ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

กดคันเร่ง “วิริยะ” ดูดเบี้ย ประกันภัยรถยนต์

วิริยะ สัญญาณครึ่งปีหลังขยายตลาด ประกันภัย รถบรรทุก หรือรถใหญ่ เพิ่มขึ้น เพราะเทรนด์กลุ่มนี้มีลอสเรโชที่ลดต่ำลง

กดคันเร่ง “วิริยะ” ดูดเบี้ย ประกันภัยรถยนต์

กรกฎาคม
28

ธุรกิจประกันวินาศภัย ยังคงได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งจากยอดขาย รถยนต์ ใหม่ที่อยู่ในระดับต่ำ การแข่งขันหั่นเบี้ย ประกันภัย ฝั่งผู้ซื้อก็ลดทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 ไหนจะยังมีต้นทุนค่าซ่อม ค่าอะไหล่ที่เพิ่มขึ้น ค่าย ประกันภัย ก็ดิ้นหาทางออกปรับทัพกันอุตลุด ทางฝ่ายรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัท ประกันภัย รถใหญ่เบอร์หนึ่ง ได้เล่าว่า ทิศทางของ วิริยะ เร่งเครื่องอย่างไรกันบ้าง

โดยกล่าวว่า ในครึ่งปีแรกของปี 2559 ในตลาดยังคงแข่งขันหั่นราคาเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ กันอยู่ เพราะกำลังซื้อยังไม่ดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าบางส่วนก็ขอลดทำ ประกันภัยรถยนต์ ประเภท (ชั้น) 1 ลงมาอยู่ที่ ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 2+ หรือ 3+ มากขึ้น ทำให้ภาพรวมของตลาดมียอดเบี้ย ประกันภัย ลดลงบ้าง แต่ในส่วนของบริษัทยังทำเบี้ย ประกันภัย ได้ตามที่คาด โดยบริษัทมีพอร์ต ประกันภัยรถยนต์ สัดส่วนมากที่สุดประมาณ 97%

ในช่วงเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ปรับตัวดีขึ้น ผลจากที่มีการส่งมอบ รถยนต์ ที่ผลิตไม่ทันที่จองซื้อกัน ในช่วงงานมอเตอร์โชว์ เมื่อมี รถยนต์ ใหม่ออกมามาก ช่วยเพิ่มยอดขาย ประกันภัย ได้มากขึ้น ทำให้บริษัทประคองเบี้ยรับรวม 5 เดือนแรก ได้ที่ 13,410 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ 13,409 ล้านบาท โดยหลักๆ จะได้มาจากเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ ประมาณ 12,439 ล้านบาท เติบโต 0.34% ประกันอัคคีภัย 116 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8% ประกันภัยทางทะเลและขนส่ง 132 ล้านบาท โต 28% ส่วนประกันภัยเบ็ดเตล็ด 720 ล้านบาท หดตัวที่ 9%

อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทยังรักษาอัตรา ค่าสินไหมทดแทน (ลอสเรโช) ให้ไม่เกิน 60% ทรงตัวเหมือนปีก่อนๆ แม้ว่าต้นทุนค่าแรง ค่าอะไหล่รถ จะเพิ่มขึ้นปีละ 3-5% แต่บริษัทกำกับเรื่องต้นทุนอย่างใกล้ชิด เช่น ค่าใช้จ่ายพนักงาน การพัฒนาคน การควบคุมต้นทุนให้เหมาะสมกับค่าเบี้ย ประกันภัย โดยมีต้นทุนค่าบริการจัดการบริษัท ไม่เกิน 15%

กล่าวถึงทิศทางครึ่งปีหลังของ วิริยะ ว่า น่าจะเติบโตได้ดีกว่าครึ่งปีแรก เพราะผ่านช่วงต่ำสุดมาแล้ว โดยมีเป้าหมายหลักที่จะเพิ่มเบี้ย ประกันภัย ปีต่ออายุ (งานต่ออายุ) จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 75% เราก็ตั้งเป้าเพิ่มขึ้นเป็น 80% ช่วงที่ผ่านมาลูกค้าเบี้ยปีแรกหายไป เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 แถมมากับรถ พอไม่เกิดเหตุก็เลยไม่ต่ออายุกกัน ขณะที่ลูกค้าที่เกิดเหตุเคลม (เรียกร้องค่าสินไหมทดแทน) ก็จะต่ออายุกัน

