ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ชี้ อาเซียน สำคัญกับเศรษฐกิจไทย

บริษัทที่ลงทุนในอาเซียนแนวโน้มผลประกอบการ จะดีกว่าบริษัทที่ไม่ได้ไปลงทุน ยการลงทุนใน CLMV มีส่วนต่างกำไรประมาณ 11%

ชี้ อาเซียน สำคัญกับเศรษฐกิจไทย

มกราคม
2

ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “อาเซียนกับอนาคตของเศรษฐกิจไทย” ว่า อาเซียนจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยช่วงปี 2559-2563 กลุ่มอาเซียน-4 จะเติบโตเฉลี่ย 5-6% ต่อปี ในขณะที่กลุ่ม CLMV คือ เวียดนาม สปป.ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา จะเติบโตถึง 6.0-8.5% ต่อปี ซึ่งชนชั้นกลางในอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเมือง ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจสำหรับไทย

โดยธุรกิจไทยควรวางกลยุทธ์เติบโต โดยไปลงทุนในอาเซียนโดยเฉพาะ CLMV ซึ่งธุรกิจไทยส่วนหนึ่งที่ไปลงทุนในอาเซียน ใช้อาเซียนเป็นฐานส่งออกและยกระดับการผลิตแล้ว ทั้งนี้จากข้อมูลเบื้องต้น แม้ว่าอาเซียนจะมีการความเสี่ยงมาก แต่บริษัทที่ไปลงทุนในอาเซียนโดยเฉพาะ CLMV มักจะมีผลประกอบการที่ดี ขณะที่ภาครัฐต้องปรับกลยุทธ์ในการส่งเสริมการลงทุนในอาเซียนให้เหมาะสมเช่นกัน

สำหรับภาพรวมของเศรษฐกิจอาเซียน ปัจจุบันทุกประเทศในอาเซียนมีการพัฒนาความเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว มีเมืองใหญ่เกิดขึ้น มีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่ละประเทศมีปัจจัยที่แตกต่างกัน ทั้งโอกาสและความเสี่ยง โดย อินโดนีเซีย มีการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น และมีปัญหาเงินลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

เวียดนามมีการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก เอฟทีเอ กับสหรัฐฯ และยุโรป (อียู) และมีปัญหาขาดดุลทางการคลังสูง และอาจต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ส่วนเมียนมาเศรษฐกิจดีขึ้น เนื่องจากมีประชาธิปไตย และมีการยกเลิกการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ จะมีปัญหาขาดดุลทางการคลัง และเงินเฟ้อในระดับสูงเช่นกัน ขณะที่กัมพูชา และ สปป.ลาวมีการเติบโตสูง เนื่องจากการลงทุนจากต่างประเทศ และมีปัญหาเศรษฐกิจมหภาค

ทั้งนี้ ประชากรในอาเซียนยังคงเติบโต ในขณะที่โครงสร้างประชากรไทยเทียบกับเอเชีย มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โดยญี่ปุ่นเข้าสู่ผู้สูงอายุปี 2000 อีก 10 ปี และจีนเข้าสู่ผู้สูงอายุช้ากว่าไทยอีก 5 ปี ดังนั้นประเทศไทยเผชิญการลดลงของกำลังแรงงาน ในขณะที่ประเทศกลุ่มอาเซียน ยังคงมีประชากรวัยทำงานมากกว่า

