ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

คนไทยเกษียณแล้วจน ปฏิรูประบบบำนาญ

สังคมผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังตระหนัก ปฏิรูประบบบำนาญอย่างจริงจัง ส่งเสริมการออมอย่างเป็นรูปธรรม

คนไทยเกษียณแล้วจน ปฏิรูประบบบำนาญ

มกราคม
26

สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) กลายเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังตระหนัก ด้วยจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่คนวัยหนุ่มสาวมีจำนวนน้อยลง จากอัตราการเกิดที่ลดลง เพราะคนโสดเพิ่มขึ้น โดยโครงสร้างประชากรที่ไม่สมดุลเช่นนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเตรียมตัวรับมือวัยเกษียณ ด้วยการออมเพื่อให้มีเงินเพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ

คนไทยออมไม่พอ หลังเกษียณเป็นคนแก่ยากจน

“อีก 35 ปีข้างหน้า สัดส่วนของคนวัยชราที่จะต้องพึ่งพิงคนวัยหนุ่มสาว ของประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 53% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 15% และจำนวนผู้สูงอายุจะมากกว่าประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุเยอะๆ ในตอนนี้เสียอีก ดังนั้นต้องปฏิรูประบบบำนาญ เพื่อไม่ให้คนแก่ไม่ยากจน”

จากการวิจัยพบว่ามี 34 ประเทศในกลุ่มประเทศใน OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่ปฏิรูประบบบำนาญของตัวเอง เพื่อรองรับสังคมสูงอายุที่เกิดขึ้น และในจำนวนนี้ 16 ประเทศทำอย่างจริงจัง ซึ่งการปฏิรูปโมเดลของธนาคารโลก (เวิลด์แบงค์) จะประกอบไปด้วย 3 เสาหลักคือ
1. ประกันสังคม ที่จะช่วยในเรื่องของการเจ็บป่วยหลังเกษียณ
2. การออมจากการทำงาน เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชยจากการทำงานหลังเกษียณ และ
3. การออมส่วนบุคคล เช่น การฝากเงิน การซื้อ LTF RMF และ การประกันชีวิต จะช่วยเพิ่มรายได้หลังเกษียณให้มากขึ้น

“ตามโมเดล สัดส่วนการออมจาก 3 เสาหลักนี้ ประมาณ 70% ของรายได้เดือนสุดท้ายหลังเกษียณ จึงจะอยู่ได้อย่างดี แต่ของไทยยังอยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ โดยอยู่ในกลุ่ม 50 ประเทศที่ดัชนีความพอเพียงของรายได้หลังเกษียณต่ำ โดยเฉลี่ยอายุเกษียณแค่ 55 ปี ขณะที่ความยืนยาวของอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 75 ปี นั่นหมายถึงภาครัฐของไทย จะต้องหาเงินมาดูแลในช่วง 20 ปีหลังเกษียณ”

แนะปฏิรูประบบบำนาญ เพิ่มออมส่วนบุคคล / กอช. แค่จิ๊บจ๊อย

ทั้งนี้จากสถิติพบว่า ในปี 2554 คนที่รับเงินบำนาญจริงมีอยู่แค่ประมาณ 7.5% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ 81.4% รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และแค่ 11.4% มีบำนาญจากการออมของตัวเอง สะท้อนให้เห็นว่าบำนาญไม่เพียงพอต่อผู้เกษียณ

ทางแก้ไข คือ ปฏิรูประบบบำนาญอย่างจริงจัง เพิ่มอายุเกษียณให้ยาวขึ้น ซึ่งของไทยอายุเกษียณที่ 60 ปีควรให้ยาวขึ้น เพื่อลดช่องว่างอีก 15 ปีที่จะถึงเกณฑ์เฉลี่ยอายุยืนยาวของคนไทยที่ 75 ปี ซึ่งรัฐต้องหารายได้มาดูแลในช่วงนั้น ขณะเดียวกันก็ลดเงินอุดหนุนผู้สูงอายุ และมีมาตรการส่งเสริมการออมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การสะสมเงินในกองทุนต่างๆ รวมถึงการ ประกันชีวิต และสุขภาพ

นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนระบบเงินบำนาญ จากที่คิดว่าบำนาญที่จะได้รับหลังเกษียณ (DB) มาเป็นเงินบำนาญ ที่ควรสะสมเพื่อความเพียงพอต่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณ (DC) ซึ่งจะเห็นว่าหลายประเทศในแถบยุโรปได้เปลี่ยนระบบบำนาญมาเป็นแบบ DC บางประเทศสูงถึง 50% ของจีดีพี ขณะที่ไทยยังนำระบบบำนาญแบบ DC มาใช้ไม่ถึง 10% ของจีดีพี

“สำหรับประชากรรุ่นต่อๆ ไป เราควรจะเพิ่มแรงจูงใจทางการเงิน และให้ความรู้เกี่ยวกับทักษะทางการเงิน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไป มีการออมเงินในระบบกองทุนเพื่อการเกษียณให้เป็นนิสัย การทำเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มเสี่ยง ที่มีความอ่อนไหวทางการเงิน เช่น ผู้หญิง แรงงานนอกระบบ และผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง โดยสรุป ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ ควรจะหารายได้จากหลายๆ ทาง เพื่อที่จะได้รองรับค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายยามชรา นอกจากนั้น การมีผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดรายได้อย่างชาญฉลาด ก็เป็นอีกตัวช่วยในการสร้างรายได้หลังเกษียณ ที่ครอบคลุมและเพียงพอ รวมทั้งการวางแผนการรับเงินเลี้ยงชีพรายปี และการถอนเงิน จะช่วยลดความเสี่ยงของการใช้เงินเกินตัว”

ที่มา : สยามธุรกิจ