ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

สินไหม ประกันภัยรถยนต์ "ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ" พุ่ง

ค่าสินไหมทดแทน ประกันภัยรถยนต์ เฉลี่ยทั้งระบบเพิ่มขึ้น เจ้าของรถถูกละเมิด ไปใช้สิทธิกันจำนวนมาก

สินไหม ประกันภัยรถยนต์ "ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ" พุ่ง

พฤศจิกายน
2

ผลจากการให้ความรู้เรื่องสิทธิ “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” ของทนายความ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเรียกร้องสิทธิ และมีการแบ่งปันความรู้ในโลกออนไลน์ ทำให้ประชาชนที่เป็นเจ้าของรถมี ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ ถูกละเมิด และเจ้าของ รถยนต์ ที่นำรถเข้าซ่อม แต่ล่าช้ากว่ากำหนดไปใช้สิทธิกันจำนวนมาก

ล่าสุด ทางนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ค่าสินไหมทดแทนจากการ ประกันภัยรถยนต์ เฉลี่ยทั้งระบบได้เพิ่มขึ้นเป็น 65% และบางบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 70% ซึ่งมาจากต้นทุนในการรับ ประกันภัย เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่า สินไหมในส่วนของ “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” สูงขึ้นอย่างมาก เพราะมีประชาชนรู้ว่าสามารถเรียกร้องสิทธินี้ได้ จากการที่มีทนายความ และผู้มีประสบการณ์ ได้ทำการเผยแพร่ผ่านสังคมออนไลน์ แต่ยังไม่มีการเก็บสถิติว่าเป็นจำนวนเท่าใด มีเพียงค่าสินไหม ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจโดยรวม ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2559 อยู่ที่ 3.31 หมื่นล้านบาท จากเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ โดยตรง 5.19 หมื่นล้านบาท

ส่งผลให้บริษัท ประกันภัย ต้องหาแนวทางในการรับมือกับอนาคต ที่คาดว่าจะมีประชาชนมาใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น โดยได้หารือกับทาง คปภ. ถึงแนวทางการจ่าย “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ทาง คปภ.ยืนยันว่า “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” จะต้องจ่ายไปตามความเสียหายจริงตามกรมธรรม์ ซึ่งอยู่ในหมวด ความคุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอก บริษัท ประกันภัย ต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย และความรับผิดของบริษัทตามจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอา ประกันภัย ที่ระบุไว้

แม้จะไม่ได้เขียนไว้ชัดเจนว่าเป็น “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ” แต่ผู้ที่ถูกละเมิดมีสิทธิฟ้องเรียก ค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับ ประกันภัย ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887

สำหรับผู้ที่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ มี 3 กรณี คือ

1. เจ้าของ รถยนต์ ที่เป็นฝ่ายถูก ถูกรถคันมี ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจชน ทำให้เกิดความเสียหาย

เมื่อนำ รถยนต์ เข้าซ่อม แล้วถูกบริษัท ประกันภัย ประวิงการซ่อม หรือมีการซ่อมล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็นโดยไม่มีเหตุผลสมควร เช่น ระบุว่าจะซ่อมเสร็จภายในวันที่ 1 พ.ย. แต่ซ่อมล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร สามารถเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์การใช้รถ ได้ตั้งแต่วันที่ 2 พ.ย.เป็นต้นไป จนกว่าจะซ่อมเสร็จ

2. ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ นับตั้งแต่วันที่นำ รถยนต์ เข้าซ่อม ไม่สามารถใช้รถได้ ต้องเช่ารถใช้ หรือนั่งแท็กซี่ไปทำงาน ซึ่งเป็นส่วนที่มีการเรียกร้องมากที่สุด และบางรายค่าเสียหายส่วนนี้มากกว่าค่าซ่อมอีก

ยกตัวอย่าง ผู้เอา ประกันภัย ที่เป็นฝ่ายถูก มีค่าใช้จ่ายในการใช้รถเฉลี่ยวันละ 1,000 บาท รถคันนั้นใช้เวลาซ่อม 45 วัน จะเป็นเงิน 4.5 หมื่นบาท ขณะที่ค่าซ่อมเพียง 2 หมื่นบาท รวมแล้วต้องจ่ายชดเชยในกรณีนี้ 6.5 หมื่นบาท ซึ่งจะพิจารณาจากจำนวนวันที่ขาดการใช้รถ อาชีพของผู้เสียหาย ลักษณะการใช้รถ และอายุของรถ ต้องสมเหตุสมผล

3. ค่าขาดประโยชน์ในกรณีใช้รถเพื่อการพาณิชย์ เช่น รถเช่า หรือรถรับจ้าง จะมีค่าเสียหายที่แตกต่างจาก รถยนต์ ส่วนบุคคล ในกรณีที่มีหลักฐานการขาดประโยชน์จากการใช้รถชัดเจน อาชีพ รถ อาชีพของผู้เรียกร้อง สมเหตุสมผล จะไม่มีปัญหา มักตกลงกันได้

