ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

จัดเรต ประกันภัย "รีอินชัวเรอส์" จ่ายสินไหมดี

บัญชีรายชื่อ ประกันภัย ต่อที่มีประวัติการชำระสินไหมที่ดี ไกด์ไลน์การตัดสินใจคัดเลือกผู้รับ ประกันภัย ต่อที่จะส่งงานให้

จัดเรต ประกันภัย "รีอินชัวเรอส์" จ่ายสินไหมดี

กันยายน
22

บทเรียนจาก "เบสท์รี" ที่ขอ "แฮร์คัต" ค่าสินไหมน้ำท่วม โดยขอจ่ายแค่ 50% แม้ยังอยู่ระหว่างเจรจาต่อรองกับบริษัท ประกันภัย คู่สัญญา ส่วนใหญ่ยังไม่มีข้อยุติ ขณะที่บางบริษัทตัดสินใจยอมรับข้อเสนอ เพราะคิดว่าดีกว่าไม่ได้ หรือถ้าฟ้องร้องกัน เสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย อาจจะไม่คุ้ม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตลาดประกันวินาศภัยไทย เพราะขณะที่ภาครัฐคือ "คปภ." เตรียมจะวางกฎ "คุมเข้ม" ผู้รับ ประกันภัย ต่อ (รีอินชัวเรอส์) ต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย อาจจะต้องขึ้นทะเบียนกับ คปภ. ทางภาคธุรกิจ ประกันภัย อาจจะต้องหามาตรการใหม่ๆ มาคัดกรองผู้รับ ประกันภัย ต่อเช่นกัน

จัดเรต " ประกันภัย ต่อ" จ่ายสินไหมดี / เป็นไกด์ไลน์บริษัทคัดรีอินชัวเรอส์

กรรมการบริหารสมาคมประกันวินาศภัยไทยเปิดเผยว่า สมัยเป็นประธานคณะกรรมการกฎหมายและกฎระเบียบเมื่อ 2 ปีก่อน มีแนวคิดที่จะทำบัญชีรายชื่อ ประกันภัย ต่อที่มีประวัติการชำระสินไหมที่ดี (Best Paying Ability Reinsurers List) เพื่อให้บริษัทสมาชิกใช้เป็นไกด์ไลน์ ประกอบการตัดสินใจคัดเลือกผู้รับ ประกันภัย ต่อที่จะส่งงานให้ แต่ตอนนั้นยังไม่ได้ดำเนินการเกิดน้ำท่วมก่อน พอมามีประเด็นเบสท์รี จะเสนอเรื่องนี้ต่อประธานคณะกรรมการฯ คนใหม่ ให้ช่วยพิจารณาผลักดัน ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดบริหารสมาคมฯ อาจจะเป็นเดือนหน้า

สำหรับดัชนีชี้วัดรีอินชัวเรอส์ ประกอบการจัดทำบัญชีรายชื่อ ประกันภัย ต่อที่มีประวัติการชำระสินไหมที่ดี อาทิ 1.ชื่อเสียงประวัติของผู้รับ ประกันภัย ต่อในอดีต 2.ประวัติการชำระค่าสินไหมในอดีต สำหรับสินไหมทั่วไป 3.เครดิตเรตติ้งล่าสุด ทั้ง S&P, AM Best และทำเป็นตารางให้เห็นชัดเจนถึงระดับ Credit ที่ได้รับ 4.ความร่วมมือและการจ่ายสินไหมน้ำท่วมไทยที่ผ่านมา 5.สำนักงานสาขา หรือผู้ถือหุ้นที่มีความแข็งแรง เป็นต้น

