ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประกันภัยทั่วไป

คปภ. เดินหน้าผลักดันกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลฉบับแรก

ไทยควรมีกฎหมายว่าด้วยการ ประกันภัย ทางทะเล เดิมเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการ ประกันภัย ทางทะเล จะนำพระราชบัญญัติของประเทศอังกฤษ มาใช้

คปภ. เดินหน้าผลักดันกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลฉบับแรก

ธันวาคม
22

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการพัฒนา ส่งเสริม และยกระดับมาตรฐานการ ประกันภัย ไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อศึกษาความจำเป็นในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการ ประกันภัย ทางทะเล พ.ศ. ... โดยมีเลขาธิการ คปภ. เป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลทั้งภายในและภายนอกองค์กรร่วมเป็นกรรมการ โดยที่ประชุมมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ถึงความจำเป็นที่ประเทศไทยควรมีกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลเป็นของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับสัญญา ประกันภัย ทางทะเล ซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งเสริมธุรกิจ ประกันภัย ทางทะเล ในการคุ้มครองผู้เอา ประกันภัย ทั้งภายในและนอกประเทศ

เนื่องจากกฎหมาย ประกันภัย ทางทะเลมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากการประกันวินาศภัยทั่วไป รวมทั้งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 868 บัญญัติว่า “อันสัญญา ประกันภัย ทางทะเล ท่านให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายทางทะเล” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ต้องการให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการ ประกันภัย ทางทะเลแยกต่างหากจากกฎหมาย ประกันภัย ทั่วไป

โดยหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการ ประกันภัย ทางทะเล เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งทางทะเล และการเดินเรือ มากกว่าหลักกฎหมาย ประกันภัย ทั่วไป ประกอบกับในปัจจุบันเมื่อมีกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับการ ประกันภัย ทางทะเล ศาลยุติธรรมไทยต้องอุดช่องว่างของกฎหมายตามมาตรา 4 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยนำพระราชบัญญัติการ ประกันภัย ทางทะเล ค.ศ.1906 ของประเทศอังกฤษ ในฐานะหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้ในการวินิจฉัยข้อพิพาท เกี่ยวกับสัญญา ประกันภัย ทางทะเลที่ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นจึงสมควรที่ประเทศไทยจะมีกฎหมายว่าด้วยการ ประกันภัย ทางทะเล ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากลเพื่อบังคับใช้เป็นการเฉพาะต่อไป

ที่มา : คปภ.