สำหรับการเติบโตของประเทศอาเซียนอย่าง สปป.ลาว มีการส่งออกแบตเตอรี่ของเอเซีย/เหมืองแร่ มีรายได้ 51% ของการส่งออก มาเลเซียส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ & สินค้าโภคภัณฑ์ มีรายได้ 58% ของการส่งออก สิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางการค้า โดยการค้ามีมูลค่า 400% ของจีดีพี ส่วน เวียดนาม เป็นโรงงานของเอเชีย การส่งออกโต 18 เท่า ใน 20 ปี ฟิลิปปินส์ มาจาก บีพีโอ & การส่งเงินกลับรวม 19% ของจีดีพี บรูไน ส่งออกน้ำมันคิดเป็น 86% ของการส่งออก เมียนมา ส่งออกก๊าซธรรมชาติคิดเป็น 70% ของการส่งออก อินโดนีเซีย มาจากตลาดภายในประเทศ โดยการส่งออกมีมูลค่า 21% ของจีดีพี และกัมพูชา เศรษฐกิจเติบโตมาจากการตัดเย็บเสื้อผ้าเป็น 72% ของการส่งออก

การพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วในอาเซียน โดยการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในอาเซียน จำนวนครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่า 10,000 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ชนชั้นกลางในอาเซียนเติบโตอย่างรวดเร็ว จากการพัฒนาเมืองและจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต เมื่อมีการพัฒนาเมืองและการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง วิถีชีวิต และการบริโภคของคนจะเปลี่ยนไป อนาคตต้องทำธุรกิจกับเมืองใหญ่ เป็นเมกะดทรนด์ ต้องลงทุนในเมืองรอง

ทั้งนี้ไทยกลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในอาเซียน โดยเฉพาะ CLMV บริษัทจดทะเบียนไทยที่ลงทุนอาเซียน เป็นบริษัทร่วมและ/หรือบริษัทย่อยในอาเซียนประมาณ 600 บริษัท ซึ่งประเภทของการลงทุน ได้แก่ พลังงาน และสาธารณูปโภค พาณิชย์ อาหารและเครื่องดื่ม พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บันเทิง และอื่นๆ โดยบริษัทที่ลงทุนในอาเซียนมีแนวโน้มที่ผลประกอบการ จะดีกว่าบริษัทที่ไม่ได้ไปลงทุน โดยการลงทุนใน CLMV มีส่วนต่างกำไรสุทธิสูงสุดประมาณ 11% ผลตอบแทนต่อทุนกำไรดีกว่าลงทุนที่อื่น เพราะมีการสร้างแบรนด์ของตัวเองในอาเซียน มีขนาดตลาดใหญ่ขึ้น มีแบรนด์ไทยที่ออกสู่อาเซียนหลายอย่าง ทั้งเสื้อผ้า รองเท้า เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น

จุดแข็งของไทยในอาเซียน คือมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดี มีภาพลักษณ์ของสินค้าที่ดี ส่วนจุดอ่อน คือขาดแคลนแรงงาน ทรัพยากร และนักลงทุนไทยลังเลที่จะไปลงทุนต่างประเทศ โดยโอกาสของอาเซียน คือเติมโตสูง มีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว และมีการเชื่อมต่อทางกายภาพมากขึ้น ขณะที่อุปสรรค คือไทยไม่ได้ทำความตกลงเอฟทีเอกับประเทศคู่ค้าสำคัญ

สำหรับยุทธศาสตร์ส่งเสริมการค้าและการลงทุนในอาเซียนนั้น ต้องปรับวิธีส่งเสริมการค้าการลงทุน เช่น สิงคโปร์ ต้องวินิจฉัยความพร้อมก่อนไปลงทุน พัฒนาการค้าชายแดน โดยเฉพาะด่านถาวรให้เป็นสากล ขณะที่ช่องทางการค้า ต้องส่งเสริม อี-คอมเมิร์ซ เช่น บริการ รถจักรยานยนต์ รับจ้าง อินโดนีเซีย โอเจอีซี และการตลาดโดยสื่อสังคม มีการเชื่อมโยงทางกายภาพ เช่น การพัฒนาถนนระหว่างเมียววดี กอกะเร็ก ซึ่งได้เงินจากรัฐบาลไทย ทำให้บริเวณการค้าด่านแม่สอดเพิ่มก้าวกระโดด สร้างความเข้มแข็งของแบรนด์ สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน พัฒนาบุคลากร เช่น ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ และประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์