ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ครบรอบ 5 ปี รถยนต์ คันแรก

โครงการ รถยนต์ คันแรก มีผลดีต่ออุตสาหกรรมการผลิต รถยนต์ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลเสีย ก่อให้เกิดหนี้ครอบครัวจากการเช่าซื้อ รถยนต์ถึง 80% ของจีดีพี

ครบรอบ 5 ปี รถยนต์ คันแรก

กันยายน
16

16 กันยายน 2559 จะเป็นการครบรอบ 5 ปีของนโยบายคืนภาษี รถยนต์ คันแรก ที่สร้างความฮือฮา แตกตื่น ให้กับสังคมไทย อย่างยั้งไม่อยู่ โดยมีเป้าหมายให้คนระดับรากหญ้า จนถึงมนุษย์เงินเดือน สามารถเป็นเจ้าของ รถยนต์ คันแรกได้ ในราคาที่ถูกลงกว่าปกติ เนื่องจากได้รับการคืนภาษีตั้งแต่ 4 หมื่น - 1 แสนบาทต่อคัน จนเมื่อถือครองครบ 5 ปีนับจากวันรับ รถยนต์ จึงสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้

เงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือใน 5 ปี

นโยบายคืนภาษี รถยนต์ คันแรกมีเงื่อนไขต่างๆ ดังนี้ ผู้ซื้อต้องอายุ 21 ปีขึ้นไป ผู้ซื้อจะต้องไม่เคยซื้อ รถยนต์ มาก่อน ราคา รถยนต์ จะต้องไม่เกิน 1 ล้านบาท รถยนต์ ต้องมีเครื่องยนต์ไม่เกิน 1500 ซีซี ( สำหรับ รถกระบะ จะไม่จำกัด ซีซี) และต้องเป็น รถยนต์ ที่ผลิตในประเทศไทยเท่านั้น และเป็นรถใหม่ป้ายแดง และข้อสุดท้ายห้ามโอนเปลี่ยนมือใน 5 ปี ยกเว้นกรณีรถถูกยึดเนื่องจากไม่ได้ผ่อนต่อไฟแนนซ์ สามารถเปลี่ยนมือได้

ต่อเรื่องนี้ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นวันสุดท้ายที่กรมสรรพสามิต เปิดให้ประชาชนมายื่นใช้สิทธิ์คืนภาษีตามนโยบาย รถยนต์ คันแรกว่า จากการปิดรับการยื่นเอกสารขอคืนภาษี รถยนต์ คันแรก ของกรมสรรพสามิตทุกจุดให้บริการ เวลา 16.30 น. มีประชาชนขอใช้สิทธิ์ 1,255,942 คัน คิดเป็นเงินภาษีที่ต้องคืน 91,061 ล้านบาท โดยผู้มีสิทธิ์จะต้องนำสำเนาเอกสารภายใน 15 วัน

จากนั้นในปีงบประมาณ 2555 (1 ตุลาคม 2554-30 กันยายน 2555) ได้รับจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล 7,500 ล้านบาท กรมสรรพสามิตได้คืนภาษีให้กับผู้ที่ครอบครองรถครบ 1 ปีประมาณ 40,000 ราย วงเงิน 3,000 ล้านบาท ยังมีงบเหลืออีก 4,500 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2556 (1 ตุลาคม 2555-30 กันยายน 2556) ได้รับจัดสรรงบ 18,000 ล้านบาท แต่ไม่เพียงพอ กรมสรรพสามิตต้องทำเรื่องเสนอกระทรวงการคลัง ของบการกลางอีก 20,000 ล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2557 (1 ตุลาคม 2556-30 กันยายน 2557) ต้องจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลอีก 30,000-40,000 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2558 จำนวนหนึ่ง

ชี้กระตุ้นการผลิตยานยนต์

ก่อนหน้านี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สสค.) ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการ รถยนต์ คันแรกว่า จะเป็นการกระตุ้นการผลิตภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ระบบ ก่อให้เกิดการจ้างงาน กระตุ้นภาคการบริโภค เพื่อนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (Domestic demand) ลดการพึ่งพาการส่งออกที่มีสัดส่วน 75% ของจีดีพี

นอกจากนี้โครงการ รถยนต์ คันแรก จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวตลอดทั้งโครงการ คิดเป็น 0.97% ต่อปี การใช้จ่ายเงินของรัฐบาล จะทำให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียนหลายรอบ (Multiplier effect) การใช้จ่ายเงินของรัฐทุกๆ 1 บาท จะมีผลต่อเศรษฐกิจมหภาคเข้ากับ 1.4 บาท ซึ่งจะมีผลทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ และภาษีทะเบียนรถยนต์ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท

รอยยิ้มและคราบน้ำตา

จะเห็นได้ว่า นโยบายคืนภาษี รถยนต์ คันแรก มีบทบาทในการจัดกระตุ้นกำลังซื้อ รถยนต์ ของผู้บริโภคได้ทันที หลังเศรษฐกิจชะลอตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง เป็นโอกาสสำคัญของคนไทยที่จะได้เป็นเจ้าของ รถยนต์ คันแรก ในราคาที่ถูกลง จากการคืนภาษีสูงสุดถึง 1 แสนบาท มีการยืมชื่อสมาชิกคนในครอบครัวมาใช้สิทธิ์ซื้อ รถยนต์ กันอย่างคึกคัก ก่อให้เกิดกระแสฟีเวอร์ไปทุกหย่อมหญ้า แม้แต่ชาวบ้าน พนักงานโรงงาน ก็ใช้สิทธิ์ซื้อ รถยนต์ โดยขาดความยั้งคิดว่า จะมีรายได้ผ่อนส่งค่างวดในแต่ละเดือนเพียงพอหรือไม่ ส่วนหนึ่งคิดว่าแต่ว่า จะได้รับเงินคืนภาษีสูงสุด 1 แสนบาท บางคนผ่อนได้เพียง 3-4 งวด ก็ส่งต่อไม่ไหว ปล่อยให้ไฟแนนซ์ยึดรถคืน โดยไม่ได้คำนึงว่า ยังมีภาระหนี้อีกมากมายซ่อนเร้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นภาระดอกเบี้ย ภาระหนี้ส่วนเกิน

อีกครั้งกรณีที่ผู้ซื้อ รถยนต์ ไปแล้ว แต่ไม่สามารถผ่อนต่อได้ จะถูกเรียกเงินภาษีจากรัฐ คืนกลับให้กรมสรรพสามิต เท่ากับจำนวนที่ได้รับไป ซึ่งหลายรายนำเงินที่ได้รับคืนภาษีไปใช้หมดแล้ว จึงต้องกู้เงินนอกระบบมาจ่ายเงินคืนกรมสรรพสามิต ทำให้ตัวเลขหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากมาย ส่วนเจ้าของ รถยนต์ ที่กัดฟันผ่อน รถยนต์ ต่อไป ก็ไม่สามารถขายเปลี่ยนมือได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขห้ามซื้อขายเปลี่ยนภายใน 5 ปี นับจากวันรับรถ

ชี้หนี้ครัวเรือนพุ่ง

รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) การสรุปผลจากนโยบาย รถยนต์ คันแรกได้อย่างน่าสนใจว่า โครงการ รถยนต์ คันแรก มีผลดีตรงที่ทำให้อุตสาหกรรมการผลิต รถยนต์ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ยอดการผลิตปี 2556 ขยับขึ้นเป็นปีละกว่า 2 ล้านคัน ซึ่งสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก สำหรับผลเสียนั้น ก่อให้เกิดหนี้ครอบครัวจากการเช่าซื้อ รถยนต์ถึง 80% ของจีดีพี มีการเข้าซื้อ รถยนต์ สูงเกินล้านล้านบาทเป็นครั้งแรก ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภค หดตัวลง ทุกประเภทสินค้า

อย่างไรก็ตาม นโยบาย รถยนต์ คันแรก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 จะครบกำหนดเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือในวันที่ 16 กันยายน 2559 นี้ ถือว่าครบ 5 ปี ตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ยังไม่ส่งผลโดยตรงกับตลาด รถยนต์ มากนัก เนื่องจากช่วงเริ่มนโยบาย รถยนต์ คันแรก ไทยประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนยานยนต์ในการประกอบ รถยนต์ จึงคาดการณ์ว่า ผู้ใช้สิทธิ์ รถยนต์ คันแรกจำนวนหนึ่ง จะเริ่มขาย รถยนต์ คันเดิมได้ในช่วงกลางปี 2560 และซื้อ รถยนต์ คันใหม่ที่มเทคโนโลยีมากกว่าเดิม ทำให้ค่าย รถยนต์ ทุกราย จึงเตรียมเปิดตัว รถยนต์ รุ่นใหม่ๆ เพื่อมากระตุ้นกำลังซื้ออย่างแน่นอน

ศูนย์บริการ - รถยนต์ มือสองคึกคัก

ขณะที่ทางด้าน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอพเพิล ออโต้ ออคชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด ศูนย์ประมูล รถยนต์ มือสองครบวงจร ธุรกิจในเครือ เอ็ม บี เค กรุ๊ป เปิดเผยว่า ธุรกิจประมูล รถยนต์ จะมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ซึ่งปัจจัยที่มีผลคือ โครงการ รถยนต์ คันแรก ที่ทำให้ รถยนต์ เข้ามาในตลาดมากขึ้น และเกิดผู้ประกอบการหน้าใหม่ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปี 2558 รถยนต์ ต่างๆ เริ่มเข้าสู่ระบบน้อยลง โดยประเมินว่าจำนวน รถยนต์ ที่เข้ามาสู่ธุรกิจประมูลลดลงกว่า 30-40%

ขณะที่ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท มาสเตอร์มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ เอ็มเอ็มเอส บ๊อช คาร์ เซอร์วิส (MMS Bosch Car Service) ในเครือ มาสเตอร์ กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) เปิดเผยว่าหลังจาก รถยนต์ คันแรกครบกำหนดถือครอง 5 ปีแล้ว รถยนต์ ที่เข้าร่วมโครงการจริงประมาณ 1.1 ล้านคัน ประมาณ 60% จะยังคงใช้ รถยนต์ ต่อไปและจะเข้าบำรุงรักษาตามศูนย์บริการนอกโชว์รูม เนื่องจากมีโปรโมชั่น ส่วนลดจูงใจลูกค้า และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าศูนย์บริการของค่าย รถยนต์

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