ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

จับตา “นอน อินชัวรันส์” ภัยมืดคุกคาม ประกันภัย

เป็นปัจจัยเสี่ยง ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรม ประกันภัย จะเริ่มส่งผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ

จับตา “นอน อินชัวรันส์” ภัยมืดคุกคาม ประกันภัย

มกราคม
11

กลุ่มธุรกิจ “นอน อินชัวรันส์” (Non Insurance) เป็นปัจจัยเสี่ยง ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรม ประกันภัย ซึ่งจะเริ่มส่งผลกระทบมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ ส่วนแบ่งการตลาดที่อาจถูกกลุ่มนี้แย่งไป

ซึ่งในเรื่องนี้ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากขึ้นคือ การเข้ามาของกลุ่มธุรกิจที่เป็น “นอน อินชัวรันส์” ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มธุรกิจบางประเภทที่ก้ำกึ่งจะเป็น ประกันภัย เช่น โรงพยาบาลขายบัตรสมาชิกในราคาแพง เพื่อดูแลลูกค้าตัวเอง ซึ่งไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปควบคุม ที่เห็นชัดที่สุดคือ ตัวอย่างธนาคารกับสหกรณ์ออมทรัพย์ เดิมธนาคารเป็นธุรกิจในระบบถูกควบคุมโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่คุมเรื่องเงินสำรอง ตั้งสำรองหนี้ศูนย์ต่างๆ แต่สหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ต้อง ไม่มีการควบคุมโดยแบงก์ชาติ จนเกิดกรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ซึ่งมีทรัพย์สินเป็นล้านๆ ขึ้น กระทั่งกฎหมายเพิ่งผ่านออกมาเมื่อปีก่อน

“ ประกันภัย อยากส่งสัญญาณไปยังภาครัฐ ต้องเข้ามาพิจารณาธุรกิจไหนเป็นการขายความเสี่ยงในอนาคต ต้องมีเงินเกี่ยวข้องจำนวนมาก เช่น ค่าสมาชิกเป็นล้าน ขายหมื่นคน เป็นพันๆ ล้านแล้ว ต้องเข้ามาดูว่าเงินตัวนี้ไปกองอยู่ที่ไหน คนที่ซื้อสมาชิกต้องการความคุ้มครองไปอีก 30 ปี แล้วเงินจะตั้งสำรองอย่างไร อย่างเมมเบอร์ โรงพยาบาลเจาะลูกค้าโดยตรง อยู่ที่ว่าเงินที่เมมเบอร์จ่ายไป เอาไปทำอะไร สหกรณ์ออมทรัพย์วงเงินเป็นล้านๆ ถ้าไม่มีลูกค้าใหม่เข้ามาซักพัก เงินไปหมด เพราะหนี้เสียเยอะ การควบคุมระบบบัญชี รัฐเพิ่งเข้ามาจะทันหรือไม่

ขณะที่ ประกันภัย ต้องถูกควบคุมโดยกฎหมาย มีรัฐคอยกำกับดูแล รับเงินมาจากผู้เอา ประกันภัย ต้องคุ้มครองระยะยาว ถูกตั้งสำรองเป็นปีๆ รัฐต้องสนใจตามเอกชนให้ทัน ไม่ใช่เอกชนในธุรกิจ แต่กลุ่มใหม่ๆ ที่เข้ามาโดยใช้เทคโนโลยี เข้ามาทำธุรกิจแนวใหม่ รัฐต้องตามไปควบคุมให้ได้ นอกจากเมมเบอร์แบบนี้แล้ว ยังมีธุรกิจอื่นๆ ตามมาอีกเยอะมี “เพียร์ ทู เพียร์” ที่เป็นการตั้งกลุ่มกันเองเกิดขึ้นมาอีก”

ในแง่ ประกันภัย นายกสมาคมฯ กล่าวว่า “นอน อินชัวรันส์” เข้ามาแย่งมาร์เก็ตแชร์ ซึ่งหากภาครัฐไม่ควบคุมให้ดี อาจจะส่งผลกระทบต่อเบี้ย ประกันภัย ได้ กล่าวคือ ประชาชนจะมองว่าจะไปซื้อสุขภาพกับบริษัท ประกันภัย ทำไม ไปซื้อกับโรงพยาบาลดีกว่า ซึ่งในนี้น่าเป็นห่วงใครจะไปคุมเงินก้อนนั้น คอนเซ็ปต์เดียวกันที่ว่า ประกันภัย ถูกควบคุมเพราะห่วงผู้บริโภค ถ้าพวกนั้นไม่ถูกควบคุมทำให้ไม่มีต้นทุน ไม่ต้องตั้งสำรอง หากขายไป 10-20 ปีเก็บเงินทีเดียว ทำอย่างไรหากเกิดความเสียหายกับผู้บริโภค ก็เหมือน ประกันภัย ที่ไม่มีใบอนุญาต

