ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประชาสัมพันธ์-สื่อสารองค์กร

Complain ร้องทุกข์ : ประกันภัยรถยนต์ ระบุชื่อผู้ขับขี่

ประกันภัยรถยนต์ ประเภทระบุผู้ขับขี้ เกิดเหตุ แล้วผู้ขับขี่ไม่มีชื่อที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์ จะมีผลกระทบต่อการซ่อมรถเรา

Complain ร้องทุกข์ : ประกันภัยรถยนต์ ระบุชื่อผู้ขับขี่

ธันวาคม
28

การที่เรานำ รถยนต์ ที่ทำ ประกันภัยรถยนต์ ประเภทระบุผู้ขับขี้ไปใช้แล้วเกิดอุบัติเหตุ แล้วผู้ขับขี่ตอนเกิดเหตุ ไม่มีชื่อที่ระบุอยู่ในกรมธรรม์ เหตุการณนี้จะมีผลกระทบต่อการซ่อมรถของเราหรือไม่

คำถาม: เหตุการณ์นำ รถยนต์ ของญาติออกไปใช้ และถูก รถยนต์ คันอื่นชนเข้า และคู่กรณียอมรับผิด แต่เรื่องไม่ได้จบลงสวยงาม เพราะพนักงานเคลมของบริษัท ประกันภัย แจ้งว่า ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 6,000 บาท เพราะ รถยนต์ คันที่ขับขี่นั้นเป็นกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ และที่สำคัญตนเองมิได้เป็นฝ่ายผิด รถยนต์ ถูกชนแล้ว ถูกเรียกเก็บจากบริษัท ประกันภัย อีก 6,000 บาท มันยุติธรรมหรือไม่?

คำตอบ: งานนี้พนักงานเคลมมีเล่ห์เหลี่ยม ไม่ต้องเปิดตำรากฎหมาย หรือเปิดเงื่อนไขของกรมธรรม์ตีความ เอาแค่มโนของความถูกต้อง รถยนต์ เสียหายจากการถูก รถยนต์ คันอื่นชน แล้วต้องมาจ่ายเงินให้กับบริษัท ประกันภัย อีก มันไม่มีทางเป็นไปได้อยู่แล้ว

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ประกันภัยรถยนต์ ประเภท 1 ระบุชื่อผู้ขับขี่ เป็นทางเลือกใหม่เพื่อให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น สามารถซื้อเบี้ย ประกันภัย ได้ในราคาที่ถูกลง สอดรับกับความเป็นจริงในเรื่องของความเสี่ยง

ดังเช่น กลุ่มสูงอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงน้อย ขับรถอย่างปลอดภัยระมัดระวัง กฎหมายลดเบี้ยให้ 20% อายุลดลงมาระดับ 36-50 ปี เป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบเต็มตัว รับส่วนลดไปเลย 15% อายุ 25-35 ปี ยังห้าวอยู่ ลดไป 10% และห้าวจัดในช่วงอายุ 18-24 ปี กลุ่มนี้เสี่ยงสูงลดให้แค่ 5%

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม กฎหมายระบุว่า “ในกรณีเป็นความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกจำนวน 2,000 บาท และต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 6,000 บาทของความเสียหาย รถยนต์ ที่เกิดจากการชน การคว่ำ แต่หากความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก และรู้ตัวผู้ต้องรับผิดตามกฎหมาย ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก เพราะบริษัทมีสิทธิไปเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกได้”

ดังนั้นประเด็นที่ถามจึงมีคำตอบอยู่ในตัว ไม่ต้องตีความ...เป็นฝ่ายถูก แม้ผู้ขับขี่ ไม่ได้ถูกระบุชื่อในกรมธรรม์ ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก


*** เพิ่มเติม ***
ค่าเสียหายส่วนแรก (Excess และ Deductible)

สำหรับความหมายโดยรวมของ “ค่าเสียหายส่วนแรก” คือ ค่าความเสียหายส่วนแรก แปลง่ายๆ คือ ค่าสินไหมทดแทนส่วนแรกที่ผู้เอา ประกันภัย รับภาระเอง โดยจะระบุไว้เป็นข้อตกลงในกรมธรรม์ นั่นเอง

ที่มาของกฎนี้ คือ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ต้องการให้เราไม่ประมาท และให้เราเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่รถให้ปลอดภัย ไม่เกิดค่านิยมคอยโยนภาระของตนเองให้คนอื่นๆ (บริษัท ประกันภัย ) หรือไม่ตระหนักป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนอื่น (เพราะคิดว่าไม่ต้องทำอะไร ประกันภัย จะทำให้หมด ซึ่งเป็นค่านิยมและความเข้าใจที่ผิด)

