ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

น้ำท่วมทาง ขับ รถยนต์ อย่างไรดี

หากตกหนักสุดเกิน 100 มิลลิเมตร รับรองว่าจะต้องพบกับสภาพน้ำท่วมขัง มีวิธีขับฝ่าน้ำท่วมที่มีระดับน้ำไม่สูงมาก

น้ำท่วมทาง ขับ รถยนต์ อย่างไรดี

กรกฎาคม
11

เมื่อฝนฟ้าตกมาหนักคนขับรถก็ลำบาก เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้แต่ที่แน่ๆ ก็คือ หากตกหนักสุดเกิน 100 มิลลิเมตร รับรองว่าจะต้องพบกับสภาพน้ำท่วมขังบนผิวการจราจร หรือน้ำรอการระบายสูง ชนิดขับฝ่าลำบากอย่างแน่นอน ถ้าเห็นน้ำขวางอยู่ข้างหน้า เห็น รถยนต์ จอดจมน้ำกันให้เกลื่อน ก็ไม่ควรซ่าขับฝ่าเข้าไป หากคุณไม่ได้ขับเอสยูวียกสูง ลองดูวิธีที่จะขับฝ่าน้ำท่วมที่มีระดับน้ำไม่สูงมากนัก

1. เห็นน้ำอยู่ข้างหน้าอย่าเพิ่งฝ่าเข้าไปนะจ๊ะตัวเอง

ต้องรู้ระดับน้ำข้างหน้าที่จะวิ่งลุยเข้าไปว่ามีความสูงเพียงใด รถยนต์ ส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ในสภาพดี (ไม่นับรวม รถกระบะ ยกสูง) สามารถแล่นฝ่าผิวการจราจรที่มีน้ำท่วมขังอยู่ในระดับ 30 เซนติเมตร แบบพอคลานไปได้ช้าๆ หากมากกว่านั้นน้ำอาจเข้าไปที่จานจ่าย คอยล์จุดระเบิด หรือท่อระบายไอเสียด้านหลัง จนทำให้เครื่องยนต์ดับได้ ควรลดความเร็วลงเมื่อกำลังจะขับ รถยนต์ สวนกับอีกคันที่กำลังขับมา เพราะคลื่นด้านหน้าของ รถยนต์ ที่แล่นสวนทางมา กับคลื่น รถยนต์ ของเราจะปะทะกัน ซึ่งน้ำที่ปะทะระหว่าง รถยนต์ ทั้งสองคันที่วิ่งสวนกัน อาจทำให้น้ำกระเด็นไปทำอันตรายต่ออุปกรณ์ภายในห้องเครื่องยนต์ ส่วน รถยนต์ เอสยูวี หรือ รถกระบะ ยกสูง ก็ควรมีมารยาท ขับช้าแบบค่อยๆ ไป ก็ขับไปเรื่อยๆ อย่าไปถล่ม รถยนต์ คันเล็ก จน รถยนต์ เค้าดับไปต่อไม่ได้ หรือวิ่งเต็มเหนี่ยวสาดน้ำไปโดนคนยืนข้างถนน หรือ รถยนต์ คันอื่นที่กำลังคลาน น้ำใจในยามที่ต่างฝ่ายต่างเดือดร้อน เป็นเรื่องที่ควรมีให้กัน

2. ใช้เกียร์ต่ำแล้วดำน้ำไป

สำหรับเกียร์ออโต้หรือ เกียร์ธรรมดา ให้ใช้อัตราทดเกียร์ในระหว่างการวิ่งฝ่าพื้นที่น้ำท่วมขัง ที่ประมาณเกียร์ 2 หรือสำหรับออโต้ ก็ใช้เกียร์ D1-D2 หรือ L รวมถึงการขับขี่ที่ต้องใช้ความเร็วต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรรักษาระดับความเร็วของตัว รถยนต์ ให้มีความสม่ำเสมอ อย่าหยุด รถยนต์ กลางน้ำ ห้ามเร่งความเร็วแบบทันทีทันใด น้ำอาจโดนพัดลมระบายความร้อน ตีขึ้นมาใส่อุปกรณ์ที่มีไฟฟ้า ผ่านจนถึงขั้นเครื่องยนต์ดับเอาได้ง่ายๆ รถกระบะ ยกสูงนั้นสบายอยู่แล้ว แค่ขับมีมารยาท ไปเบาๆ ไม่ดันน้ำ ก็ถือว่าใช้ได้

3. ฝนตกน้ำท่วม อย่าเร่งเครื่อง

ไม่ควรเร่งรอบเครื่อง หรือใช้รอบสูง ระดับน้ำท่วมที่สูงอาจทำให้ผู้ขับขี่บางคนขี้กังวล หวาดระแวง กลัวดับกลางน้ำ และมักจะเร่งเครื่องยนต์ทันทีที่แล่นฝ่าน้ำ ซึ่งอาจเป็นเพราะกลัวเครื่องยนต์ดับท่ามกลางน้ำที่ท่วมสูง กลัวน้ำเข้าท่อระบายไอเสียทางด้านหลัง หรือต้องการไปให้พ้นจากเขตที่มีน้ำท่วมขังผิวการจราจรด้วยความรวดเร็ว แท้ที่จริงแล้วการเร่งเครื่องยิ่งทำให้เครื่องยนต์ต้องทำงานหนักขึ้น และตามมาด้วยความร้อนที่จะเพิ่มสูงขึ้นในห้องเครื่อง เมื่อเครื่องมีความร้อนสูง ใบพัดระบายความร้อน หรือพวกพัดลมไฟฟ้าก็จะทำงาน สิ่งที่จะตามมาเมื่อระดับน้ำมีความสูงมากถึง 20-30 เซนติเมตร มันจะโดนพัดลมหน้าเครื่อง หรือพัดลมไฟฟ้าปั่นกวักน้ำเข้าสู่ฝาสูบ จานจ่าย คอยล์จุดระเบิด มอเตอร์สตาร์ต ไดชาร์จ หม้อกรองอากาศ หนักจนถึงกับจอด

