ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ปรับเพิ่มเงินกองทุน ประกันภัย ภาคเอกชนไม่แอะ

ดูเหมือนเงินกองทุนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดต่ำมาก ไม่สอดคล้องความสามารถในการรองรับความเสี่ยง บริษัทประกันภัยต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 30 ล้านบาท

ปรับเพิ่มเงินกองทุน ประกันภัย ภาคเอกชนไม่แอะ

ธันวาคม
31

การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ ทำให้ภาคธุรกิจ ประกันภัย ไทยต้องเตรียมความพร้อม โดยสมาคมประกันวินาศภัยไทยได้ว่าจ้างบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย ที่ปรึกษาธุรกิจ จำกัด ศึกษาวิจัย "ผลกระทบจากการเปิดเสรีตลาดอาเซียนที่มีต่อธุรกิจประกันวินาศภัยไทย" ซึ่งส่วนหนึ่งของการศึกษาของเคพีเอ็มจี พบว่า ประกันวินาศภัยไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน แต่จำเป็นต้องเสริมความแข็งแกร่ง ให้อยู่ในระดับเดียวกันกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย เพราะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง ดังนั้น เงินกองทุน (Capital) จึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ปัจจุบันภาครัฐจะนำเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (RBC-Risk Base Capital) มากำกับดูแลธุรกิจ ประกันภัย แต่ดูเหมือนว่าเงินกองทุนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดต่ำมาก ไม่สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับความเสี่ยง โดยบริษัทประกันวินาศภัยต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 30 ล้านบาท บริษัทประกันชีวิต 50 ล้านบาท

แนะเพิ่มเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำ / เสริมความแกร่ง สกัด บ.แตกแถว

นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทยให้ความเห็นว่า บริษัท ประกันภัย ที่มีปัญหาในช่วงหนึ่ง ต้องยอมรับว่าเหตุที่ตรวจสอบได้ยาก เป็นเพราะการกำหนดเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำไว้ต่ำมาก เมื่อตอนที่ผู้ถือหุ้นใหม่เข้าไปเทกโอเวอร์บริษัทเหล่านี้ เมื่อวัดจาก RBC ก็ยังเพียงพอ เพราะยังไม่ได้รับงาน แต่เมื่อรับงานก็เริ่มมีปัญหาเงินกองทุนฯ ไม่พอ กว่าจะตรวจเจอก็ผ่านไปเป็นปี

"นั่นเป็นเหตุผลที่ว่า แม้จะมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) แล้ว ทำไมยังมีบริษัทเงินกองทุนฯ ขาด"

เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า สิ่งที่ คปภ.จะนำมาเสริมสร้างความแข็งแกร่งของบริษัท ประกันภัย คือ

  1. เกณฑ์ RBC
  2. งบการเงิน
  3. การทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test) ของบริษัท ประกันภัย
  4. เงินกองทุนฯ ขั้นต่ำ ซึ่งยอมรับว่ากฎหมายกำหนดไว้ต่ำมาก

"คงจะเข้าไปดูเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำ และต้องมาหารือกันว่าจะเพิ่มอย่างไร จะเพิ่มเป็นขั้นบันได จะเริ่มปลายปีนี้ หรืออย่างไรก็ต้องมาหารือกัน และจะต้องให้เวลาบริษัท ประกันภัย ในการปรับตัวด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงการกำหนดเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำนั้น เป็นการกำหนดไว้ก่อนไม่มี RBC แต่พอมี RBC สิ่งที่เราดูคือ ความพอเพียงของเงินกองทุน (CAR Ratio)"

เอกชนขานรับถึงเวลาเพิ่ม / จับตาค่ายเล็กขาย ผันเป็นโบรกเกอร์

ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสินไหม บมจ.แอลเอ็มจีประกันภัย ในฐานะประธานคณะกรรมการ ประกันภัย ยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า เรื่องเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำส่วนใหญ่เกินอยู่แล้ว แต่ยอมรับ 30 ล้านบาทที่กำหนดไว้ตามกฎหมายต่ำเกินไป

"ถามว่าจะเพิ่มเท่าไหร่ต้องไปดูข้อมูลประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนประกอบ เพราะต้องเปิดเสรี แต่ตอนนี้เราต่ำกว่า ถึงเวลาที่เราจะต้องปรับขึ้น แต่ตอนนี้การปรับบริษัทไซส์เล็กจะมีปัญหา ผู้ถือหุ้นเขาก็ต้องมองเพิ่มแล้วจะคุ้มหรือไม่ ถ้ามองไม่คุ้มก็อาจทำให้เกิดควบรวมกิจการ หรือไม่ก็ขายกิจการ แต่เท่าที่มองน่าจะขายมากกว่า หรือไม่ก็แปรสภาพไปเป็นโบรกเกอร์ไปเลย เพราะไม่ต้องรับความเสี่ยง ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินกองทุนฯ"

เช่นเดียวกับความเห็นของกรรมการผู้อำนวยการ บมจ. ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ในฐานะประธานสภาธุรกิจ ประกันภัย ไทย กล่าวว่า การเพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำจะทำให้ธุรกิจควบรวมกิจการมากขึ้น เพราะอาจกลายเป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับเจ้าของกิจการ หรือผู้ถือหุ้น ซึ่งพอมีภาระการเพิ่มทุน ก็จะทำให้ธุรกิจไม่น่าจูงใจอีกต่อไป