สำหรับที่มีปัญหา คือ ไม่มีหลักฐานมายืนยัน หรือทำให้เชื่อได้ว่าเกิดความเสียหายจากการใช้รถจริง ทำให้เกิดการโต้แย้ง เพราะไม่สามารถตกลงค่าสินไหมทดแทนกันได้ เป็นเรื่องที่ร้องเรียนสูงสุดในปัจจุบัน ตามด้วยค่าซ่อมแซม รถยนต์ และค่าเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย โดยบริษัท ประกันภัย อ้างว่าเป็นข้อยกเว้นที่ไม่ให้ความคุ้มครอง อ้างว่าไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่เป็นอุบัติเหตุ เกิดเหตุทุจริต ปฏิเสธโดยโต้แย้งผลคดี มีการโต้แย้งข้อเท็จจริง และปฏิเสธโดยโต้แย้งผลคดีจราจร หรือคำพิพากษา กรณี รถยนต์ สูญหาย กรมธรรม์ขาดผลบังคับ หรือบริษัทบอกเลิกสัญญา

อย่างไรก็ตาม ทาง คปภ.จัดเก็บเพียงสถิติเรื่องร้องเรียนของ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับไว้เท่านั้น ซึ่งปี 2558 มีจำนวน 569 เรื่อง ซึ่งลดลงจากปี 2557 ที่มีจำนวน 661 เรื่อง และเรื่องร้องเรียนประกันวินาศภัยโดยรวม 8,217 เรื่อง จากปี 2558 มีจำนวน 8,217 เรื่อง

ทั้งนี้ แนวทางในการหาข้อยุติ เพื่อสร้างความพอใจกันทั้งสองฝ่าย ในกรณีที่ลูกค้าไม่มีหลักฐานค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถมายืนยัน หรือทำให้เชื่อถือได้ ทาง คปภ.และภาคเอกชน จึงเห็นว่าควรกำหนดแนวทางการชดใช้ ดังนี้

รถจักรยานยนต์ จะชดเชยให้วันละ 200-300 บาท รถยนต์ ที่ใช้ในการเดินทางทั่วไป เช่น พนักงานบริษัท ข้าราชการ จะชดใช้ให้วันละ 300-600 บาท โดยอิงอัตราค่าแรงขั้นต่ำ หรืออัตราเฉลี่ยค่ารถแท็กซี่ หรือค่าเช่ารถต่อวัน รถยนต์ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ เช่น รถของพนักงานที่ต้องใช้รถเป็นประจำ ในการประกอบอาชีพ จะชดใช้ให้ 500-1,000 บาท

ขณะที่ รถยนต์ เพื่อการพาณิชย์ รถขนส่งสินค้าขนาดเล็ก ชดใช้ให้วันละ 600-1,200 บาท รถบรรทุกตั้งแต่ 4 ล้อขึ้นไป และมากกว่า 4 ตันขึ้นไป จะชดใช้ให้ 1,000-3,000 บาทต่อวัน ในกรณีที่เป็นรถรับจ้าง แยกเป็น รถจักรยานยนต์ จะชดใช้ให้ 200-300 บาทต่อวัน รถตู้รับจ้าง รถรับส่งนักเรียน รถโดยสารขนาดเล็ก จะชดใช้ให้ 600-1,000 บาท รถโดยสารขนาดใหญ่ 40 ที่นั่งขึ้นไป จะชดใช้ให้ 5,000-10,000 บาทต่อวัน และรถแท็กซี่ จะชดใช้ให้ 300-600 บาทต่อวัน

ทั้งนี้ คปภ.มีความเห็นว่า บริษัทประกันวินาศภัยจะต้องชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ตามความเสียหายจริงที่เกิดขึ้น หากลูกค้ามีหลักฐานยืนยัน ตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่ระบุไว้ เพราะบริษัท ประกันภัย ขาย “การจัดการความเสียหาย”

สำหรับทางออกในกรณีที่ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มสูงขึ้น คือ การขึ้นเบี้ย ประกันภัย กับลูกค้าที่มีพฤติกรรมละเมิดสิทธิคนอื่นถี่ เกิดอุบัติเหตุถี่ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงของคนคนนั้นอย่างเป็นธรรม แม้ว่าการ ประกันภัย จะยึดหลักการเฉลี่ยภัย แต่ไม่ควรจะเฉลี่ยภัยของคนที่มี พฤติกรรมไม่ดี ไปให้ผู้ขับขี่ดี 100%

ขณะที่บริษัท ประกันภัย ได้หันมาใช้แนวทาง ในการพิจารณาความเสี่ยงเป็นรายบุคคลมากขึ้น และมีแผนที่จะจัดทำประวัติอุบัติเหตุของลูกค้า ประกันภัยรถยนต์ เพื่อส่งเข้าระบบฐานข้อมูลกลางด้าน ประกันภัย (IBS) ให้บริษัท ประกันภัย สามารถใช้ในการพิจารณาเบี้ย ประกันภัย ของลูกค้า ได้ตามความเสี่ยงของแต่ละคนในปีถัดไป จากปัจจุบันที่ไม่ทราบประวัติลูกค้าที่มาทำ ประกันภัยรถยนต์ และผู้ที่มีประวัติขับขี่รถดี จะถูกคิดเบี้ยในราคาถูก เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : โพสต์ทูเดย์