ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ประกันภัย นาข้าวฮอต รัฐสั่งลุย 30 ล้านไร่

บริษัท ประกันภัย 16 แห่ง แห่รับ ประกันภัย ข้าวนาปี ทะลุเป้า 150% คาดเริ่มขายจริงกลางเดือน ก.ค.นี้

ประกันภัย นาข้าวฮอต รัฐสั่งลุย 30 ล้านไร่

กรกฎาคม
15

นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัท ประกันภัย ที่เข้าร่วมรับประกันในโครงการการ ประกันภัย ข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/2560 มีถึง 16 บริษัท แสดงความจำนงในการเป็นผู้รับ ประกันภัย รวมกันมากถึง 150% จากฐาน 100% ดังนั้นสมาคมจะใช้วิธีเฉลี่ยงานรับ ประกันภัย ไปให้กับแต่ละบริษัท ในสัดส่วน 2 ใน 3 จากที่เสนอมา และให้เป็นไปตามความสามารถในการรับ ประกันภัย ของแต่ละบริษัท

“ถือเป็นเรื่องดีที่ปีนี้มีบริษัท ประกันภัย สนใจเข้ามารับ ประกันภัย โครงการนี้มากขึ้น เราเองก็ได้เพิ่มสัดส่วนงานที่เก็บไว้ภายในประเทศ เป็น 15% จากปีก่อนที่เก็บงานไว้เพียง 10% ส่วนที่เหลือจึงจะส่งงานต่อให้กับบริษัทรับ ประกันภัย ต่อต่างชาติ หรือรีอินชัวเรอส์ และการที่มีงานรับ ประกันภัย นาข้าวมากถึง 30 ล้านไร่ ทำให้เบี้ย ประกันภัย ถูกลง เหลือเพียงไร่ละ 100 บาท และสามารถกระจายความเสี่ยงออกไปได้กว้างขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีแค่ 1.5 ล้านไร่เท่านั้น”

ทั้งนี้จะเสนอเรื่องให้ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พิจารณาประมาณกลางเดือน ก.ค.นี้ เพื่อลงนามบันทึกความเข้าใจกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และเปิดขายให้กับเกษตรกรได้อย่างเป็นทางการ เพราะขณะนี้มีบางพื้นที่เริ่มลงมือเพาะปลูกข้าวกันแล้ว

กรรมการผู้อำนวยการ ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทได้รับงานโครงการ ประกันภัย ข้าวนาปีครั้งนี้ ในสัดส่วน 8% โดยเบี้ย ประกันภัย ที่ได้รับเข้ามาไม่ได้มีจำนวนมากเท่าไหร่ เนื่องจากบริษัทต้องส่งงานไปยังรีอินชัวเรอส์ด้วย และการรับ ประกันภัย ข้าวครั้งนี้ ไม่ได้ทำให้ผลการดำเนินงานในปีนี้เพิ่มขึ้น แต่มีจุดประสงค์คือ ต้องการสร้างการเรียนรู้เรื่องการ ประกันภัย พืชผลให้กับเกษตรกรมากกว่าการหวังผลกำไร

สำหรับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการการ ประกันภัย ข้าวนาปี ปีการผลิต 2559/2560 ประกอบด้วย
1. บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์
2. บริษัท วิริยะประกันภัย
3. บริษัท กรุงเทพประกันภัย
4. บริษัท ทิพยประกันภัย
5. บริษัท นวกิจประกันภัย
6. บริษัท เมืองไทยประกันภัย
7. บริษัท นำสินประกันภัย
8. บริษัท ไทยศรีประกันภัย
9. บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ (สาขาประเทศไทย)
10. บริษัท แอกซ่าประกันภัย
11. บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย
12. บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย
13. บริษัท เทเวศประกันภัย
14. บริษัท อาคเนย์ ประกันภัย
15. บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย
16. บริษัท ฟอลคอนประกันภัย

ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบ 2,071 ล้านบาท จ่ายเป็นค่าเบี้ย ประกันภัย แทนเกษตรที่มาขอสินเชื่อ โดยค่าเบี้ย 100 บาท แบ่งจ่ายระหว่าง ธ.ก.ส. รับภาระค่าเบี้ย ประกันภัย ให้ 40 บาท คิดเป็นวงเงิน 1,200 ล้านบาท และรัฐบาลจ่ายให้อีก 60 บาท ครอบคลุมเกษตรกรลูกค้า 1.5 ล้านราย คิดเป็นพื้นที่ทำนาข้าว 30 ล้านไร่

ที่มา : โพสต์ทูเดย์