ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประชาสัมพันธ์-สื่อสารองค์กร

ก้าวทันประกันภัย / รถยนต์ มีประกันภัย พ.ร.บ.ชนคนเดินถนน

รถยนต์ มี ประกันภัย พ.ร.บ. ชนคนเดินถนน ต้องรอให้ผู้เอา ประกันภัย แจ้งเคลมก่อนหรือไม่

ก้าวทันประกันภัย / รถยนต์ มีประกันภัย พ.ร.บ.ชนคนเดินถนน

กุมภาพันธ์
6

การตอบคำถามสำหรับเรื่องการ ประกันภัย เพื่อให้รู้ลึก รู้ทัน ด้วยการก้าวทัน ประกันภัย

คำถาม: ประสบอุบัติเหตุจากการโดยสาร รถจักรยานยนต์ พ่วงข้าง ถูก รถยนต์ ชน เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทั้งร่างกาย แขน-ขาหัก และกะโหลกศีรษะแตก สมองกระทบกระเทือนต้องทำการผ่าตัดหลายรอบ ต้องเสียงเงินค่ารักษา เข้าออกโรงพยาบาลบ่อยมาก

ทางผู้ที่ขับ รถยนต์ ที่ชนเป็นผู้หญิง ไม่เคยดูแลเลยแม้แต่นิดเดียว ไม่สนใจใยดี เขาบอกว่าตัวเขาเองไม่ผิด ไม่ยอมชดใช้ใดใด ทั้งที่ตำรวจบอกว่าคนขับ รถยนต์ เก๋งเป็นผู้กระทำผิด รถเขามีประกันภัย เขาบอกว่าเขาไม่ผิด เขาไม่ต้องแจ้ง ประกันภัย

พอให้ทนายความทำเรื่องฟ้อง ทางตำรวจถึงได้มีการสรุปสำนวนส่งฟ้องไปยังอัยการ ทางอัยการเรียกผู้เสียหายและคนขับ รถยนต์ เก๋งมาสอบถามความและไก่เกลี่ยคดีความ โดยขอให้คนขับรถเก๋งนำเงินมาช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้เสียหายบ้าง เพราะว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ท่านอัยการก็บอกว่ามีความผิดตามข้อกล่าวหาของตำรวจ แต่คนขับรถเก๋งก็ยังไม่ยอมรับ

คำถามที่อยากรู้คือ ทางฝ่าย รถยนต์ มีประกันภัย พ.ร.บ. และ ประกันภัยรถยนต์ ประเภทสาม (ได้รับค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.จาก รถจักรยานยนต์ พ่วงข้างมาแล้วจำนวนหนึ่ง) มีผู้แนะนำให้เราติดต่อทางบริษัท ประกันภัย ซึ่งเราเคยติดต่อไปทาง ประกันภัย ทาง ประกันภัย บอกว่ายังไม่สามารถรับผิดชอบได้ เพราะว่าทางเจ้าของรถ หรือผู้ขับขี่ยังไม่มาแจ้งเคลมเพื่อจะใช้สิทธิแต่อย่างใด ต้องรอให้คนขับไปแจ้งก่อน หรือและ ประกันภัย จะจ่ายได้เท่าไหร่? และกรณีนี้ ประกันภัย และเจ้าของ รถยนต์ ต้องรับผิดชอบต่อเราอย่างไร?

คำตอบ: สำหรับเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่ในกระบวนการและขั้นตอนทางกฎหมาย เรามาก้าวทัน ประกันภาย ในเรื่องนี้กัน หากเกิดปัญหาอย่างนี้จะทำอย่างไรดี คำถามคือ รถเก๋งมี ประกันภัย ทั้งการประกันภัย พ.ร.บ. การ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ หากเราใช้สิทธิ์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้เอา ประกันภัย ต้องแจ้งเหตุ หรือแจ้งเคลมก่อนหรือไม่? ประเด็นคำถามนี้ต้องแยกออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นการ ประกันภัย ตาม พ.ร.บ.และส่วนที่เป็นการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ (ประเภทสาม) โดยทั้งสองส่วนจะมีหลักเกณฑ์ต่างกัน ดังนี้

