ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

ข่าวประชาสัมพันธ์-สื่อสารองค์กร

ก้าวทันประกันภัย / พ.ร.บ. เพิ่มความคุ้มครอง กรณีเสียชีวิต

รัฐพิจารณาปรับปรุง การจ่ายค่าสินไหมของบริษัท ประกันภัย กรณีบาดเจ็บ เสียชีวิต/อวัยวะ ทุพพลภาพถาวร

ก้าวทันประกันภัย / พ.ร.บ. เพิ่มความคุ้มครอง กรณีเสียชีวิต

ธันวาคม
24

ก้าวทัน ประกันภัย ก้าวไปอย่างมั่นคง ก้าวไปอย่างมั่นใจ กับการสร้างหลักประกันเพื่อความมั่นคงของตนเองและครอบครัว ตลอดจนเพื่อความมั่นคงทางสังคมร่วมกัน ก้าวทัน ประกันภัย หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน

คำถาม: ภาครัฐมีการปรับเพิ่มความคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ กรณีเสียชีวิตหรือ ทุพพลภาพถาวร จาก 200,000 บาท เป็น 300,000 บาท จะมีผลเมื่อไหร่ และนอกเหนือจากกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพแล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกหรือไม่

คำตอบ: การนำเสนอจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับประชาชน กล่าวคือ การ ประกันภัย พ.ร.บ.นั้น เป็นการ ประกันภัย ในรูปแบบพิเศษ ที่มีเจตนาสร้างหลักประกันให้กับ เจ้าของ ผู้ใช้รถใช้ถนน กำหนดให้เจ้าของรถต้องทำ ประกันภัย โดยจ่ายค่าเบี้ย ประกันภัย ตามกฎหมายกำหนด และกำหนดให้บริษัท ประกันภัย ต้อง รับประกันภัยรถ โดยให้การคุ้มครองตามอัตราที่ภาครัฐกำหนด โดยใช้หลักการ No Loss - No Profit กล่าวคือ การ ประกันภัย ประเภทนี้ จะต้องไม่มีกำไรและต้องไม่ขาดทุน ดังนั้นโดยระบบแล้ว เมื่อธุรกิจ ประกันภัย มีกำไรจากการดำเนินงาน รัฐก็ต้องพิจารณาปรับปรุง ซึ่งมีกรอบเวลาในการพิจารณาให้ทุกรอบสามปี ซึ่งถือว่าครบกำหนดตามกรอบเวลาพอดี ทางภาครัฐจึงได้มีการนำข้อมูลการรับ ประกันภัย และการจ่ายค่าสินไหมของบริษัท ประกันภัย มาพิจารณาทบทวน ซึ่งผลในภาพรวมนั้น พบผลการดำเนินงานของธุรกิจ ประกันภัย นั้นยังพอมีกำไรอยู่ รัฐจึงต้องพิจารณาในสามแนวทาง คือ 1.ลดอัตราเบี้ย ประกันภัย ลง หรือ 2.เพิ่มจำนวนเงินความคุ้มครองขึ้น 3.ทำทั้งข้อหนึ่งและข้อสอง คือลดอัตราเบี้ย ประกันภัย ลง และเพิ่มความคุ้มครองให้อยู่ในจุด No Loss - No Profit

ซึ่งผลสรุปที่ภาครัฐออกมานั้น เป็นแนวทางที่สอง คือ การปรับเพิ่มวงเงินความคุ้มครอง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ตามคำสั่งนายทะเบียน ที่ 15/2559 เรื่อง ”ให้ใช้แบบ ข้อความกรมธรรม์ ประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และ กรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ รวมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ”ฉบับลงวันที่ 11 มีนาคม 2559 โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้กับทุกกรมธรรม์ พ.ร.บ. ที่ยังมีผลความความคุ้มครองอยู่ และเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 เวลา 00.01 น.เป็นต้นไป จะได้รับความคุ้มครองใหม่ที่มีการปรับเพิ่มขึ้น ตามคำสั่งนี้ ดังนั้นตอบคำถามว่า เจ้าของรถที่ยังมีกรมธรรม์คุ้มครองอยู่ (ยังไม่หมดอายุความคุ้มครอง) เพียงแต่ทราบว่า หาก รถยนต์ ของท่านเกิดอุบัติเหตุชนคนได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 แล้ว ผู้เสียหายจะได้รับความคุ้มครองตามอัตราใหม่นี้ทันที แต่หากเกิดก่อนวันที่ 1 เมษายน 2559 ก็จะยังคงได้รับความคุ้มครองในอัตราเดิม ก่อนคำสั่งนี้มีผลบังคับนั่นเอง โดยทุกกรมธรรม์ที่ยังมีผลความคุ้มครองอยู่ จะถูกปรับความคุ้มครองไปโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปซื้อกรมธรรม์ใหม่แต่อย่างใด เว้นแต่กรมธรรม์ของท่านหมดอายุแล้วก็ต้องต่ออายุต่อไป เพราะ รถยนต์ ของท่านต้องทำ พ.ร.บ. หากหมดอายุแล้วไม่ต่อถือว่าเป็นรถที่ไม่มี ประกันภัย นอกจากจะ มีความผิดถูกปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นท่านต้อนรับผิดชอบเองทุกประการ