อีกด้านแนะเลิกขั้นต่ำ / เชื่อ RBC คุมเบ็ดเสร็จ

อย่างไรก็ดีความเห็นอีกแง่ว่า ไม่ต้องไปกำหนดกองทุนฯ ขั้นต่ำว่าจะเป็นเท่าไหร่ กล่าวคือให้ใช้ RBC เป็นตัวกำหนด เช่น 200 ล้านบาท, 300 ล้านบาท ซึ่งก็ขึ้นกับว่า RBC จะแอ็กชั่นได้แค่ไหน

"ภาพรวมของกองทุนวินาศภัยที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 6-7 แสนล้านบาท เทียบทั้งระบบถือเป็นไซส์ใหญ่ แต่ถ้าเทียบต่อรายอาจดูน้อย แต่ก็ไม่น้อยเมื่อเทียบกับไซส์ของทั้งอาเซียน ซึ่งเงินกองทุนฯ จะโตไปอีกเรื่อยๆ ตามเบี้ย ประกันภัย ที่เพิ่มขึ้นและภาวะเศรษฐกิจ แต่หากจะปรับก็ปรับได้ โดยต้องดูองค์ประกอบหลายอย่าง ต้องประชุมกันหลายรอบ และวางแผนกลยุทธ์ให้ชัดเจน ดูภาวะแวดล้อมอื่นๆ มาประกอบ เช่น การลงทุนของบริษัท เขาลงทุนอะไร ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ต้องให้มันสอดคล้องกัน"

แนะเพิ่มเป็น 300 ล้าน / เท่าทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ

ข่าวจากวงการ ประกันภัย กล่าวว่าเห็นด้วยกับการปรับเพิ่มกองทุนขั้นต่ำ เพราะตอนนี้ธุรกิจ ประกันภัย ไทยก็อยู่ภายใต้กฎ IAIS มีกติกาสากลเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น การปรับก็จะเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพธุรกิจ ประกันภัย เหมือนกับแบงก์ ที่มีกฎ Basle II ซึ่งเป็นกฎสากล

"กองทุน ประกันภัย บ้านเราต่ำมาก และเบี้ย ประกันภัย อีก 3-4 ปีข้างหน้า ก็จะไปแตะ 4 แสนล้านบาท ไม่ใช่แค่ 1-2 แสนล้านบาทเหมือนตอนนี้ ซึ่งถ้าเงินกองทุนฯ ไม่มีการปรับ ก็จะไม่สอดคล้องกัน ตอนนี้ RBC ใช้ไม่เต็มสูตร อีกหน่อยเมื่อใช้เต็มระบบ เงินกองทุนฯ ก็ต้องปรับเพิ่มอยู่ดี"

แต่การเพิ่มเงินกองทุนฯ ในแง่นายทุนก็ไม่อยากลงเงินอยู่แล้ว ไม่อยากเป็นภาระ อย่าง RBC ของยุโรป CAR Ratio ไว้ 200-300% เงินกองทุนฯ ขั้นต่ำไม่ต่างจากไทย แค่ 140-145% เพราะการใส่เงินเยอะ จะทำให้เงินทุนโอเวอร์ ในแง่ผู้บริหารทุนเยอะทำกำไรได้น้อย สะท้อนผลตอบแทนมันต่ำ ก็จะเกิดปัญหาที่ว่าทุนเยอะเกินไป แต่ไม่สามารถทำกำไรชดเชยทุนได้

"ถ้า RBC แท้ๆ CAR Ratio จะไม่สูงมาก ถามว่าน่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ ให้ยึดตามทุนจดทะเบียนตอนนี้ คือ 300 ล้านบาท อาจจะดูเยอะไปสักหน่อย แต่การเพิ่มของ คปภ.ก็เป็นสเต็ปอยู่แล้ว เช่น จาก 30 เป็น 50 เป็น 100 ล้าน ใช้เวลาครั้งละ 2-3 ในการปรับแต่ละสเต็ป ให้เวลาบริษัทเตรียมตัว และจริงๆ ถ้าหนุนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพิ่ม ก็จะหนุนเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำเพิ่มอยู่ดี"

ข่าวกล่าวว่า ต่อข้อที่ว่าการเพิ่มเงินกองทุนฯ จะทำให้เกิดควบรวม ฮุบบริษัทจริงๆ ประกันภัย ต่างชาติเข้ามาเยอะ เช่น เกาหลีใต้เข้ามาแต่ก็เมินหน้าหนี เพราะพิจารณา 2 ประการ คือ เครือข่ายให้บริการ เช่น แบงก์แอสชัวรันส์ หรือช่องทางขายต่างๆ เช่น ตัวแทน ประกันภัย และดูจากขนาดของบริษัท ประกันภัย จะต้องเป็นบริษัทที่ติด 1-5 ของธุรกิจเท่านั้น

"แต่ก็ยอมรับว่าตรงนี้จะทำให้เกิดควบรวมกิจการมากขึ้น ทำให้กิดการหาพันธมิตรใหม่ ส่วนหนึ่งมาจากเมื่อเปิดเออีซี เงินกองทุนฯ ของเราควรขยับ เพื่อให้มันใกล้เคียงกับต่างประเทศ ซึ่งบางประเทศเกือบ 1 พันล้านบาท แต่ของเราแค่ 30 ล้านบาท ทำให้มุมน่าสนใจไม่มี"

ที่มา : สยามธุรกิจ