“ถ้าโรงพยาบาลเอาเงินก้อนนั้นมาซื้อ ประกันภัย ก็เป็นไปได้ แต่สำคัญตั้งแต่ช่วงแรกจะคุ้มมั้ย นอกจากนี้ยังมีอย่างอื่นอีก ขายออนไลน์, เพียร์ ทู เพียร์ ใครคุม”

ถามว่าปีนี้จะเห็นธุรกิจ “นอน อินชัวรันส์” เยอะขึ้นหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า คงยังไม่เยอะ แต่จุดสำคัญคือทางการควรจะต้องเริ่มหันมามองกลุ่มนี้แล้ว อย่าง เพียร์ ทู เพียร์ ที่เป็นการรวมกันกันเองเหมือนเล่นแชร์ พอมีออนไลน์ทุกธุรกิจลักษณะนี้จะชัดขึ้น เช่น กลุ่มผู้ส่งออก ต่อไปอาจจะลงขันกันไม่ต้องไปซื้อ ประกันภัย ทางทะเลและขนส่ง (มารีน) กับบริษัท ประกันภัย รับความเสี่ยงเอง กลุ่มลูกค้าเริ่มทำกันเอง อย่างกฏควบคุม ประกันภัย ในช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ก็คุมได้เฉพาะ ประกันภัย นอก ประกันภัย ก็คุมไม่ได้ นอก ประกันภัย ต้องเริ่มขยายวงออกไปดูมากขึ้น แทนที่จะตามดูเฉพาะธุรกิจ ประกันภัย ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย ต้องไปดูในตลาดมีธุรกิจที่เข้าข่ายหรือไม่ สำนักงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อาจจะต้องขยายบทบาทออกไปควบคุมธุรกิจ “นอน อินชัวรันส์” ประเภทนี้ด้วย

ฟากธุรกิจ ประกันชีวิต ที่ผ่านมา จะเห็นโมเดลของความร่วมมือระหว่างบริษัท ประกันชีวิต กับองค์กรที่มีฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพื่อจัดบริหารด้าน ประกันภัย ให้กับลูกค้าของตัวเอง เช่น ความร่วมมือของ เมืองไทยประกันชีวิต กับห้างฯ เซ็นทรัล เปิดขาย ประกันภัย ผ่านโครงการ “Central Smart Insure” ด้วยการขาย ประกันภัย ผ่านโบรกเกอร์ของเซ็นทรัล หรือจะเป็นความร่วมมือกับเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ พัฒนาแพ็กเกจประกันสุขภาพเฉพาะกลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลในเครือ ด้วยการขายผ่านบริษัทโบรกเกอร์ของโรงพยาบาล

อีกโมเดลหนึ่ง จะเป็นการเข้าไปเสริมบริการให้กับการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ให้กับองค์กรนั้นๆ เช่น เมืองไทยประกันชีวิตร่วมกับแม็คโคร นำเสนอแบบ ประกันภัย ให้สมาชิกแม็คโคร เป็นต้น

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้หารือกับบริษัทสมาชิก ถึงผลกระทบของฟินเทค และอินชัวร์เทค ต่ออุตสาหกรรม ประกันภัย โดยสรุปแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเทคโนโลยี ที่จะส่งผลต่อรูปแบบการประกอบธุรกิจ และอาจทำให้บางอุตสาหกรรม หรือผู้เล่นบางรายไม่สามารถอยู่ต่อได้ (Digital Disruption) อาทิ การที่ผู้บริโภครวมตัวกันเข้ามาแลกเปลี่ยนสินค้า และบริการกันเองโดยตรงมากขึ้น เช่น การรวมตัวให้มีการปล่อยเงินกู้โดยไม่ผ่านธนาคาร (Peer to Peer Lending) หรือการรวมตัวกันทำ ประกันภัย ลักษณะเป็นกลุ่มมากขึ้น เช่น เพียร์ ทู เพียร์ อินชัวรันส์

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์