ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

หั่นเบี้ย ประกันภัย พิบัติไร้ข้อสรุป กองทุนฯ ตีกลับ

ปรับปรุงอัตราเบี้ย ประกันภัย พิบัติไร้ข้อสรุป คณะกรรมการกองทุนฯ ยังไม่มีมติ หลังคณะอนุกรรมฯ ชงอัตราเบี้ย ประกันภัย ใหม่ให้พิจารณา

หั่นเบี้ย ประกันภัย พิบัติไร้ข้อสรุป กองทุนฯ ตีกลับ

สิงหาคม
15

ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย ระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯ เสนอหลายเรื่อง ทั้งอัตราเบี้ย ประกันภัย พิบัติ ที่มีการปรับปรุงใหม่ ปรับลดเบี้ย ประกันภัย ทั้ง 3 กลุ่ม คือ บ้านอยู่อาศัย จากเดิมกำหนดเบี้ย ประกันภัย 0.5% หรือ 500 บาทต่อทุน ประกันภัย 100,000 บาท, เอสเอ็มอีกำหนดเบี้ย ประกันภัย 1% และภาคอุตสาหกรรม 1.25%

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องวงเงินความรับผิด (Sub Limit) มีทั้งขอปรับวงเงินเพิ่มขึ้นและลดลง, เงื่อนไขความคุ้มครอง กรมธรรม์บ้านอยู่อาศัย ที่จะให้แยกกรมธรรม์อัคคีภัย และภัยพิบัติออกจากกัน ให้ประชาชนซื้อเพิ่มได้ หรือแยกภัยจากน้ำท่วมธรรมดา และน้ำท่วมที่เป็นภัยพิบัติออกจากกัน รวมไปถึงการที่บริษัท ประกันภัย ขอขยายสัดส่วนการรับความเสี่ยงภัยไว้เอง (Retention) โดยมีประมาณ 10 บริษัทที่ยื่นเรื่องเข้ามา บางบริษัทขอปรับเพิ่มสัดส่วนทั้ง 3 กลุ่ม โดยขอรับ ประกันภัย เองเป็น 80-90% จากเดิมกำหนดให้รับเสี่ยงภัยเองขั้นต่ำ 0.5-1%

กองทุนฯ สั่งทบทวนเบี้ย ประกันภัย อีกยก

"บอร์ดให้กลับไปทบทวนทุกเรื่องใหม่อีกรอบ เพราะยังไม่ชัดเจน อย่างการปรับลดเบี้ย ประกันภัย ลงมา เกิดคำถามว่ากองทุนฯ จำเป็นต้องแข่งกับเอกชนหรือไม่ การลดเบี้ย ประกันภัย จะมีผลต่อตลาดทันที ต้องดูผลกระทบการแยกน้ำท่วมธรรมดา กับน้ำท่วมภัยพิบัติ จะแยกกันอย่างไร ต้องให้ชัดเจน เช่นเดียวกับการที่บริษัท ประกันภัย ขอรับความเสี่ยงภัยไว้เองเพิ่มขึ้น ก็มีคำถามจะให้เลือกภัยได้หรือไม่ ถ้าเลือกได้เท่ากับกองทุนฯ จะมีแต่ของเสียเข้ามา เจ๊งทันที สาเหตุที่บริษัท ประกันภัย ขอรับ ประกันภัย เองมากขึ้น เพราะสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ ผู้รับ ประกันภัย ต่อ (รีอินชัวเรอส์) เข้ามาแข่งขันกันเยอะ อัตราเบี้ย ประกันภัย ลดลง ทำใหเขาเริ่มมั่นใจ กล้ารับเอง"

สำหรับผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ณ เดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา มีจำนวนกรมธรรม์ ประกันภัย พิบัติ ที่ยังมีความคุ้มครองอยู่ 1.3 ล้านกรมธรรม์ โดยมีทุน ประกันภัย ต่อตามสัดส่วนของกองทุนฯ 5.6 หมื่นล้านบาท เบี้ย ประกันภัย 511 ล้านบาท โดยจำนวนกรมธรรม์ ประกันภัย เพิ่มขึ้น 200,000 ฉบับ เทียบกับเดือนพฤษภาคม มาจากลูกค้าสินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่มีการต่ออายุกรมธรรม์บ้านอยู่อาศัย ส่งผลให้กลุ่มบ้านอยู่อาศัยมีสัดส่วนการซื้อกรมธรรม์ ประกันภัย สูงสุดถึง 94% รองลงมาเป็นกลุ่มเอสเอ็มอี 5% และกลุ่มอุตสาหกรรม 1%

