ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ลิสซิ่งโหมชิงเดือดเจ้า รถจักรยานยนต์

ลิสซิ่ง รถจักรยานยนต์ หวังเศรษฐกิจโงหัวครึ่งปี ฉุดกำลังซื้อผู้บริโภคฟื้น ดันยอดขาย รถจักรยานยนต์ ขยับ

ลิสซิ่งโหมชิงเดือดเจ้า รถจักรยานยนต์

สิงหาาคม
11

ลิสซิ่ง รถจักรยานยนต์ หวังเศรษฐกิจโงหัวครึ่งปีหลังฉุดกำลังซื้อผู้บริโภคฟื้น รับอานิสงส์ท่องเที่ยว เงินลงทุนรัฐ ดันยอดขาย รถจักรยานยนต์ ขยับ “ซัมมิท แคปปิตอล” เดินหน้าเพิ่มศูนย์ทั่วประเทศ ดันผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด ตั้งเป้าสินเชื่อคงค้างปีนี้โต 20% ขณะที่ “เมืองไทย ลีสซิ่ง” ผุดสาขาเพิ่ม เคลมเจ้าตลาดสินเชื่อสิงห์นักบิดตัวจริง

ผ่านครึ่งปี แนวโน้มตลาด รถยนต์ ยังคงซบต่อเนื่อง จากภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงอยู่ในภาวะชะลอตัว ประกอบกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ตลาด รถจักรยานยนต์ โดยรวมยังคงประคองตัวไปได้ โดยยอดขายโดยรวม 6 เดือน อยู่ที่ 911,746 คัน เติบโตขึ้น 0.4% ในจำนวนนี้แบ่งเป็น กลุ่มเกียร์ออโต้ 35% กลุ่มเกียร์ธรรมดา 49% และสปอร์ต 16% แต่บิ๊กไบค์เติบโตถึง 30% ด้วยยอดจดทะเบียน 13,029 คัน

อย่างไรก็ตาม จากยอดขายที่ยังพอไปได้ เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยมีการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐ เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ทำให้บริษัทลีสซิ่งเจ้าตลาดเช่าซื้อ รถจักรยานยนต์ ต่างยังคงเดินหน้าเปิดกลยุทธ์แข่งขันกันต่อไป

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน บริษัทมียอดสินเชื่อคงค้างเติบโต 6.7% โดยมีปัจจัยหนุนจากสภาวะตลาด รถจักรยานยนต์ ที่ขยายตัว 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จำนวน รถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนในครึ่งปี 2559 อยู่ที่ 910,020 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มียอดจดทะเบียน 904,278 คัน ทั้งนี้จำนวน รถจักรยานยนต์ ที่จดทะเบียนแบ่งตามภาค ภาคกลางและภาคตะวันออก ยังคงมีสัดส่วนการจดทะเบียนอยู่ระดับต้นๆ โดยพบว่าจำนวนรถที่จดทะเบียนในปี 2559 โดยรวมมีจำนวนที่ลดลง ยกเว้นในภาคกลางและภาคตะวันตก โดยกรุงเทพมหานครมียอดจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นถึง 11.9% จาก 166,906 คัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 186,832 คัน ขณะที่ยอดจดทะเบียนใหม่ในภาคตะวันตกปรับเพิ่มขึ้น 2.1% มาอยู่ที่ 51,663 คันในครึ่งปีแรกจาก 50,583 คัน จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ขณะที่ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมืองไทย ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (MTLS) ผู้นำตลาดสินเชื่อทะเบียน รถจักรยานยนต์ และนาโนไฟแนนซ์ ของเมืองไทย เปิดเผยถึงแผนการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังว่า บริษัทได้ปรับเพิ่มเป้าหมายการเปิดสาขาใหม่เพิ่มเป็น 1,600 แห่งทั่วประเทศ จากเดิมวางไว้ที่ 1,350 แห่ง ซึ่งขณะนี้เปิดสาขา 1,236 สาขา เหตุที่ต้องเพิ่มสาขา เนื่องจากได้รับกระแสตอบรับจากลูกค้าอย่างดีเยี่ยม อีกทั้งย่างเข้าสู่ฤดูฝน เกษตรกรทำการเพาะปลูก ทำให้ลูกค้าเกษตรกรมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ประกอบกับการขยายสาขาเพิ่ม ทำให้ยอดปล่อยสินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเห็นได้จากช่วงครึ่งปีแรกยอดปล่อยสินเชื่อคาดเติบโตกว่า 80% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ประธาน บริษัท เมืองไทย ลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน) (MTLS) กล่าวอีกว่า บริษัทได้มีการเตรียมแหล่งเงินกู้ทั้งระยะสั้น และระยะยาวไว้ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อรองรับแผนการปล่อยสินเชื่อในปีนี้ ซึ่งมีสถาบันการเงินให้ความสนใจ และนำเสนอประเภทของวงเงิน ทั้งตั๋วแลกเงิน, ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เข้ามาจำนวนมาก ซึ่งอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยอยู่ในช่วงระดับต่ำกว่า 3.5% ตามประเภทของวงเงินและระยะเวลา โดยเงินกู้ทั้งหมดจะนำไปลงทุนในธุรกิจปล่อยสินเชื่อของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อทะเบียน รถจักรยานยนต์ สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อรถเพื่อการเกษตร สินเชื่อโฉนดที่ดิน สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ และสินเชื่อส่วนบุคคล

ขณะที่กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อ รถจักรยานยนต์ รายใหญ่ในประเทศไทย เปิดเผยว่า TK ได้ออกหุ้นกู้จำนวน 600,000 หน่วย มูลค่าหน่วยละ 1,000 บาท รวมมูลค่า 600 ล้านบาท อายุหุ้นกู้ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.36% ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครืองมือทางการเงินสำคัญของบริษัท ในการระดมทุนสำหรับรองรับการขยายงานและเป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งบริษัทได้ออกหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง และการออกหุ้นกู้ครั้งนี้ เพื่อระดมเงินทุนเตรียมพร้อมที่จะขยายตัวใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยบริษัทได้เล็งเห็นสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้เร่งระดับอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ผลักดันโครงการช่วยเหลือต่างๆ มีวงเงินรวมกว่า 6.26 แสนล้าน โดยไม่ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนก.ย. 2558-25 เม.ย. 2559 ได้แก่ โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ โดยการสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 7.95 หมื่นกองทุน กองทุนละไม่เกิน 5 แสนบาท ภายในวงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตากพืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน การจัดหาแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปสินค้าเกษตร

ที่มา : สยามธุรกิจ