ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

4 ปัจจัยแจ้งเกิด รถยนต์ไฟฟ้า ไทยฐานผลิตในภูมิภาคอาเซียน

ภาครัฐตั้งเป้าสนับสนุนไทยเป็นฐานการผลิต รถยนต์ จัดเตรียมนโยบายส่งเสริมการลงทุนการผลิต รถยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วน สนับสนุนสถานีประจุไฟฟ้า

4 ปัจจัยแจ้งเกิด รถยนต์ไฟฟ้า ไทยฐานผลิตในภูมิภาคอาเซียน

ตุลาคม
30

ยอดขาย รถยนต์ไฟฟ้า ของภูมิภาคอาเซียนในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งรวม รถยนต์ Hybrid คาดว่าไม่เกิน 20,000 คัน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่า 1% ของยอดขาย รถยนต์ ในภูมิภาคอาเซียน การที่ภาครัฐตั้งเป้าสนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการผลิต รถยนต์ ในภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมนโยบายส่งเสริมการลงทุนการผลิต รถยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนโครงการ รถเมล์ไฟฟ้า ของ ขสมก. หรือโครงการทุนสนับสนุนสถานีประจุไฟฟ้า

จากข้อมูลของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) สิ่งสำคัญที่ผลักดันให้ รถยนต์ไฟฟ้า สามารถแจ้งเกิดได้ จะต้องอาศัยฟันเฟืองสำคัญ 4 อย่าง คือ 1.การพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐาน ที่สามารถเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ ปริมาณของสถานีประจุไฟฟ้า ที่ปัจจุบันทั้ง 3 ประเทศรวมกัน หมายถึงสิงคโปร์ มาเลย์ และไทย ยังคงมีเพียง 280 แห่ง จึงไม่ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานได้อย่างเพียงพอ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการผลักดันให้มีการจัดตั้งเพิ่มขึ้นอีก 600 แห่ง ในอนาคต

2.ราคาที่เหมาะสม ด้วยราคาต้นทุนของแบตเตอรี่ และภาษีประเภทต่างๆ ทำให้ราคาของ รถยนต์ไฟฟ้า สูงกว่า รถยนต์ ทั่วไปที่มีสมรรถนะใกล้เคียงกัน มากถึง 1.5 เท่า เพื่อให้ รถยนต์ไฟฟ้า มีราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาด รัฐบาลของสิงคโปร์และมาเลเซียจึงจำเป็นต้องมีการ subsidy และให้ทุนสนับสนุนแก่ผู้บริโภค ซึ่งก็เป็นวิธีการในอเมริกาเหนือ ยุโรป และจีน ซึ่งมียอดขาย รถยนต์ไฟฟ้า สูงที่สุดในโลก รวมถึงราคาน้ำมันที่ยังเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเลือกซื้อ รถยนต์ ซึ่ง ณ ราคาน้ำมันในปัจจุบัน ก็คงมีน้อยคนนักที่อยากเปลี่ยนไปใช้ รถยนต์ พลังงานประเภทอื่น ที่มีราคาสูงกว่า

3.เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ที่ยังไม่มีการลงทุน หรือการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนในภูมิภาค โดยปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญอย่าง Toyota, Honda และ Nissan ยังมีเพียงการนำชิ้นส่วนสำคัญอย่างมอเตอร์และแบตเตอรี่ เข้ามาเพื่อการประกอบ รถยนต์ hybrid เพียงประเภทเดียว ในขณะที่ รถยนต์ไฟฟ้า ชนิด plug-in hybrid และชนิดแบตเตอรี่ 100% มีเพียงการนำเข้าทั้งคัน ในกลุ่ม รถยนต์ นั่งหรูเท่านั้น ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ฟันเฟืองทั้ง 3 ชิ้นนี้ มักได้รับการกล่าวถึงเป็นอันดับแรกๆ

4.โมเดลธุรกิจ สำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า ที่เหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นให้ความต้องการใช้ รถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้น อาทิ ในประเทศสิงคโปร์ ที่ปัจจุบันสนับสนุนให้เกิดความหลากหลายของการใช้งาน รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งโครงการ Singapore EV car sharing ที่พร้อมให้มีการใช้งานในปีหน้า และการเปิดให้บริการระบบแท็กซี่ไร้คนขับ ซึ่งเป็นการนำ รถยนต์ไฟฟ้า มาใช้ ในขณะที่มาเลเซียมีการสนับสนุนการใช้ รถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้นโยบาย Greentech Malaysia ซึ่งยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเช่นเดียวกับไทย

ดังนั้น การพัฒนาโมเดลธุรกิจสำหรับ รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในธุรกิจการให้บริการด้านการเดินทางหรือที่เรียกว่า mobolity service ทั้งในบริการเช่า รถยนต์ แบบ car sharing หรือ ride hailing รวมถึงการให้บริการในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างการให้บริการกำจัด รีไซเคิล แบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพ หรือการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับระบบ smart grid ภายในอาคารให้กับธุรกิจต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยเฉพาะ สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย เพื่อเพิ่มโอกาสของไทย สำหรับการเปิดเกมรุกบุกตลาด รถยนต์ไฟฟ้า อาเซียนในอนาคตอันใกล้

ที่มา : สยามธุรกิจ