1. สำหรับการ ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งเป็นการ ประกันภัย ที่เจ้าของรถต้องทำตามที่กฎหมายกำหนด เป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ในมาตรา 20 กำหนดว่า “เมื่อผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย อันเนื่องจากการใช้รถ ให้บริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ประสบภัยจากรถ ภายใน 7 วัน…” เมื่อพิจารณาตามข้อกำหนดของกฎหมายก็จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนั้น กำหนดให้บริษัทที่รับ ประกันภัย ต้องชดใช้เมื่อผู้ประสบภัยร้องขอ ดังนั้นคำถามในส่วนนี้จึงเป็นคำตอบได้ว่า ไม่จำเป็นต้องให้ทางผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถ ต้องแจ้งเหตุหรือแจ้งเคลมต่อบริษัทก็ได้ เพียงแค่ผู้ประสบภัยได้ยื่นคำร้องเพื่อขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามคุ้มที่คุ้มครองแล้ว บริษัท ประกันภัย ก็สามารถจ่ายค่าเสียหายได้แล้ว… แต่ต้องมีเอกสารแสดงว่า ฝ่ายคนขับ รถเก๋ง เป็นฝ่ายผิดก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้น จึงแนะนำให้นำสำเนารายงานการสอบสวนจากทางตำรวจ และเอกสารความเห็นจากอัยการที่ระบุว่า คนขับ รถยนต์ เก๋งเป็นฝ่ายกระทำผิดโดยประมาท ไปแสดงกับบริษัท ประกันภัย พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลไปแสดง เพื่อขอรับการชดใช้ โดยสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. กรณีได้รับบาดเจ็บและต้องทุพพลภาพถาวรนั้น การ ประกันภัย ตาม พ.ร.บ.จะคุ้มครองในจำนวนวงเงิน 200,000 บาท และค่าชดเชยรายวัน สำหรับการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกจำนวนวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน ซึ่งผู้เสียหายรักษาตัวในโรงพยาบาลเกินกว่า 20 วัน รวมทั้งสิ้นจาก ประกันภัย พ.ร.บ.คือ 204,000 บาท แต่เนื่องจากได้รับการชดใช้สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท ประกันภัย ฝ่าย รถจักรยานยนต์ คันที่โดยสารมาแล้วจำนวน 50,000 บาท ทางฝ่ายบริษัท ประกันภัย พ.ร.บ. รถยนต์ เก๋งก็จะนำส่วนที่ได้รับการชดใช้ในเบื้องต้นนี้ ไปหักออกจากจำนวนเงิน 204,000 บาท สรุปจำนวนเงินที่จะได้รับจาก ประกันภัย พ.ร.บ. รถเก๋ง เป็นจำนวนเงิน 154,000 บาท

2. ส่วนการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ ซึ่งเป็นการ ประกันภัย ด้วยความสมัครใจ ไม่ได้มีสภาพบังคับเหมือนกับการ ประกันภัย พ.ร.บ.เป็นการ ประกันภัย ด้วยความสมัครใจ เงื่อนไขของกรมธรรม์ หรือสัญญา ประกันภัย จึงเป็นข้อกำหนดในการปฏิบัติตามสัญญา โดยในสัญญา ประกันภัย ภาคสมัครใจนั้น เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขบังคับหลัง โดยเงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา ประกันภัย กำหนดให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ หรือผู้เอา ประกันภัย ต้องแจ้งเหตุให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า เพื่อแสดงการใช้สิทธิ ส่วนเงื่อนไขบังคับหลังในที่นี้คือ บริษัท ประกันภัย เมื่อได้รับแจ้งเหตุ หรือการแจ้งเคลม (การแจ้งเคลม คือการแจ้งการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา หรือตามสิทธิที่มี) ดั้งนั้นจากคำถาม ที่ได้รับคำตอบจากบริษัท ประกันภัย อาจเป็นส่วนนี้ จึงต้องให้ทางผู้ขับขี่หรือผู้เอา ประกันภัย แจ้งเคลม (แจ้งการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา) ก่อน ซึ่งเรื่องนี้ในที่สุดก็ต้องมีการแจ้ง และเมื่อมีการแจ้งแล้ว บริษัทที่รับ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจไว้ ก็จะพิจารณาชดใช้ในส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ.ให้คุ้มครองแล้วอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับตัวสัญญาของกรมธรรม์นั้น ว่ามีการจำกัดวงเงินความคุ้มครองไว้เท่าไร ตามที่ผู้เอา ประกันภัย กับบริษัท ประกันภัย เขาตกลงกันเอาไว้ในสัญญา อย่างไรก็ตามถึงแม้มีการกำหนดเอาไว้ในกรมธรรม์ ว่าด้วยเงื่อนไขการบังคับก่อนว่าต้องมีการแจ้งเคลม ก็ไม่ใช่หมายความว่าบริษัท ประกันภัย จะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดสถานเดียวอย่างนี้เลยหรือไม่? บริษัท ประกันภัย ก็สามารถที่จะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ เมื่อรู้ว่า รถยนต์ คันที่เอา ประกันภัย เกิดเหตุแล้ว ไม่ว่าจะทราบมาจากที่ใดก็ตาม ก็สามารถทำได้ เพราะธุรกิจ ประกันภัย นั้นเป็นธุรกิจบริการ หากบริษัท ประกันภัย นั้นมีจรรยาบรรณที่ดี มีจิตวิญญาณของผู้ให้บริการที่ดีแล้ว เรื่องนี้ก็สามารถเข้าไปรับเรื่องดำเนินการ เพื่อชดใช้ค่าเสียหายได้ ไม่ต้องรอให้คนขับ รถเก๋ง คันที่ชนแจ้งเหตุ หรือแจ้งเคลมก่อนก็ได้ อยู่ที่จิตสำนึกของบริษัท ประกันภัย นั้น

