ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

กฎหมาย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ

ประกันภัยรถยนต์ (พรบ.) มีขึ้นเพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอน และทันท่วงที

กฎหมาย ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ

พฤศจิกายน
14

ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ( ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ) สาระสำคัญการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ

เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากรถได้ทวีจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยผู้ประสบภัยดังกล่าวไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย หรือได้รับชดใช้ค่าเสียหายไม่คุ้มกับความเสียหายที่ได้รับจริง และหากผู้ประสบภัยจะใช้สิทธิทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหาย ก็จะต้องใช้เวลาดำเนินคดียาวนาน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอน และทันท่วงที สมควรกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

การ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ หรือที่เรียกกันว่า “ประกันภัยพ.ร.บ.” คือ การทำ ประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2536 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2551 เริ่มมีผลใช้บังคับครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2536

สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีความมุ่งหมายให้ประชาชน ทุกคนได้รับความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัย อันเกิดจากอุบัติเหตุจากรถ ให้ได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องห่วงกังวลกับค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับการชดใช้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ในกรณีบาดเจ็บ ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ ในกรณีเสียชีวิต หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ ในกรณีผู้ประสบภัยบาดเจ็บและต่อมาเสียชีวิต จากบริษัท ประกันภัย หรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อเป็นการช่วยเหลือ แบ่งเบาภาระความเดือดร้อน ของผู้ประสบภัยและทายาท

วัตถุประสงค์การจัดตั้ง “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ” ได้แก่

(1) เพื่อคุ้มครอง และให้ความช่วยเหลือ แก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับอันตรายความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย และค่าเสียหายเบื้องต้น อย่างทันท่วงทีและแน่นอน

(2) เพื่อให้พระราชบัญญัตินี้เป็นหลักประกันว่า ผู้ประสบภัยจากรถจะได้รับการชดใช้ ค่าเสียหาย และค่าเสียหายเบื้องต้น อย่างแน่นอนและทันท่วงที และเป็นหลักประกันได้ว่าสถานพยาบาล ทุกแห่งจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลอย่างแน่นอน และรวดเร็วในการรับรักษาพยาบาลแก่ผู้ประสบภัย

(3) เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจ ประกันภัย ให้มีส่วนร่วมในการแบ่งเบาค่าเสียหายของผู้ ประกันภัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุจากรถ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยบรรเทาภาระความเดือดร้อน ของผู้ประสบภัยและครอบครัวแล้ว ยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในด้าน สวัสดิสงเคราะห์ อีกด้วย

สำหรับผู้มีหน้าที่ต้องทำ ประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถผู้ครอบครองรถ ในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ หากมีการฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำ ประกันภัยรถ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กฎหมายกำหนดโทษปรับไว้ไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท

กรณีรถไม่ทำ ประกันภัย ไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย

กฎหมายกำหนดให้เจ้าของ รถยนต์ มีหน้าที่ต้องทำ ประกันภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อเจ้าของ รถยนต์ ฝ่าฝืนไม่ทำ ประกันภัย แล้ว รถยนต์ คันดังกล่าวไปก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ประสบภัย เจ้าของ รถยนต์ จึงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้น ถ้าผู้ประสบภัยได้รับบาดเจ็บ เจ้าของรถต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล หรือถ้าเสียชีวิต ต้องรับผิดชอบค่าปลงศพ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ หากน้อยกว่านี้ ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรม ของผู้ประสบภัย ยังคงมาขอรับส่วนที่ยังขาดอยู่ได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เมื่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายไปแล้ว กฎหมายกำหนดให้นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่ เรียกเงินตามจำนวนที่ได้จ่ายไป คืนจากเจ้าของ รถยนต์ รวมทั้งเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าเสียหายเบื้องต้น ที่จ่ายจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเพื่อเข้าสมทบอีกต่างหากภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งจากนายทะเบียน

สำหรับ กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย นั้น ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีหน้าที่ จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัท ประกันภัย

ประกันภัย หรือเจ้าของ รถยนต์ ที่ไม่จัดให้มี ประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มี ประกันภัย ไม่จ่ายค่าเสียหาย การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ นั้น ผู้ประสบภัยหรือทายาท ต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ

อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ที่มา : อาร์วายทีไนน์