พร้อมทั้งส่งสัญญาณครึ่งปีหลังนี้ว่า วิริยะ ขยายตลาด ประกันภัย รถบรรทุก หรือรถใหญ่ เพิ่มขึ้น เพราะเทรนด์กลุ่มนี้มีลอสเรโชที่ลดต่ำลง เนื่องจากผู้ประกอบการดูแลธุรกิจดีขึ้น เช่น ใช้ GPS ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่ ช่วยลดความเสี่ยง เราก็จะปรับเบี้ย ประกันภัย ลดลงให้ ขณะเดียวกันเราต้องเน้นการบริการเพื่อซ่อมรถสู่สภาพเดิม เพื่อให้ลูกค้าทำธุรกิจได้ต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังมี รถปิคอัพ อีกตลาด ที่ตอนนี้กลับมามียอดซื้อเพิ่มขึ้น หลังจากที่ภาครัฐเข้ามาช่วยพักหนี้กลุ่มเกษตรกร แต่ว่า รถปิคอัพ ก็มีการแข่งขันเบี้ยเหมือนเดิม อย่างเบี้ย ประกันภัย แบบเหมา หรือ Single Rate เช่น กรมธรรม์ละ 19,000 บาท/ปี ตอนนี้เหั่นเบี้ยมาอยู่ที่ 16,000-17,000 บาท/ปี แต่ก็มีการปรับลดความคุ้มครองบางส่วนลงเช่นกัน ส่วนอีกตลาดที่ยังเติบโตได้ดี เช่น ตลาดรถหรูที่บางแบรนด์ที่เรายังรับเบี้ย ประกันภัย ลูกค้ากลุ่มนี้ ได้เดือนละ 300-400 คัน

“ส่วน วิริยะ ไม่ได้ลดเบี้ย ประกันภัย เพื่อแข่งขันในตลาด แต่เราเน้นเพิ่มมูลค่าสินค้า เช่น การขยายผลิตภัณฑ์ ประกันภัย ที่ไม่ใช่ รถยนต์ (น็อนมอเตอร์) อย่างผลิตภัณฑ์ Motor Add-on ให้ลูกค้าซื้อเพิ่มความคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) และเงินชดเชยระหว่างซ่อม (Loss of use) ซึ่งลูกค้าจะได้ค่าแท็กซี่ระหว่างรถซ่อม ไม่ว่ากรณีถูกหรือผิด ตอนนี้อยู่ระหว่างออกแบบผลิตภัณฑ์ โครงการบ้านปลอดภัย บ้านอบอุ่น ที่จะรวมประกันอัคคีภัยกับพีเอเข้าด้วยกัน ตามความต้องการของลูกค้า”

ด้านการขยายงานรองรับเออีซี จะโพกัสไปกลุ่มลูกค้าโลจิสติกส์ขนส่งข้ามประเทศ ซึ่งเรามีพันธมิตรคือ บริษัท อาลิอันซ์ประกันภัยลาว (AGL) ใน สปป.ลาวแล้ว และกำลังเจรจากับ บริษัท เอเชียอินชัวรันส์ ในกัมพูชา คิดว่าจะเรียบร้อยภายในปีนี้ โดยจะใช้จุดประสานงานด้านโลจิสติกส์ร่วมกันที่นครราชสีมา รวมถึงเจรจากับพันธมิตรในเมียนมา ซึ่งจัดตั้งศูนย์ประสานงานไว้ที่แม่สอด

“เดิมเรารับประกันข้ามแดนเอง จะต้องลากรถกลับมาฝั่งไทยแล้วทำเคลม แต่ตอนนี้เมื่อเรามีพันธมิตร ถ้ารถข้ามไปขับที่ต่างประเทศ พันธมิตรเราก็จะดูแลจัดการเคลมให้ลูกค้าเราได้เลย ซึ่งเราก็มีแผนขยายไปที่เวียดนามผ่านทาง สปป.ลาวในอนาคตด้วย”

สุดท้ายแล้วสิ่งที่บริษัทต้องปรับตัว โดยใช้เทคโนโลยีมาเสริมทัพ บางครั้งก็จ้างเอาต์ซอร์ซด้านไอทีมาช่วย จนตอนนี้มีการพัฒนาในระบบสินไหม เพื่อคุมเรื่องค่าซ่อมได้มีประสิทธิภาพ ส่วนนักสำรวจภัย หรือเซอร์เวเยอร์ ที่เรามีอยู่ 1,000 คน ก็มีเครื่องมือระบุพิกัดและนำทาง ทำให้กระจายกำลังคนได้ดีขึ้น ด้าน คอลเซ็นเตอร์ เรามีการทำระบบ share point เพื่อให้คนที่สายหลุดเมื่อโทรกลับมาจะเจอพนักงานคนเดิม ช่วยให้การบริการดีขึ้นนั่นเอง

และกล่าวตบท้ายด้วยว่า ในปี 2559 นี้ ก็ยังมั่นใจว่า แม้จะทำ “เบี้ยรับตรง” ได้ตามเป้าหมาย 35,000 ล้านบาทแน่นอน แม้ว่าตลาดจะแข่งดุก็ต้องสู้

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