และอีกคำถามหนึ่งที่ถามว่า นอกจากบริษัท ประกันภัย ทั้ง พ.ร.บ.และ ประกันภัย ประเภทสามแล้ว ผู้ขับขี่และเจ้าของรถ จะต้องรับผิดชอบอย่างไรอีกบ้าง หากคนขับรถเก๋งเป็นฝ่ายกระทำความผิดโดยประมาทแล้ว คนขับ รถเก๋ง จะได้รับโทษในสองลักษณะคือ โทษทางอาญา หมายถึงโทษจากการกระทำความผิดโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายถึงสาหัส มีความผิดจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับ 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีการช่วยเหลือบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นให้กับผู้ที่เสียหาย แล้วโทษจำคุกศาลท่านก็อาจมีการรอลงอาญา เพื่อให้โอกาสต่อผู้กระทำความผิดได้แก้ไขปรับปรุงตัว แต่หากไม่มีการช่วยเหลือ หรือชดใช้ใดๆ เลย ศาลท่านอาจสั่งจำคุกโดยไม่รอลงอาญาเลยก็ได้ และโทษในลักษณะที่สองที่ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดต้องรับคือ โทษทางแพ่ง ซึ่งหมายถึงบรรดาค่าเสียหายที่เกิดขึ้น จากการกระทำผิดที่ผู้กระทำความผิดต้องชดใช้ให้กับผู้เสียหาย ในส่วนนี้หากมีการได้รับชดใช้จากบริษัท ประกันภัย จำนวนหนึ่งแล้วแต่ยังไม่เพียงพอ ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด และเจ้าของรถในฐานะผู้ยินยอมให้ผู้ขับขี่นำ รถยนต์ ซึ่งเป็นทรัพย์ของตน ไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ก็ต้องร่วมรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น กระบวนการทางศาลจึงมีการดำเนินการอยู่สองส่วน คือ กระบวนการทางอาญา (พิพากษาความผิดเพื่อลงโทษ) และกระบวนการทางแพ่ง (พิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหาย) สำหรับเรื่องนี้อยู่ในสองกระบวนการ คือ ตำรวจส่งฟ้องในคดีอาญา และทนายความยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง แล้วรอผลคำพิพากษาของศาลต่อไป

เน้นย้ำอีกครั้งว่า การได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากบริษัท ประกันภัย ไม่ตัดสิทธิ์ทางแพ่ง ถึงเราจะได้รับการชดใช้จากบริษัท ประกันภัย แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอต่อความเสียหายที่ได้รับ เรายังสามารถฟ้องร้องในทางแพ่งเอาจากการกระทำผิดโดยตรงได้อยู่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราว่า เราได้รับการชดใช้เป็นที่พึงพอใจหรือยังจากบริษัท ประกันภัย หากบริษัท ประกันภัย มีการคุ้มครองไว้สูง และชดใช้ให้เป็นที่พึงพอใจแล้ว ก็ไม่ต้องมีการไปฟ้องต่อศาลให้เสียเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีต่างๆ อีก หากเรามีความเข้าใจในระบบ ประกันภัย อย่างดีพอ การ ประกันภัย ก็สามารถช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้

ที่มา : เส้นทางนักขาย