ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

สคบ.ไล่จัดระเบียบ เต็นท์ รถยนต์ มือสอง

500 เต็นท์ รถยนต์ ทั่วกรุงมีหนาว สคบ.ไล่จัดระเบียบกันย้อมแมว ผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องรับประกันมากที่สุด

สคบ.ไล่จัดระเบียบ เต็นท์ รถยนต์ มือสอง

สิงหาาคม
16

สคบ.เร่งจัดระเบียบเต็นท์ รถยนต์ มือสอง เตรียมเรียกผู้ประกอบการทั่วกรุง 500 รายชี้แจงปลายเดือน ส.ค.นี้ ต้องติดฉลากระบุรายละเอียดยิบ หากละเลยเจอโทษปรับหนัก 5 หมื่น-จำคุก 6 เดือน ย้ำซื้อ รถยนต์ ต้องได้ใบเสร็จถูกต้อง เผยสถิติผู้บริโภคร้องเรียนเรื่องรับประกันมากที่สุด ด้านเต็นท์รถขานรับ ชี้ช่วยยกระดับธุรกิจให้ดีขึ้นแต่รายย่อย-รายเล็กที่ปรับตัวไม่ทันสูญพันธุ์แน่

เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่าในวันที่ 20-22 สิงหาคมนี้ สคบ.จะเชิญนายกสมาคมผู้ประกอบการรถยนต์ใช้แล้ว และผู้ประกอบการเต็นท์ รถยนต์ มือสองในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 500 ราย มาร่วมประชุมเพื่อชี้แจงระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจจำหน่าย รถยนต์ มือสอง เนื่องจากที่ผ่านมาจะพบว่าผู้ประกอบการยังดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมายของ สคบ. ได้แก่ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2550) เรื่องให้ รถยนต์ ใช้แล้ว เป็นสินค้าควบคุมฉลาก และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการขาย รถยนต์ ใช้แล้ว เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ.2550

สำหรับประกาศว่าด้วยการควบคุมฉลากฯ กำหนดให้ระบุข้อมูลส่วนตัวอักษรขนาดไม่ต่ำกว่า 1 เซ็นติเมตร เกี่ยวกับ รถยนต์ ใช้แล้ว ซึ่งประกอบด้วย 1.วันจดทะเบียน 2.เลขทะเบียน 3.เลขตัวรถ 4.เลขเครื่องยนต์ 5.ยี่ห้อรถ 6.ยี่ห้อเครื่องยนต์ 7.สี 8.ประเภทของรถ 9.ชนิดเชื้อเพลิง 10.ลำดับของเจ้าของรถ และ 11.ภาระผูกพันของ รถยนต์ ที่มีอยู่ในวันจำหน่าย (ถ้ามี) โดยที่ผ่านมา สคบ.พบว่า ฉลากที่ติดอยู่บริเวณหน้ารถ ปัจจุบันถือว่าผิดกฎหมายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ ที่ขายในบริเวณถนนรัชดาภิเษก ถนนกาญจนาภิเษก หรือถนนแจ้งวัฒนะ เพราะไม่ได้ระบุข้อความสำคัญตามกฎหมายกำหนด ที่สำคัญบนฉลากจะต้องระบุภาระผูกพันว่า รถยนต์ คันดังกล่าว ติดสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันทางกฎหมายหรือไม่ รถวิ่งมาแล้วเป็นระยะทางกี่กิโลเมตร ซึ่งโทษของการไม่ติดฉลากให้ถูกต้อง มีตั้งแต่โทษปรับ 5 หมื่นบาท หรือจำคุก 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาระบุว่า ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องออกหลักฐานการรับเงินให้แก่ผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ขนาดตัวอักษรไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร และต้องมีข้อความที่เป็นสาระสำคัญ อาทิ รายละเอียดของ รถยนต์ ที่ใช้แล้ว เกี่ยวกับ ยี่ห้อ รุ่น ปี สี หมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง หมายเลขทะเบียน ภาระผูกพัน และจำนวนเงิน เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา สคบ.พบว่า หลักฐานการรับเงินหรือใบเสร็จที่ผู้ประกอบการใช้อยู่ในปัจจุบันผิดเกือบทั้งหมด เพราะเป็นการเขียนด้วยลายมือ ไม่มีแบบฟอร์มที่ถูกต้อง และไม่ได้ระบุข้อความตามกฎหมาย โดยเฉพาะการรับประกันที่มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามายัง สคบ.มากที่สุด

