ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ส่องกล้องธุรกิจ ประกันภัย 2560 ไก่ถูกเชือด

ธุรกิจ ประกันภัย ปีระกา เข้าทำนอง “ไก่ถูกเชือด” เจอวิบากกรรมกำลังซื้อถดถอย กินแห้ว ประกันภัย ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ 7 หมื่นล้าน

ส่องกล้องธุรกิจ ประกันภัย 2560 ไก่ถูกเชือด

มกราคม
9

ส่องกล้องทิศทาง “ธุรกิจ ประกันภัย “ ปีระกา 2560 เข้าทำนอง “ไก่ถูกเชือด” เจอวิบากกรรมกำลังซื้อถดถอย กินแห้ว ประกันภัย ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ 7 หมื่นล้าน ฟันธง “ ประกันชีวิต “ เติบโตจิ๊บจ๊อย สินค้ามาแรงสุขภาพ ยูนิตลิงค์ และคุ้มครองชีวิตผ่านออนไลน์ แต่ธุรกิจ ประกันภัย ยังได้เมกะโปรเจกต์ยืดลมหายใจ จับตาอนิสงส์กฎหมายป้องกันภัย “แฮ็กเกอร์”

สภาพเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ประกันภัย ปี 2559 อยู่ในสภาวะสะบักสะบอม ภาพรวมคาดว่าจะเติบโตประมาณ 7% หรือมีเบี้ย ประกันภัย รับรวมประมาณ 540,000 บาท ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ ทำให้กำลังซื้อในครัวเรือนลดลง และถือว่าเบี้ย ประกันภัย ปีนี้หลุดเป้าอย่างมโหฬาร จากที่คาดว่าปีนี้จะมีเบี้ย ประกันภัย รับรวมประมาณ 585,700 บาท หรือเติบโตถึง 9% ซึ่งจะส่งผลกระทบลากยาวไปถึงปี 2560

โดย นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจประกันชีวิต ปี 2560 ยังไม่มีโอกาสจะเติบโตเป็นเลขสองหลักตามปกติ แต่จะยังคงจะเติบโตเป็นเลขหลักเดียวแบบนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ ประกันชีวิต จะยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันมีประชาชนที่ถือครองกรมธรรม์ ประกันชีวิต อยู่เพียง 38% จากประชากร 65 ล้านคน มีผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มที่ดีในปี 2560 และยังคงเป็นแบบ ประกันภัย ที่เกี่ยวกับสุขภาพ เพราะประชาชนมีความกังวลกับค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้น

“สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2560 จะขยายตัว 3-4% ธุรกิจ ประกันชีวิต ก็น่าจะมีทิศทางการเติบโตสอดคล้องกัน แต่หากเศรษฐกิจโลกไม่เป็นไปตามที่คาด ก็อาจทำให้ธุรกิจ ประกันชีวิต อาจมีการชะลอตัว”

ปี 2560 สถานการณ์ยังอยู่ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ ซึ่ง ประกันชีวิต แบบยูนิต ลิงค์ เป็นแบบ ประกันชีวิต ควบการลงทุน เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค รวมถึงแบบ ประกันภัย ที่เข้าใจง่าย จะมาขายในช่องทางดิจิทัลและเคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่วนการ ประกันภัย ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ มูลค่า 7.1 หมื่นล้าน ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือในรายละเอียด โดยเฉพาะการบริหารค่าใช้จ่ายที่ข้าราชการยังคงได้รับสิทธิประโยชน์เท่าเดิม

ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังพยายามทำความเข้าใจกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยต่อนโยบาย ที่จะให้บริษัท ประกันภัย และ ประกันชีวิต เข้ามาช่วยบริหารจัดการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ หากทุกฝ่ายมีความเข้าใจ ก็พร้อมดำเนินการในปีงบประมาณ 2561 เป็นต้นไป แต่หากยังไม่เข้าใจ หรือยังคัดค้านกันอยู่ ก็เลื่อนไปเป็นปีงบประมาณต่อๆ ไป

ขณะที่ สมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ล่าสุดสมาคมฯ ได้ขอถอนตัวออกจากโครงการ ประกันภัย ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการไปก่อน เนื่องจากไม่พร้อมและขอเวลา 2 ปี เพื่อศึกษาข้อมูลก่อน เนื่องจากกังวลปริมาณการเข้ารักษาสวัสดิการข้าราชการ

ดังนั้น จึงมีเพียงโครงการขนาดใหญ่จากภาครัฐ ที่จะช่วยพยุงตัวเลข ประกันภัย จากภาครัฐในปี 2560 รวมถึงงบประมาณปี 2561 ด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังกำลังจัดทำงบประมาณนโยบายรายจ่าย ประจำปี 2561 ที่เน้นการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลมุ่งเดินหน้าปฏิรูปการจัดทำงบประมาณแบบกลุ่มจังหวัด เพื่อให้พื้นที่กลุ่มจังหวัดร่วมมือแบบ ประชารัฐ เสนองบประมาณให้ส่วนกลาง พิจารณานำร่องด้วยการจัดทํางบเพื่อเพิ่มกลางปี 2560 วงเงิน 190,000 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงโครงการขนาดใหญ่ด้วย

อีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดรายรับเบี้ย ประกันภัย เพิ่มขึ้นคือ การมี ประกันภัย จาก “แฮ็กเกอร์” โดย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในปี 2560 คปภ.กำหนดเป้าหมายเป็นปีแห่งการขับเคลื่อน ประกันภัย ยุคดิจิทัล โดยจะออกกฎหมายใหม่เข้าไปกำกับดูแล ประกันภัย อิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร ตั้งแต่รูปแบบการขาย ประกันภัย แบบกรมธรรม์ และการเรียกค่าสินไหมทดแทน เพื่อไม่ให้ประชาชนถูกเอาเปรียบ รวมถึงผลักดันนำระบบ ประกันภัย ไปช่วยดูแลความเสี่ยงจากภัยคุกคามในโลกไซเบอร์

“คปภ.ได้หารือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการซื้อ ประกันภัย ป้องกันภัยจาก แฮ็กเกอร์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงทำให้เสียหายทั้งบุคคล องค์กร รวมทั้งระบบหุ่นยนต์ได้ก้าวเข้ามาให้บริการผ่านระบบ ประกันภัย มากขึ้น ตัวแทนขาย ประกันภัย ต้องปรับตัวรองรับการแข่งขันที่เกิดขึ้น”

นอกจากนี้ กฎหมายเกี่ยวกับออนไลน์ทำให้ปี 2560 คปภ.จะมีความท้าทาย 6 ด้าน เพื่อเป็นผู้กำกับธุรกิจ ประกันภัย ในยุคดิจิทัล ได้แก่ 1.การพัฒนากฎระเบียบ ในการกำกับและส่งเสริมธุรกิจ ประกันภัย 2.พัฒนาตลาดด้านผลิตภัณฑ์ 3.การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 4.การตรวจสอบระบบสารสนเทศ (ไอที) 5.พัฒนาผลิตภัณฑ์ ประกันภัย ไซเบอร์ 6.ลดความขาดแคลนบุคลากร ด้านไอที

ที่มา : สยามธุรกิจ