"จำนวนกรมธรรม์ ประกันภัย ในกองทุนฯ จะลดลงเรื่อยๆ เพราะบริษัท ประกันภัย รับกันเองมากขึ้น หลังจากกองทุนฯ ให้รับเองได้ การที่บริษัท ประกันภัย ยืนบนขาตัวเองได้ หมายถึงความสำเร็จของกองทุนฯ กลไกตลาดทำงานปกติ ส่วนการที่บริษัท ประกันภัย ขอถอนตัวออกจากกองทุนฯ ก็มีเพิ่มอีก 2 บริษัทที่ทำเรื่องเข้ามา เป็นบริษัทไทย กองทุนฯ กำลังพิจารณานโยบายกองทุนฯ อยากให้เสรีหมด"

รองผู้อำนวยการ สศค.และคณะอนุกรรมการด้าน ประกันภัย กองทุนฯ กล่าวเสริมว่า แม้ตลาด ประกันภัย พิบัติดีขึ้นตามลำดับ เทียบกับช่วงเกิดน้ำท่วมใหม่ๆ แต่ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ กองทุนฯ ยังมีความจำเป็นอยู่ ช่วยบริษัท ประกันภัย บริหารความเสี่ยงได้ โดยส่วนตัวคิดว่ากองทุนฯ คงต้องอยู่ไประยะหนึ่ง จนกว่าแผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทของรัฐบาลจะนิ่ง เกิดความมั่นใจภัยพิบัติโอกาสเกิดอีกยาก หรือเบี้ย ประกันภัย ลดลงต่อเนื่อง บริษัท ประกันภัย ส่ง ประกันภัย ต่อกันได้ การมีกองทุนฯ อยู่ทำให้บริษัท ประกันภัย มีอำนาจต่อรองกับผู้รับ ประกันภัย ต่อ

"รี" ไฟเขียว แข่งขาย-กดเบี้ย ประกันภัย ถูก

ข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ประกันภัย พิบัติ คลี่คลายลงมาก ในมุมผู้รับ ประกันภัย ต่อ มองความเสี่ยงประเทศไทย ไม่น่าเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยอีก หรือถ้าเกิดมีขนาดเล็ก เทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค ขณะที่แผนการบริหารน้ำ 3.5 แสนล้านบาท มีความเป็นไปได้มาก ผู้รับ ประกันภัย ต่อต่างชาติมั่นใจมากขึ้น มองไทยเป็นตลาดเกิดใหม่ของการ ประกันภัย พิบัติ และบุกตลาดมากขึ้น ส่งผลให้เบี้ย ประกันภัย พิบัติทั้งหมดลดลง ขณะที่กองทุนฯ ต้องปรับปรุงเบี้ย ประกันภัย ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น

"การบุกตลาดไทยของรีอินชัวเรอส์ ทำให้บริษัท ประกันภัย ไทยผ่อนคลายเงื่อนไขการขาย ทั้งขยายทุน ประกันภัย ให้กับลูกค้าสูงขึ้น ขายเบี้ย ประกันภัย เหมาะสมกับความเสี่ยงมากขึ้น จากช่วงเกิดน้ำท่วม เบี้ยพุ่งขึ้นไปถึง 7-8% บางพื้นที่สูงถึง 15% และให้ซับ ลิมิต ต่ำมาก ตอนนี้เบี้ย ประกันภัย ลดลงมาอยู่ที่ 1-2% บางรายต่ำกว่า 0.4-0.5% โรงงานที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมมีการป้องกันความเสี่ยงเพื่อ ให้เบี้ยถูกลง ทำให้ บริษัทแข่งกันมากขึ้น ลดความเข้มงวดของเงื่อนไขลง"

เมื่อการรับ ประกันภัย พิบัติกลับสู่ภาวะปกติ สามารถหาผู้รับ ประกันภัย ต่อได้ บริษัท ประกันภัย ไม่อยากส่งงานเข้ากองทุนฯ เนื่องจากเบี้ย ประกันภัย ไม่เหมาะสมกับตลาด อีกทั้งยังมีเงื่อนไขที่ยุ่งยาก ทั้งในเรื่องซับ ลิมิต การรับเสี่ยงภัยเอง ตลอดจนการเคลม คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัท ประกันภัย จะหันมารับเสี่ยงภัยเองมากขึ้น การแข่งขันรับ ประกันภัย พิบัติจะมีมากขึ้น เบี้ย ประกันภัย จะปรับลดลงอีก ก่อนที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงครึ่งปีแรกปีหน้า

ที่มา : สยามธุรกิจ