ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

ประกันภัย ยื่น คปภ.ทำ ประกันภัย ไซเบอร์

ประกันภัย ไซเบอร์ ดูแลเรื่องการเคลมค่าสินไหมทดแทนของระบบไอที จากภัยทางไซเบอร์ ทั้งการที่เจ้าของข้อมูลใช้งานได้ ปิดระบบให้ระบบเสียหาย

ประกันภัย ยื่น คปภ.ทำ ประกันภัย ไซเบอร์

มกราคม
4

คปภ.เผย บริษัท ประกันภัย ยื่นขอออก "ประกันภัยไซเบอร์" ลดเสี่ยงเสียหายจากภัยคุกคามกลางอากาศ ฟาก "เอ็ดต้า" ชี้ภัยร้ายทำเอาบางสถาบันการเงินสูญราว 1 แสนดอลลาร์ต่อชั่วโมง ค่าย "ทิพยประกันภัย" ตั้งทีมลุยธุรกิจ ประกันภัย ไซเบอร์ โบรกเกอร์ ประกันภัย ชี้บริษัทต่างชาติทำ ประกันภัย ไซเบอร์ครอบคลุมถึงธุรกิจในไทย เบี้ยรวมสูงเกิน 100 ล้านบาท

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ "เศรษฐกิจดิจิทัล" ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชน ต้องปรับระบบงานที่ต้องใช้เทคโนโลยี (IT) มากขึ้น ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงเรื่องการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack Insurance) จึงเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนจะต้องเตรียมตัวรับ ขณะที่การซื้อกรมธรรม์ ประกันภัย ไซเบอร์ ก็เป็นสินค้าอีกตัวที่สำคัญ และตอนนี้ คปภ.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณากรมธรรม์ ประกันภัย ไซเบอร์ของบริษัท ประกันภัย รายหนึ่ง

"ในต่างประเทศ ภัยทางไซเบอร์ มีทั้งการส่งมัลแวร์เข้ามาในระบบ เพื่อสร้างรหัสใหม่ขึ้นมา ไม่ให้เจ้าของข้อมูลใช้งานได้ และขู่ให้ส่งเงินเพื่อแลกกับรหัส จะได้กลับมาใช้งานข้อมูลตามปกติ หรือการส่งอีเมล์ขู่เข้ามา และมีการแสดงตัวอย่างการโจมตี เช่น ข่มขู่ว่าจะปิดระบบให้เกิดการขัดข้องในการทำงาน 1-2 ชั่วโมง และถ้าไม่มีการโอนเงินมา ก็จะทำให้ระบบเสียหาย ซึ่งบางสถาบันการเงินก็มีความเสียหายจากที่ถูกโจมตี สูงถึงชั่วโมงละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ"

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย กล่าวว่า ประกันภัย ไซเบอร์เป็นความเสี่ยงที่เริ่มมีคนตระหนักมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ที่ต้องดูแลข้อมูลของลูกค้าจำนวนมาก เช่น โรงแรม ธนาคาร เป็นต้น ทางบริษัทฯ จึงตั้งทีมงานขึ้นมาดูเรื่อง ประกันภัย ไซเบอร์โดยเฉพาะ รวมถึงการพูดคุยกับบริษัทรับ ประกันภัย ต่อในต่างประเทศ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้า โดยมุ่งเน้นใน 2 ทางคือ
1) คุ้มครองผลลัพธ์ที่เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ เช่น ก่อกวนให้การทำธุรกรรมติดขัด ทำให้ธุรกิจเสียหาย
2) คุ้มครองการโจมตีของแฮกเกอร์ ที่ขโมยข้อมูลเพื่อไปใช้งานต่อ

ด้านความเสี่ยงที่บริษัทรับ ประกันภัย ที่พิจารณาคือ ลูกค้าต้องมีระบบการบริหารระบบไอที และการเก็บข้อมูลที่ดี ในขณะที่ต้องดูความเสี่ยงในประเทศและธุรกิจ รวมถึงขอบเขตความคุ้มครองอย่างละเอียด เพราะส่งผลต่อการเคลมค่าสินไหมทดแทน ซึ่งใช้เวลามากในการพิสูจน์ความเสียหายทั้งหมด อย่างครอบคลุม บางเคสใช้เวลามากกว่า 1 เดือน

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