ดังนั้น ค่าเสียหายส่วนแรก ทั้ง Excess และ Deductible นั้น จะมีขึ้น (ต้องเสียตังค์) ก็ต่อเมื่อ การเกิดเหตุความเสียหาย (เพราะขับรถที่เราทำ ประกันภัย ไว้) และเราหรือผู้ขับขี่รถ (ที่ทำ ประกันภัย ) เป็นฝ่ายต้องรับผิดในเหตุการณ์นั้นๆ หรือทำผิดจากสัญญาในกรมธรรม์เท่านั้น แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. Excess (เอ็กเซส) ความเสียหายส่วนแรกในกรณีทำผิดสัญญา คือ ผู้เอา ประกันภัย เป็นฝ่ายผิด และยังละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์อีก พิกัดอัตราจึงเป็นไปตามที่ คปภ.กำหนดไว้ (ในที่นี้ยกตัวอย่าง ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1) ได้แก่

1) กรมธรรม์แบบระบุชื่อคนขับ (เบี้ย ประกันภัย จะถูกว่าไม่ระบุชื่อคนขับ) แต่เราอนุญาตให้คนอื่นขับขี่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิด เราจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายแต่ละครั้ง ดังนี้
ก. 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)
ข. 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัว รถยนต์ ของเรา (ที่เกิดการชน / คว่ำ)

2) ใช้รถผิดจากประเภทจากที่ระบุในกรมธรรม์ เช่น กรมธรรม์ระบุการใช้ รถยนต์ ว่า “ใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช่รับจ้างหรือให้เช่า” แต่เราเอาไปหาลำไพ่ รับจ้างส่งของ เอาไปให้เช่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วคนที่ขับเป็นฝ่ายผิด เราต้องรับผิดชอบเอง 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)

2. Deductible สำหรับ Deductible จะแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1: ความเสียหายที่ไม่เกิดจากการชน หรือคว่ำ หรือชนแต่หาคู่กรณีไม่ได้ หรือเราไม่ได้ขับรถชนเอง แต่เราไม่สามารถระบุเหตุความเสียหายที่ชัดเจน พอที่จะให้บริษัท ประกันภัย ไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ เราจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อตัว รถยนต์ ของเรา เช่น

1. ถูกมุ่งร้าย กลั่นแกล้ง แล้วหาคู่กรณีไม่ได้ เช่น รถถูกขีดข่วน
2. เสียหายส่วนพื้นผิวสีรถ (ตัวรถและอุปกรณ์ในรถไม่เสียหาย) เช่น หินกระเด็นใส่ เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม ขับรถตกหลุม / ครูดพื้นถนน เหยียบตะปู หรือของมีคม หรืออะไรที่ทำให้ยางฉีก ละอองสีปลิวมาโดน / วัสดุหล่นมาโดน
3. ระบุสาเหตุที่ทำให้รถเสียหายไม่ได้ รวมถึงระบุวัน เวลา สถานที่ เมื่อรถเกิดความสียหายที่ชัดเจนไม่ได้ เช่น กระจกรถแตก ถูกสัตว์กัดแทะ หรือขีดข่วนถูกวัสดุในตัวรถกระแทก
4. ไถลตกข้างทางแต่ยังไม่พลิกคว่ำ
5. ชนกับพาหนะอื่น แต่แจ้งรายละเอียดคู่กรณีไม่ได้

พูดง่ายๆ คือ ถ้าไม่ต้องการจ่าย ต้องสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นการชน หรือ ระบุเหตุความเสียที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัท ประกันภัย ไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ เช่น

1. ชนกับพาหนะอื่น และแจ้งรายละเอียดคู่กรณีให้ได้ (ติดกล้องวงจรปิดสำหรับ รถยนต์)
2. ชนกับที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
   - เสา / ประตู / เสาไฟฟ้า / กำแพง / ป้ายจราจร
   - ทรัพย์สินอื่นที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
3. ชนต้นไม้ยืนต้น / ฟุตบาธ / ราวสะพาน
4. ชนกองดิน หรือชนหน้าผา
5. ชนคน / สัตว์
6. รถพลิกคว่ำ

กรณีที่ 2: ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ โดยเป็นการตกลงกัน ระหว่างบริษัท ประกันภัย กับผู้เอา ประกันภัย โดยบริษัทจะยินยอมลดเบี้ย ประกันภัย ลงเท่ากับ ค่าเสียหายส่วนแรก ที่เราสมัครใจจ่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ครั้ง (นอกเหนือกรณีการจ่ายค่า Excess หรือ deductible ในกรณีที่ 1) โดยเราสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของรถเราเอง (ที่ทำ ประกันภัย ซึ่งก็ต้องเป็นกรณีของการชน) หรือคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์สินอื่นๆ ของคู่กรณีที่เกิดความเสียหาย)

ที่มา : สยามอินชัวร์ นิวส์