จากคำสั่งในทะเบียนดังกล่าว เป็นเรื่องของการใช้แบบและเงื่อนไข ซึ่งคำสั่งนี้จะมีอยู่สองส่วนคือ ส่วนแรก เป็นส่วนของกรมธรรม์ ประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และส่วนที่สองเป็นส่วนของกรมธรรม์ ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ แบบรวมความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โดยสรุปคือ คำสั่งนี้มีการปรับเพิ่มความคุ้มครองเฉพาะ กรมธรรม์ ประกันภัย ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเท่านั้น ลองมาดูว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีอะไรบ้าง

สรุปสาระสำคัญที่มีการปรับเปลี่ยน เพิ่มความคุ้มครองตาม กรมธรรม์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) มีดังนี้

ค่าสินไหมทดแทน (กรณีรถคันที่ทำ ประกันภัย เป็นฝ่ายต้องรับผิด บริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายสูงสุด รวมค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว) ในแต่ละกรณีดังนี้

1. กรณีบาดเจ็บแก่ ร่างกาย-อนามัย
- ตามเสียหายความจริง ไม่เกิน 80,000 บาท ต่อคน

2. กรณีเสียชีวิต/สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร
- สูญเสีย นิ้วมือ-นิ้วเท้า ตั้งแต่ข้อนิ้วขึ้นไป จำนวน 200,000 บาทต่อคน
- สูญเสีย ดวงตา-มือ-แขน-ขา-เท้า (1 ข้าง) หรืออวัยวะอื่นใด จำนวน 250,000 บาทต่อคน
- สูญเสีย ดวงตา-มือ-แขน-ขา-เท้า (ทั้ง 2 ข้าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งรวมกันเท่ากับ 2 ข้าง) จำนวน 300,000 บาทต่อคน
- ทุพพลภาพถาวร จำนวน 300,000 บาทต่อคน
- เสียชีวิต จำนวน 300,000 บาทต่อคน

3. กรณีมีการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (IPD Case)
- เงินชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท รวมแล้วไม่เกิน 20 วัน ไม่เกิน 4,000 บาท

การได้รับการชดใช้ตามแต่ละกรณีดังกล่าวนี้ ผู้ประสบภัยที่เป็นผู้ถูกกระทำเท่านั้นที่จะได้รับการคุ้มครองตามที่กำหนดนี้ และเมื่อรวมกันแล้วบริษัท ประกันภัย จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนสูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท โดยจะเริ่มความคุ้มครองตั้งแต่ จำนวนความเสียหายจริงแต่ไม่เกิน 80,000 บาท โดยมีใบเสร็จค่ารักษาเท่าไหร่เบิกได้เท่านั้น และหากมีการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็จะเบิกได้ต่างหากจากค่ารักษาตามจำนวนวันที่นอน อีกวันละ 200 บาท สูงสุดสำหรับค่ารักษาพยาบาล จึงเป็น 84,000 บาท และหากต่อมาการรักษานั้น ต้องมีการตัดอวัยวะออกสองข้าง เช่น แขนสองข้าง หรือ แขนหนึ่งข้าง ขาข้างหนึ่ง รวมเป็นสองข้าง ซึ่งตามคำสั่งนั้นจะได้รับความคุ้มครองจำนวน 300,000 บาท อย่างนี้ก็จะต้องนำค่ารักษามาหักออกจากจำนวน 300,000 - 80,000 = 220,000 บาท ส่วนเงินชดเชยรายวันนั้น ไม่สามารถนำมาหักออกจากจำนวนนี้ เพราะเป็นคนละส่วนกัน ดังนั้นความคุ้มครองสูงสุดที่จะได้รับตามอัตราใหม่นี้ จึงขึ้นอยู่กับความเสียหายของผู้ประสบภัยจากรถนั้นว่า ได้รับความเสียหายในส่วนใด จึงมีอัตราสูงสุดในแต่ละระดับความเสียหายคือ สูญเสียนิ้ว สูงสุดไม่เกิน 204,000 บาท/สูญเสียอวัยวะข้างเดียว สูงสุดไม่เกิน 254,000 บาท/สูญเสียอวัยวะ 2 ข้าง สูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท/เสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร สูงสุดไม่เกิน 304,000 บาท ดังนั้นวงเงินสูงความคุ้มครองสูงสุด จึงขึ้นอยู่กับกรณีของการสูญเสียของผู้ประสบภัยจากรถนั้นนั่นเอง

สำหรับ ค่าเสียหายเบื้องต้น (กรณีไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน) นั้นยังคงเท่าเดิม เนื่องจากเพิ่งมีการปรับเปลี่ยนเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา โดยกฎกระทรวงกำหนดไว้ดังนี้

1. กรณีบาดเจ็บ
- ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท

2. กรณีเสียชีวิต/สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร
- ค่าเสียหาย-ค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาท

* ทั้งนี้หากเสียหายทั้งสองกรณี 1 + 2 รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท หมายเหตุ 1.ผู้ขับขี่รถที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับการชดใช้เพียง ค่าเสียหายเบื้องต้น เท่านั้น (ไม่เกิน 65,000 บาท)

การชดใช้ตามความเสียหายจริง รวมแล้วไม่เกิน 204,000 หรือ 254,000 หรือ 304,000 บาทแล้วแต่กรณี โดยสรุปจากคำถามคือ นอกเหนือจากการปรับเพิ่มความคุ้มครองสำหรับค่าเสียหายต่อชีวิต หรือทุพพลภาพถาวรจาก 200,000 บาท เป็น 300,000 บาทแล้ว ยังมีการปรับระดับความเสียหาย กรณีสูญเสียอวัยวะ เช่น การสูญเสียนิ้วเกินหนึ่งข้อ ยังคงได้รับเช่นเดิม คือ 200,000 บาท แต่หากสูญเสียอวัยวะ (ถูกตัดขาดไปเลย หรือสูญเสียอย่างสิ้นเชิงถาวร) เช่น มือขาดถึงข้อมือ เท้าขาดถึงข้อเท้า แขนขาด ขาขาด หูขาด ตาบอด ถูกตัด ตับ ม้าม ไต ข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะได้รับความคุ้มครอง 250,000 บาท แต่ถ้าหากสูญเสียอวัยวะตั้งแต่สองข้างขึ้นไป เช่น ขาขาดข้างหนึ่ง-ตาบอดข้างหนึ่ง หรือ ขาขาดข้างหนึ่ง-มือขาดข้างหนึ่ง อย่างนี้ จะได้รับการคุ้มครอง 300,000 บาท เท่ากับการทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิง หรือเสียชีวิต ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าความเสียหายสูงสุดอยู่ที่ใด ก็ได้รับเงินจำนวนสูงสุดนั้นเท่านั้น และยังให้รวมถึงค่าเสียหายเบื้องต้นเอาไว้ในจำนวนความเสียหายนั้นไว้แล้ว

ตัวอย่างเช่น นาย A ขับขี่ รถจักรยานยนต์ ไปชน นาย B ซึ่งเป็นคนเดินถนนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ถึง 30 วัน มีค่ารักษาพยาบาลจำนวน 100,000 บาท เบื้องต้นหากยังไม่มีการสรุปผลว่าเป็นความประมาทของใคร บริษัทที่รับ ประกันภัย รถของนาย A ก็จะทำการจ่าย ค่าเสียหายเบื้องต้น ให้กับนาย B เนื่องจากเป็นผู้เดินถนนให้ก่อนจำนวน 30,000 บาท ต่อมาทางตำรวจสรุปแล้วว่า สาเหตุของการเฉี่ยวชนครั้งนี้เป็นความประมาทของนาย A ...และต่อมานาย B ได้เสียชีวิตลงเนื่องจากอาการเลือดออกในสมอง กรณีเช่นนี้บริษัท ประกันภัย ที่รับ ประกันภัย รถของนาย A ไว้ ก็จะต้องทำการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับทายาทของนาย B เนื่องจากเสียชีวิต จำนวน 300,000 บาท ตามอัตราความคุ้มครองใหม่ และเงินชดเชยรายวัน กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกวันละ 200 บาท จำนวน 20 วัน (4,000 บาท) แต่เนื่องจากบริษัท ประกันภัย ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปแล้ว 30,000 บาท จึงต้องนำ จำนวน 30,000 บาทนี่ มาหักออกจาก จำนวน 300,000 บาท สรุปแล้วบริษัท ประกันภัย ก็จะทำการจ่ายให้จำนวน 274,000 บาท (300,000 - 30,000 = 270,000 + 4,000 บาท จึงเท่ากับ 274,000 บาท) สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลรักษา นาย B นั้น ทางทายาท นาย B ก็ยังคงเรียกร้องให้นาย A เป็นผู้ชดใช้เพิ่มเติมให้แก่ นาย B รวมทั้งบรรดาค่าเสียหายใดๆ ในทางแพ่งได้อีก (การได้รับการชดเชยจากบริษัท ประกันภัย ไม่ได้ตัดสิทธิ์ในการเรียกร้องในทางแพ่ง ผู้กระทำผิดยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นอยู่) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงความคุ้มครองในครั้งนี้ สิ่งที่เห็นคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่จ่ายอัตราเบี้ย ประกันภัย เท่าเดิม การ ประกันภัย เป็นหลักประกันเพื่อความมั่นคงของสังคม เป็นหลักประกันเพื่อการคุ้มครองในอนาคต และการ ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ หรือการ ประกันภัยรถตาม พ.ร.บ.นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีหน้าที่ต้องทำ ประกันภัย ประโยชน์ที่ได้รับนั้นไม่เพียงแค่มีหลักประกัน แต่ยังคงเป็นเรื่องของความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันด้วย

ที่มา : เส้นทางนักขาย (ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 16-31 ธันวาคม 2559)