ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ศึก รถบรรทุก แข่งเดือด

ตลาด รถบรรทุก แข่งเดือด โฟตอน-จีน ลุยรถขนาดเล็ก - วอลโล่ทรัคส์ - ยูดี ประกาศแนวรบเต็มสูบ ขยายกำลังการผลิต

ศึก รถบรรทุก แข่งเดือด

ตุลาคม
7

อานิสงส์เมกะโปรเจ็กต์ - เออีซี ส่งตลาด รถบรรทุก ระอุ “โฟตอน จีน” โดนลงทุนประกอบและขายรถขนาด 4 ล้อ, 6 ล้อ และรถตู้ 16 ที่นั่ง ฟุ้งสิ้นปีลุยกระบะเสริมอีก 6 รุ่น ด้าน ตันจง ทำตลาดรถขนาดใหญ่ - รถมิกเซอร์ ยันสินค้าไม่ทัลไลน์ ขณะที่ วอลโว่ ทรัคส์ และ ยูดี ประกาศแนวรบเต็มสูบ ทุ่มทุนกว่า 2,000 ล้านขยายกำลังการผลิต มั่นใจยอดขาย-ส่วนแบ่งตลาดเติบโต

ประธาน บริษัท โฟตอน ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดจำหน่าย รถบรรทุก โฟตอนในประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทได้ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อทำการประกอบ รถบรรทุก ขนาดเล็ก 4 ล้อ, 6 ล้อ และรถตู้ ขนาดกว้างและหลังคาสูงสำหรับ 16 ที่นั่ง และช่วงปลายปีจะประกอบ รถกระบะ 6 รุ่น แบ่งออกเป็น ดับเบิ้ลแค็บ 4x4, 4x2 รุ่นซิงเกิ้ลแค็บ 4x2 โดยใช้งบลงทุนเบื้องต้นประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อทำการผลิตและประกอบโดยใช้โรงงานของ บริษัท บางชันเยนเนอเรล เอสเซมบลี จำกัด (BGAC) ที่มีประสบการณ์ในการผลิตและประกอบ รถยนต์ มี 3 โรงงานบนพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร โดยตั้งเป้าหมายการผลิตในเฟสแรก 1 หมื่นตันต่อปี

ส่วนกลยุทธ์ทางการตลาดจะเน้นสร้างแบรนด์ มีการเข้าร่วมงานมอเตอร์เอ็กซ์โป มีกิจกรรมโรดโชว์ และการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ด้านนโยบายการขายจะใช้ราคาเป็นหลัก และมีการรับประกันคุณภาพตัวสินค้า มีอะไหล่รองรับ ให้ความสำคัญกับการบริการหลังการขาย รวมไปถึงสนับสนุนด้านการเงินผ่านไฟแนนซ์ นอกจากนั้นจะทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่าย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 15 แห่ง และภายในสิ้นปีจะขยายเป็น 25 แห่ง และตั้งเป้าหมายภายในปี 2560 จะมีจำนวน 60 แห่งทั่วประเทศ

“ด้านศูนย์อะไหล่ต่างๆ การจัดไฟแนนซ์, คอลล์ เซ็นเตอร์ และการช่วยเหลือฉุกเฉิน ทั้งหมดนี้เรามีการร่วมมือกับผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียง อาทิ ดีเอชแอล (DHL) อลิอันซ์ โกลบอล แอสซิสแทนซ์ (AGA) และ แอลเอ็มจี ประกันภัย (LMG) ซึ่งแม้เราจะเป็นแบรนด์ใหม่ แต่เราจะพยายามสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในประเทศ และคาดหวังว่าภายใน 2-3 ปี จะมีส่วนแบ่งการตลาดและสามารถเข้าไปเกาะกลุ่มแบรนด์หลักๆ ของประเทศไทยได้”

การทำตลาดของบริษัท และตันจงกรุ๊ป ที่ได้รับสิทธิ์การทำตลาดในไทยก่อนหน้านั้น ตันจงกรุ๊ป ถือว่าเป็นพาร์ตเนอร์ของ โฟตอน สำหรับ รถบรรทุก หนัก ส่วนผลิตภัณฑ์หรือสินค้ารุ่นอื่นๆ นั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด โดยการที่บริษัทแม่หันมาลงทุนเอง เนื่องจากเล็งเห็นความต้องการของตลาดไทยและในภูมิภาคอาเซียนที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ซึ่งนอกจากจะผลิตเพื่อป้อนตลาดในประเทศแล้ว ยังจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถพวงมาลัยขวา สำหรับส่งออกไปทั่วโลก