“ผู้ขายจะบอกว่าซื้อแล้วไม่รับคืนหรือไม่รับผิดชอบไม่ได้ ซึ่งใบเสร็จจะต้องบอกว่ารับประกันกี่เดือนกี่ปี หรือระยะทางเท่าไหร่ ซึ่งโทษของการไม่ใช้ใบเสร็จให้ถูกต้อง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แบบฟอร์มที่ถูกต้องผู้ประกอบการสามารถขอดูได้ที่ สคบ. นอกจากเต้นท์ รถยนต์ มือสองที่ต้องใช้ใบเสร็จให้ถูกต้องแล้ว อู่ซ่อมรถก็ถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่พบว่ายังไม่ใช้ใบเสร็จที่ถูกต้อง ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเช่นกัน ยกเว้นบริษัท รถยนต์ ขนาดใหญ่ที่มีอู่มาตรฐานเท่านั้นที่ทำถูกต้อง แต่อุ่ทั่วไปยังทำผิดกฎหมาย สคบ.จึงต้องย้ำเตือนประชาชนให้เรียกหาใบเสร็จทุกครั้งที่ใช้บริการ รวมถึงการให้ความรู้กับผู้ประกอบการอู่รถด้วย”

จากการลงพื้นที่ให้ความรู้กับผู้บริโภค และออกตรวจร้านค้าในต่างจังหวัด พบว่าผู้บริโภคร้องเรียนเกี่ยวกับการซื้อ รถยนต์ มือสองเข้ามามากที่สุด โดยมี 3 ประเด็นที่เป็นปัญหา ได้แก่ 1.ซื้อรถแล้วไม่สามารถโอนได้ เนื่องจากหมายเลขเครื่องยนต์ หมายเลขตัวถัง ไม่ตรงกับคู่มือการจดทะเบียนรถ 2.รถยนต์ที่ซื้อมีภาระผูกพัน รถยังเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันการเงิน ทำให้ผู้บริโภคเมื่อซื้อแล้ว จะต้องผ่อนชำระค่างวดต่อ และ3.รถยนต์ ถึงถูกยึดโดยไม่ได้แจ้งผู้ซื้อให้ทราบล่วงหน้า ด้านนายกสมาคมผู้ประกอบการ รถยนต์ ใช้แล้วเปิดเผยว่า ทาง สคบ.จะมีการประชุมร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการ รถยนต์ ใช้แล้ว เพื่อร่วมหารือและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจจำหน่าย รถยนต์ มือสอง โดยเฉพาะเรื่องการติดฉลากฯ ซึ่งช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกของสมาคม จำนวนกว่า 200 ราย ได้ให้ความร่วมมือในการติดอยู่แล้ว

ในเบื้องต้นหาก สคบ.ช่วยเป็นกลไกหลัก และมีการทำตราสัญลักษณ์เพื่อช่วยการันตีความเป็นมาตรฐาน หรือถูกต้องตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี และจะช่วยยกระดับผู้ประกอบการ รถยนต์ มือสอง และยังช่วยผู้บริโภคให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ

เช่นเดียวกับ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทย ออโต โมบิล จำกัด ผู้ประกอบการ โตโยต้า ชัวร์ กรุงไทย เผยว่า ในแง่ของผู้ประกอบการรายใหญ่ มีการติดฉลากข้อมูลอย่างชัดเจน สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปข้อมูลต่างๆ ของตัว รถยนต์ ได้ อย่างไรก็ตามการที่ สคบ.มีการเพิ่มรายละเอียดเข้ามา น่าจะส่งผลกับผู้ประกอบการรายย่อย-รายเล็ก ที่จะมีภาระเรื่องงานเอกสารที่มากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการที่เป็นเต็นท์ที่ไม่ถูกกฎหมาย ก็จะต้องปรับตัว

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