 2 ฉบับ ที่เพิ่งผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเมื่อไม่นานมานี้ คือ ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่..) พ.ศ…. และ ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่..) พ.ศ…. ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ศ. 2535 เนื่องจากกฎหมายเดิมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนกลาง คือ ตัวแทน นายหน้า ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย รวมไปถึง ผู้ประเมินวินาศภัย มีบทบัญญัติไม่สอดคล้องกับสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน

ประกอบกับมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ประกันภัย และในการประกอบธุรกิจมากขึ้น และยังไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองประชาชนจากการฉ้อฉล ประกันภัย จึงจำเป็นต้องปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำกับดูแล ตัวแทน นายหน้า และผู้ประเมินวินาศภัย ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และกำหนดบทบัญญัติการฉ้อฉล ประกันภัย เป็นไปตามความผิดกฎหมายใหม่ ซึ่งหลังจากผ่าน ครม.ขั้นต่อไปรอนำเสนอกฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

คุม นายหน้า สั่งนิติบุคคลร่วมรับผิด ตีกรอบ ผู้ประเมิน / เพิ่มโทษฉ้อฉล

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ คือ การกำหนดบทบัญญัติ เพื่อรองรับการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ แก้ไขคุณสมบัติของ ตัวแทน ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กำหนดให้นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย ต้องร่วมรับผิดต่อการกระทำของบุคคลธรรมดาที่ได้รับอนุญาตเป็นนายหน้า และห้ามนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย ตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นที่ไม่มีใบอนุญาต ไปที่ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิต / สัญญาประกันวินาศภัย

แก้ไขคุณสมบัติของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต / นายหน้าประกันวินาศภัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมไปถึงกำหนดข้อห้ามมิให้ตัวแทน นายหน้า กระทำการเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน และนายหน้าเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยให้คณะกรรมการ คปภ.มีอำนาจ ประกาศ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขใดๆ ให้ตัวแทนและนายหน้าปฏิบัติ เพื่อคุ้มครองให้ประชาชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ประกันภัย อย่างถูกต้อง และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนและนายหน้า ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ที่คณะกรรมการประกาศ

ยิ่งกว่านั้น ยังให้อำนาจนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน นายหน้า และปรับปรุงมาตรการลงโทษ ตัวแทน นายหน้า ให้เหมาะสม กำหนดให้นายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้า กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตไม่กระทำการเป็นนายหน้า กำหนดโทษกรณีตัวแทนฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเรียกของนายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ อีกทั้งยังกำหนดให้การฉ้อฉล ประกันภัย เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

สำหรับประกันวินาศภัยที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของผู้ประเมินนั้น กำหนดให้บุคคลธรรมดา ซึ่งประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต พร้อมหนังสือแสดงความต้องการนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย โดยใบอนุญาตต้องระบุด้วยว่าการกระทำในนามนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย โดยได้เพิ่มเติมคุณสมบัตินิติบุคคลซึ่งจะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินวินาศภัย และแก้ไขคุณสมบัติของบุคคลธรรมดา ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประเมินประกันวินาศภัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันได้กำหนดให้ผู้ประเมินวินาศภัย ประเภทนิติบุคคล เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและประเมินวินาศภัย ที่บริษัทจะต้องชดใช้สินไหมทดแทน โดยต้องจัดให้มีผู้ประเมินวินาศภัยประเภทบุคคลธรรมดา เป็นผู้ทำการตรวจสอบและประเมินวินาศภัยตามกฎหมายฉบับนี้ และมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ประเมินวินาศภัย ประเภทบุคคลธรรมดา ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้อง โดยได้ปรับปรุงมาตรการลงโทษผู้ประเมินวินาศภัยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมไปถึงกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ แก่ผู้ถูกระงับการออก ต่ออายุ พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต เป็นผู้ประเมินวินาศภัย

เลขาฯ ชี้ ต้องแก้เหตุ ก.ม.เดิม “เอาต์” เชือกแก๊งเคลม / ตัวแทนฝืนจรรยาบรรณ

“มีความจำเป็นต้องแก้กฎหมายอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้คนไทยมีประสบการณ์ไม่ค่อยดีกับ ประกันภัย กระทบกับความเชื่อมั่น คนจึงกลัวที่จะใช้ ประกันภัย บริหารความเสี่ยง อีกทั้งขณะนี้รัฐบาลมีไทยแลนด์ 4.0 มีเรื่องระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (อี-เพย์เม้นท์) ช่องทางในการเสนอขาย ประกันภัย มีมากขึ้น มีช่องทางใหม่ๆ เกิดขึ้น มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายเก่าจึงตามไม่ทัน ขณะที่ตัวแทน นายหน้า มีเยอะหลายแสนคน บางทีเขาไม่ได้ทำตามหลักเกณฑ์ที่เรากำหนด หรือบางครั้งรับเบี้ย ประกันภัย มาแล้ว แต่ไม่จ่ายให้บริษัท ประกันภัย หรือไปเสนอให้มีค่าจูงใจต่างๆ เกินขอบเขต” เลขาธิการ คปภ.กล่าวถึงการแก้ไขร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ

โดยย้ำถึงกฎหมายใหม่ที่แก้ไข ให้มีการรองรับกระบวนการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ดีขึ้น เปิดช่องให้บอร์ด คปภ.ออกหลักเกณฑ์เรื่องของการขาย ประกันภัย ทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ออนไลน์ ทางไลน์ เฟชบุ๊ก เป็นต้น ถัดมาเป็นเรื่องการฉ้อฉล ประกันภัย ที่กำหนดเป็นความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็น ตัวแทน นายหน้า หรือผู้ใดที่สมคบกับกรรมการบริษัท หรือพนักงานบริษัททำการทุจริต หลอกลวง ทำให้ประชาชนเสียหาย หรือแม้แต่ผู้เอา ประกันภัย กระทั่งแก๊งเคลมค่าสินไหม ซึ่งที่ผ่านมา กฎหมาย ประกันภัย ไม่สามารถเล่นงานได้ ถ้าจะไปลงโทษในคดีฉ้อโกง ต้องไปใช้ประมวลกฎหมายอาญา แต่เมื่อมีบทบัญญัติเรื่องการฉ้อฉล ประกันภัย ใน พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ จะสามารถจัดการแก๊งเคลม ประกันภัย ได้เบ็ดเสร็จด้วยกฎหมาย ประกันภัย ไม่ต้องไปใช้ประมวลกฎหมายอาญาเหมือนแต่ก่อน

อีกข้อที่เป็นจุดโหว่ของกฎหมายเดิม คือ ถ้าตัวแทนทำอะไรผิด บริษัท ประกันภัย ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเป็นนายหน้านิติบุคคล ที่มีนายหน้าบุคคลธรรมดาในสังกัด กฎหมายในปัจจุบันไม่ได้กำหนดนิติบุคคลต้องร่วมรับผิดการกระทำของบุคคลธรรมดาด้วย กฎหมายใหม่จึงแก้ไขให้นิติบุคคลต้องร่วมรับผิดต่อการกระทำของบุคคล นอกจากนี้ยังมีในเรื่องจรรยาบรรณวิชาชีพ กฎหมายเดิมให้จัดทำจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับตัวแทน นายหน้า แต่หากฝ่าฝืน ไม่ได้มีบทลงโทษ โดยกฎหมายใหม่ได้กำหนด ถ้าตัวแทน นายหน้ารายใดฝ่าฝืนจรรยาบรรณวิชาชีพ ทาง คปภ.จะลงโทษทันที อาทิ เพิกถอนใบอนุญาติได้ เป็นต้น

เลขาธิการ คปภ.ยังกล่าวถึงผู้ประเมินประกันวินาศภัยว่า ปกติเวลาเกิดวินาศภัย เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน จะมีผู้ประเมิน หรือเซอร์เวย์เยอร์ ซึ่งปกติไม่ต้องสังกัดนิติบุคคล แต่กฎหมายใหม่กำหนดต้องสังกัดนิติบุคคล เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และมีมาตรฐานมากขึ้น และได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน

จัดทำ คู่มือออนไลน์ ติวเข้มตัวแทน / นายหน้า

เลขาธิการ คปภ.กล่าวอีกว่า ทาง คปภ.ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับตัวแทนและนายหน้า ประกันชีวิต เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิง รวบรวมความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน และนายหน้า ในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ และการเสนอขายผลิตภัณฑ์ ประกันชีวิต ทำให้ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปได้รับคำแนะนำที่ดี โดยให้หน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบให้จัดอบรม เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน และขอต่อใบอนุญาตเป็นตัวแทน / นายหน้าทั่วประเทศ สามารถนำคู่มือดังกล่าว ไปใช้เป็นแนวทางประกอบการจัดอบรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

อีกครั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับหน่วยงานจัดสอน จัดอบรม สำหรับผู้สนใจ นักเรียน นักศึกษา และผู้ประสงค์จะขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทน / นายหน้า โดย คปภ.ได้เผยแพร่คู่มือปฏิบัติงานนี้ ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 7 เล่ม ได้แก่ หลักสูตรการอบรมเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต หลักสูตรการอบรมเพื่อขอต่อใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 3 และหลักสูตรการอบรมเพื่อขอต่อใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 3 บนเว็บไซต์ของสำนักงาน คปภ.

สำหรับผู้ประเมินวินาศภัยนั้น แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทยให้ข้อมูลว่า ผู้ประเมินวินาศภัย (Loss Adjustor) โดยมากจะเป็นผู้เชี่ยวชาญการประเมินความเสียหายด้านทรัพย์สิน อาทิ ประกันภัยทรัพย์สิน ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง เป็นต้น ส่วนผู้สำรวจความเสียหาย (Surveyor) จะสำรวจความเสียหายที่ไม่ซับซ้อนมาก อาทิ ประกันภัยรถยนต์ ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการคุมเข้ม หรือมีมาตรฐานมากนัก ขอเพียงมีความรู้ด้านกฎหมายก็พอ ส่วนใหญ่ทั้ง2 อาชีพนี้ จะจัดตั้งเป็นบริษัทเหมือนบริษัทนายหน้า แต่ไม่ต้องขออนุญาตกับ คปภ.เพียงแต่ต้องไปขึ้นทะเบียนไว้ว่า ตนเองเป็นผู้มีความสามารถทำงานด้านการประเมินหรือสำรวจภัยได้ โดยผู้ประเมินมีคุณวุฒิและความรู้รอบรู้มากกว่าผู้สำรวจภัย ซึ่งในต่างประเทศผู้ประเมินมีการเรียนการสอน และสอบเอาวุฒิบัตรในการประกอบอาชีพนี้อย่างจริงจัง

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์