4. ปิดแอร์

ปิดระบบปรับอากาศภายในห้องโดยสารทั้งหมด แล้วเปิดกระจกทุกบาน การขับรถลุยน้ำท่วมขังแล้วเปิดเครื่องปรับอากาศ อาจทำให้เครื่องยนต์ดับจากสาเหตุของพัดลมไฟฟ้า ซึ่งจะทำงานทันทีที่เซนเซอร์คอมแอร์ทำงาน แล้ววิดเอาน้ำท่วมขังเข้ามาในห้องเครื่องยนต์ หากเครื่องไม่ดับ ใบพัดของพัดลมไฟฟ้าที่ยังคงหมุนทำงานด้วยรอบความเร็ว อาจฟันเข้าไปกับเศษขยะ กิ่งไม้ เศษแผ่นไม้ ถุงพลาสติกฯ ที่ลอยตามน้ำมา วัตถุเหล่านี้มีโอกาสที่จะเข้ามาในห้องเครื่อง แล้วโดนใบพัดตัดฟัน จนใบพัดซึ่งส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกหัก หากใบพัดในระบบระบายความร้อนแตกหักเสียหาย สิ่งที่ตามมาคือปัญหาในเรื่องความร้อนของเครื่องยนต์ ที่จะพุ่งสูงขึ้นทันทีจนไม่สามารถขับขี่ต่อไปได้

5. น้ำท่วมสูง แต่ต้องลุยฝ่าไป ควรเปิดกระจกเผื่อไว้นะคะ

กระจกที่เปิดออกทุกบาน อาจช่วยคุณในกรณีที่อาจมีมวลน้ำขนาดใหญ่ ไหลเข้ามาแบบกะทันหัน ในกรณีที่ขับเข้าไปยังพื้นที่ที่มีน้ำท่วมสูง และกระแสน้ำไหลเชี่ยว จนอาจพัดเอา รถยนต์ ตกข้างทาง หรือไหลไปกับกระแสน้ำ ซึ่งกรณีดังกล่าวเคยเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลาก เขื่อน หรือทำนบกั้นน้ำแตก แล้วน้ำปริมาณมหาศาลไหลตัดขวางถนน กระจกที่เปิดออกจะช่วยให้คุณสามารถหนีออกจากตัว รถยนต์ ได้ โดยไม่จมไปพร้อมกันกับพาหนะที่ขับขี่ หรือโดยสารมา

6. พกสเปรย์ไล่ความชื้น

หากจำเป็นต้องขับลุยน้ำในพื้นที่ทุรกันดาร พื้นที่ห่างไกล พกพาสเปรย์ไล่ความชื้น ไฟฉาย สายลากรถแบบผ้าใบที่แข็งแรง น้ำจืด โทรศัพท์มือถือ วิทยุติดต่อ ถุงกันน้ำ อาหารแห้ง เข็มทิศ ถังเชื้อเพลิงสำรอง นกหวีด ไฟแช็ก หรือเสื้อชูชีพ พลุสัญญาณ แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือสำรอง ร่ม เสื้อกันฝน รองเท้ายางกันน้ำแบบบูต หากต้องขับลุยฝ่าน้ำท่วมในพื้นที่ปิด เช่น พื้นที่ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม พื้นที่ป่าเขาที่กำลังเกิดสภาวะฝนตกหนัก

7. ท่อต่ำมีสิทธิดับ

ท่อไอเสียของเครื่องยนต์แบบดีเซลจมน้ำอาจไม่เป็นไร แต่ท่อไอเสียของเครื่องเบนซิน ท่อต้องพ้นน้ำอยู่เสมอ เนื่องจากแรงดันปลายท่อจะน้อยกว่าเครื่องยนต์ดีเซล เมื่อแรงดันที่ออกจากท่อระบายท้ายไม่พอ น้ำจะพุ่งสวนเข้าไปที่ปลายท่อไอเสีย การต่อหรือยกท่อไอดีด้านหน้า และท่อระบายไอเสียด้านหลัง สำหรับรถปิกอัพยกสูงที่ต้องวิ่งลุยน้ำท่วม ในระดับสูงเกิน 1 เมตรนั้น เป็นเรื่องปกติของนักเลงออฟโรด ที่ต้องขับฟันฝ่าน้ำท่วมสูงเป็นประจำ สำหรับ รถยนต์ บางคัน เฟืองท้ายจะมีรูระบายอากาศ ต้องต่อท่อยางให้พ้นน้ำ รถเก๋งทั่วไป หากระดับน้ำลึกมากเกิน 30 เซนติเมตร ไม่ควรลุยฝ่าเข้าไป

ที่มา : ไทยรัฐ