ด้านข่าวจาก ตันยงกรุ๊ป ที่ได้รับสิทธิ์ในการประกอบและจำหน่ายในไทย เปิดเผยว่า การเข้ามาของ บริษัท โฟตอน ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จํากัด ไม่ได้ส่งผลกระทบ เพราะบริษัทแม่ที่จีน มีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายหลายรายในประเทศต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างจากแบรนด์ญี่ปุ่น ที่จะแต่งตั้งแค่เพียงรายเดียว นอกจากนั้นแล้ว ตันยงกรุ๊ป ได้รับสิทธิ์ในการประกอบและขาย รถบรรทุก หัวลากขนาดใหญ่ และรถโม่ผสมปูน ซึ่งถือว่าเป็นคนละตลาดกัน จึงทำให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดผลกระทบ และบริษัทยืนยันเป้าหมายการขายในปีนี้ไว้ที่ 150 คัน

ด้าน ประธานกรรมการ วอลโว่ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ผู้จัดจำหน่ายรถวอลโว่ ทรัคส์ และยูดี ทรัคส์ เปิดเผยว่าภาพรวมตลาด รถบรรทุก 8 เดือนที่ผ่านมา มีการเติบโต 1.6% ซึ่งรถแบรนด์ญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโตสูงกว่าแบรนด์อื่นๆ เนื่องจากทิศทางตลาดเริ่มดีขึ้น กลุ่มก่อสร้างโครงการต่างๆ มีคำสั่งซื้อรถ โดยตัวเลขการขายรวมทั้งตลาดอยู่ที่ 1.2 หมื่นคัน คาดว่าหากไม่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบ จะทำให้ตลาดมียอดขายรวม 1.8 หมื่นคัน

สำหรับยอดขายรวมของบริษัททำได้ประมาณ 700 คัน โดย ยูดี ทรัคส์ ทำได้ 450 คัน เติบโต 45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วน วอลโว่ ทรัคส์ ยอดขายหดตัวลง ทำได้แค่ 224 คัน คาดว่าจนถึงสิ้นปียอดขายรวมทั้ง 2 แบรนด์จะมีการเติบโต เช่นเดียวกับส่วนแบ่งตลาด ที่ปัจจุบันทำได้ 6.2% ซึ่งถือว่าเติบโตกว่าปีที่ผ่านมา ที่ทำได้ประมาณ 6%

“ภาพรวมของตลาด รถบรรทุก - หัวลาก ในช่วงต้นปี ติดลบ 20% อย่างไรก็ดีในช่วงครึ่งปีหลังแนวโน้มเริ่มดีขึ้น และเดือนที่ผ่านมามีการเติบโต ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย อาทิ โครงการต่างๆ ของรัฐที่เริ่มเดินหน้า ประกอบกับการเปิด เออีซี ขณะที่ผลการดำเนินงานของบริษัทโดยเฉพาะแบรนด์ ยูดี ในรุ่นเควสเตอร์ ได้รับการตอบรับดีมาก เพราะมีสินค้าครบไลน์ ตอบโจทย์ลูกค้าได้ รองรับทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ส่วน วอลโว่ หดตัวลง เพราะกลุ่มลูกค้ามีการชะลอ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจส่งผลให้ลูกค้าเกิดความไม่มั่นใจ”

ส่วน รองประธานอาวุโสกลุ่มธุรกิจ รถบรรทุก วอลโว่ ภูมิภาคเอเชียและกรรมการผู้จัดการโรงงานกรุงเทพฯ เผยว่า เพื่อเป็นการรองรับการเติบโต และฉลองเข้าสู่ปีที่ 40 ของการดำเนินงานในประเทศไทย บริษัทได้ขยายการลงทุนในประเทศไทย 2,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มสายการผลิตรถ ยูดี เควสเตอร์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 2 หมื่นคันต่อปี ส่วน วอลโว่ ทรัคส์ ได้ขยายมาเป็น 2,000 คันต่อปี

“การขยายการลงทุนที่ผ่านมา เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ กล่าวคือ การใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถ ยูดี ทรัคส์ จำหน่ายทั้งในและประเทศต่างๆ ทั่วโลก อีกทั้งยังรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่ประเมินว่าความต้องการ รถบรรทุก ของภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่ดี เพราะมีการตื่นตัวด้านการขนส่ง โลจิสติกส์ต่างๆ”

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