ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ประกันภัย ยื้อจ่ายสินไหม

ประชาชนแห่ร้องเรียนบริษัท ประกันภัย ตกลงค่าสินไหมไม่ได้ ไล่ไปฟ้อง คปภ.และศาล ทำเรื่องร้องเรียนพุ่ง

ประกันภัย ยื้อจ่ายสินไหม

พฤษภาคม
31

ข่าวจากฝ่ายระงับข้อพิพาทและอนุญาโตตุลาการ คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ในปีนี้เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนที่ไกล่เกลี่ยกันไม่ได้ และเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ค. ที่ผ่านมามีถึง 200 เรื่อง เท่ากับตัวเลขทั้งปีของปี 2558 ซึ่งอาจเป็นผลมาจากจำนวนผู้ทำ ประกันภัย มีมากขึ้น เข้าถึงประชาชนหลากหลายกลุ่ม และเศรษฐกิจไม่ดีจึงประวิงการจ่ายสินไหม

“แสดงให้เห็นว่าบริษัท ประกันภัย ไม่ได้ใส่ใจในการแก้ปัญหาให้กับประชาชนอย่างจริงจัง จากการคุยกับผู้ที่มาร้องเรียน ทราบว่าเขาไปบริษัท ประกันภัย มาแล้ว แต่ตกลงกันไม่ได้ ก็จะบอกลูกค้าว่าถ้าไม่พอใจให้ร้องเรียน คปภ. หรือไปฟ้องศาล เรื่องเลยมากองอยู่ที่ คปภ. กลายเป็นว่า คปภ.ไปทำหน้าที่บริการหลังการขายแทนบริษัท ประกันภัย ซึ่งไม่ถูกต้อง”

อย่างไรก็ตามภายในเดือน ก.ย.นี้ คปภ.จะออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทน ตามสัญญา ประกันภัย ของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559 ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2559 โดยจะมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วันนับจากวันประกาศ

ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ จะบังคับให้บริษัทประกันชีวิต และบริษัทประกันวินาศภัย ต้องเปิดเผยขั้นตอนและกระบวนการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน หรือค่าสินไหม ตามสัญญา ประกันภัย สำหรับการ ประกันภัย แต่ละประเภทในเว็บไซต์ของบริษัทให้ประชาชนทั่วไปทราบ และให้ระบุเอกสารหลักฐานทั้งหมดที่ลูกค้า ผู้รับประโยชน์ หรือผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ต้องใช้ในการเรียกร้องให้ชดใช้เงิน ช่องทางการติดต่อกับบริษัท รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการพิจารณา และชดใช้เงิน และต้องนำส่งให้ทาง คปภ.ด้วย หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และมีการปฏิเสธจ่ายสินไหมลูกค้า จะเข้าข่ายประวิงการจ่ายสินไหมทดแทน คปภ.สามารถปรับได้ทันที 5 แสนบาท/ราย จนกว่าจะแก้ไขให้เป็นไปตามกฎหมาย

ที่มา : โพสต์ทูเดย์