ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประชาสัมพันธ์-สื่อสารองค์กร

โทษของรถที่ไม่มี ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ.

ไม่ควรมั่นใจในการเอารถออกมาขับโดยไม่มี ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. ผิดกฏหมาย เกิดอุบัติเหตุ รับผิดชอบเองทั้งหมด

โทษของรถที่ไม่มี ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ.

สิงหาคม

13

เจ้าของรถต้องคำนึงอยู่ตลอดว่า ไม่ควรมั่นใจในการเอารถออกมาขับโดยไม่มี ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. เพราะท่านกำลังทำ ผิดกฏหมาย มีโทษปรับสูง และถ้าเกิดอุบัติเหตุ ท่านจะต้องรับผิดชอบเองทั้งหมด

การที่เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถ ละเลย ไม่ใส่ใจ ในการนำรถออกไปใช้งาน โดยที่ รถยนต์ คันนั้นไม่มี ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. เพราะอาจเกิดผลเสียเป็นมูลค่าสูงเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรืออาจไม่เกิดเหตุแต่ถูกเรียกตรวจ ไม่คุ้มกับเงินที่ใช้ในการจัดทำ พ.ร.บ. เพียงหลักร้อยถึงหลักพันกับ “ค่าปรับ” ที่ต้องเสียสูงสุดถึง 10,000 บาท

ประกันภัยภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. มีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ใช้รถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก ผู้ประสบภัยจะได้รับความคุ้มครอง ได้รับการเยียวยา หรือได้รับความช่วยเหลือ ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ เมื่อมีอุบัติเหตุจากรถ โดยชื่อของ ประกันภัย ดังกล่าว ระบุชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็น ประกันภัย “ภาคบังคับ” ดังนั้นรถทุกคันจึงถูกบังคับให้ต้องมี ประกันภัย พ.ร.บ.

พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดหน้าที่ ให้เจ้าของรถต้องจัดให้มีการทำ ประกันภัยภาคบังคับ ไว้ในกฎหมาย โดยบัญญัติว่า “เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย” ซึ่งหากเจ้าของรถผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่จัดให้มีการ ประกันภัย ดังกล่าว เจ้าของรถผู้นั้นมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

ส่วนของผู้ใช้รถเองกฎหมายก็ได้กำหนดไว้เช่นกันว่า “ห้ามมิให้ผู้ใด ใช้รถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสีย หาย” ซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เช่นเดียวกัน

เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ภาระที่เกิดขึ้นตามมา คือ “ค่าความเสียหาย” ซึ่งกฎหมายให้ความสำคัญกับการทำ ประกันภัยภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. ค่อนข้างมาก เพราะจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยบรรเทาความเสียหายเหล่านั้นได้ สำหรับ พ.ร.บ. นี้ ไม่ได้รับผิดชอบเพียงผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถเท่านั้น แต่ยังรับผิดชอบถึงคนในสังคมทุกคน ที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันได้อีกด้วย

และโทษอีกประการนอกเหนือจากโทษทางกฎหมาย คือ หากนำรถที่ไม่มี ประกันภัย พ.ร.บ.มาใช้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ประสบภัยจะเสียสิทธิไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

ดังนั้น เมื่อจะต้องนำรถมาใช้งาน ผู้ขับขี่จะต้องมีการตรวจดูกรมธรรม์ ประกันภัย พ.ร.บ.ของรถที่จะนำมาใช้ว่า ยังมีความคุ้มครองหรือไม่ เพื่อให้ตัวของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือบุคคลภายนอก มีหลักประกันตามกฎหมาย เพื่อให้ทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุทางถนน ได้รับการคุ้มครอง และไม่ผิดกฎหมายอีกด้วย

เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ที่ประสบภัยจากรถทุกคนจะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทันที ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก จะได้รับ “ค่าเสียหายเบื้องต้น” จาก บริษัทประกันภัย ที่รับ ประกันภัย รถคันที่เกิดเหตุ โดยจะชดใช้ให้ภายใน 7 วัน (โดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด) ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลตามการรักษาจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน หรือจ่ายเป็นค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทต่อคน หากเสียชีวิต

และหลังจากได้พิสูจน์ความรับผิดแล้ว จะจ่ายเป็น “ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด” (รวมค่าเสียหายเบื้องต้นด้วย) กรณีบาดเจ็บจ่ายตามการรักษาจริงสูงสุดไม่เกิน 80,000 กรณีเสียชีวิต 300,000 บาท สำหรับผู้ป่วยในจะได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน (ยกเว้นผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครองเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)

สำหรับประชาชนที่ไม่ทราบว่าจะไปใช้สิทธิ เบิกค่ารักษาพยาบาล หรือค่าสินไหมทดแทน ได้ที่ใด รวมทั้งไม่ทราบว่าจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ผู้ประสบภัยจากรถสามารถเข้าไปดูรายละเอียดข้อมูลการเบิก ประกันภัย พ.ร.บ. หรือคำถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. ได้ที่ www.rvp.co.th หรือสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด Call Center 1791 ตลอด 24 ชั่วโมง

เครดิต: สยามอินชัวร์ นิวส์

ที่มา : ทูเดย์อินชัวร์