"ที่ผ่านมาเราคัดเลือกผู้รับ ประกันภัย ต่อ จากความสนิทสนม และการตลาดมากกว่า และมองแค่เครดิต เรตติ้งของเขาอย่างเดียว ไม่ได้มองถึงสภาพคล่อง การจ่ายสินไหมทดแทน ความน่าเชื่อถือของเขา ถ้าเกิดสินไหมขึ้นมาแล้วจะไม่เบี้ยวเรา และไม่ได้มองไปถึงวิธีการบริหารจัดการ ประกันภัย ต่อช่วงของเขาด้วย แต่หลังจากน้ำท่วมทุกอย่างเปลี่ยนไป บริษัทต่างๆ จะเริ่มให้ความสำคัญกับการคัดกรองผู้รับ ประกันภัย ต่อ รายไหนมีประวัติการชำระเงินดี จะให้มารับงานของเรา และอุตสาหกรรม แม้จะใช้ 5 ข้อนี้วัดผู้รับ ประกันภัย ต่อ ส่วนใหญ่เกินเกณฑ์นี้อยู่แล้ว เราทำเป็นข้อพึงระวังให้กับสมาชิก"

"การทำแบบนี้ส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ไม่ใช่แค่บริษัท ประกันภัย เท่านั้น ยังทำให้ความมั่นใจของลูกค้ามีมากขึ้น อุตสาหกรรม ประกันภัย ไทยมีความมั่นคงมากขึ้น รวมไปถึงผู้รับ ประกันภัย ต่อที่จะมั่นคงมากขึ้นด้วย คาดว่าน่าจะเสร็จและเริ่มใช้ได้ในปีหน้า"

ก.ย.-ต.ค.สุญญากาศ ประกันภัย / ทวงสินไหม ชี้ชะตาฟ้องไม่ฟ้อง

สำหรับกรณีเบสท์รี บริษัท ประกันภัย ที่รับงานอยู่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1. บริษัทขนาดใหญ่ที่มีหนี้ค่าสินไหมทดแทนระหว่างกันมากอาจจะฟ้อง เพราะการลดหนี้ลง 50% อธิบายกับผู้ถือหุ้นยาก 2.บริษัทขนาดกลางที่มีหนี้ค่าสินไหมระดับ 100 ล้านบาท ลงมา ที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่งอาจจะใช้วิธีฟ้องเช่นกันและ 3.บริษัทขนาดเล็กหากจะฟ้อง ต้นทุนในการฟ้องจะแพงเกินไป หากรวมกับบริษัทอื่นฟ้องทีเดียว ยอดหนี้หลายพันล้านบาทอาจจะได้ผลมากกว่า แต่วิธีนี้ทำลำบาก เพราะระหว่างบริษัทแต่ละแห่งไม่ได้เชื่อมโยงข้อมูลกัน อีกทั้งยังใกล้กำหนดเวลา 1 ตุลาคม ซึ่งจะครบ 2 ปีที่สัญญาประกันวินาศภัยจะหมดอายุความ ระหว่างที่บริษัทกำลังเจรจากับผู้รับ ประกันภัย ต่ออยู่ ลูกค้าที่ยังไม่ได้เงินหรือได้ไม่ครบ อาจจะยื่นฟ้องศาลก่อน เพื่อรักษาสิทธิ์ไม่ให้สัญญาหมดอายุความ ซึ่งในช่วง 1-2 เดือนนี้ เป็นช่วงสุญญากาศของธุรกิจประกันวินาศภัย

"กรณีเบสท์รีกระทบต่อบริษัท ประกันภัย กว่า 40 แห่งที่มี ประกันภัย ต่อกับเขา ยอดสินไหมรวมอาจจะเป็นหมื่นล้าน หากมีการฟ้องร้องเกิดขึ้นนอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องแล้ว บริษัท ประกันภัย ยังมีภาระต้องตั้งสำรองสินไหมรับคืนจากผู้รับ ประกันภัย ต่อที่คาดว่าอาจจะสูญด้วย กระทบงบบัญชี เงินกองทุน หรือคาร์ เรโช ส่วนบริษัท ประกันภัย ที่จะยอมรับหนี้แค่ครึ่งเดียว ต้องตั้งสำรองหนี้สินไหมสงสัยจะสูญอีก 50% ที่เหลือกระทบคาร์เรโชอีกเช่นกัน อาจจะต้องขายสินทรัพย์ หรือประเมินมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ให้มีราคาสูงขึ้น เรื่องนี้อิมแพ็คต่ออุตสาหกรรมมาก กลัวรีอินชัวเรอส์รายอื่นจะขอแฮร์คัตด้วย จะสร้างความเสียหายต่อธุรกิจเรา"

ที่มา : สยามธุรกิจ