ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ระทึก ประกันภัย น้ำท่วม ลูกค้าจ่อฟ้อง ชดเชยไม่ครบ

ประเด็นเรื่องการเรียกเงิน ประกันภัย ต่อ ให้บริษัท ประกันภัย ทำหนังสือยอมรับสภาพหนี้ จากสินไหมที่ยังค้างอยู่

ระทึก ประกันภัย น้ำท่วม ลูกค้าจ่อฟ้อง ชดเชยไม่ครบ

กรกฎาคม
16

การเคลียร์ค่าสินไหมทดแทนเหตุการณ์ น้ำท่วม ใหญ่เมื่อปลายปี 2554 แม้ขณะนี้บริษัท ประกันภัย จะจ่ายชดเชยให้กับลูกค้าไปแล้วกว่า 350,000 ล้านบาท หรือกว่า 80% ของยอดสินไหมทั้งหมด ประมาณ 435,000 ล้านบาท ยังเหลือสินไหมที่ยังรอการจ่ายอีกประมาณ 77,000 ล้านบาท ซึ่งตามเป้าหมายของสมาคมประกันวินาศภัยไทย อยากจะให้จ่ายให้หมดครบ 100% ภายในเดือนสิงหาคมนี้ก็ตาม

แต่ทั้งสินไหมก้อนที่เหลือ หรือแม้แต่ส่วนที่จ่ายไปแล้วก็ตาม มีประเด็นในเรื่องการจ่าย การเรียกเงิน ประกันภัย ต่อจากบริษัท ประกันภัย ด้วยกันเองที่รับงานร่วมกัน รวมไปถึงบริษัทรับ ประกันภัย ต่อ (รีอินชัวเรอส์) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะยิ่งเรียกคืนเงินไม่ได้ ยิ่งมีผลต่อสภาพคล่องของบริษัท ประกันภัย และผู้รับ ประกันภัย ต่อ ที่กระทบกันเป็นทอดๆ เพราะแต่ละรายจ่ายสินไหมไปเยอะมาก อีกทั้งยังมีแรงกดดันจากเงื่อนเวลา เพราะใกล้ครบ 2 ปี ที่สัญญาประกันวินาศภัยจะหมดอายุความ ประมาณเดือนกันยายน ตุลาคมนี้

แก้ปมลูกค้าฟ้องเงิน ประกันภัย น้ำท่วม บริษัทจ่ายบางส่วนยืดอายุความ

นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เชิญบริษัทสมาชิก มาหารือแนวทางการจ่ายสินไหมทดแทน เพื่อให้ปฏิบัติตรงกันแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก ระหว่างบริษัท ประกันภัย กับลูกค้า ให้บริษัททำหนังสือถึงลูกค้า ยอมรับสภาพเป็นหนี้ลูกค้า จากสินไหมทดแทนที่ยังค้างอยู่ หรือจ่ายสินไหมทดแทนบางส่วนให้กับลูกค้า เพื่อให้อายุความไม่สะดุด เพราะหากมีการจ่ายสินไหมบางส่วน จะเริ่มนับอายุความใหม่จากวันที่จ่าย ไม่ใช่วันเกิดเหตุ น้ำท่วม ทั้งนี้เพื่อตัดปัญหาความวิตกกังวล ของลูกค้าที่กลัวว่าสัญญาประกันภัยจะหมดอายุความก่อนที่จะเคลียร์สินไหมกันจบทำให้ฟ้องไม่ทัน

ผวาอายุความ ประกันภัย ต่อแค่ 2 ปี ชูอนุญาโตฯ เคลียร์ข้อพิพาทบริษัท-ประะกันภัยต่อ

ส่วนที่สอง ระหว่างบริษัท ประกันภัย กับผู้รับ ประกันภัย ต่อในประเทศ ให้ยึดแนวทางเดียวกัน โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขในการจ่าย วงเงินสินไหมทดแทนที่ทั้งสองฝ่ายตกลงยอมรับกันได้ ซึ่งวงเงินแล้วแต่จะตกลงกัน แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้ หรือเคสใหญ่ที่มีวงเงินสินไหมสูง เช่น บริษัท ก จ่ายไปก่อน แล้วไปเรียกคืนจากบริษัท ข ที่รับ ประกันภัย ต่อไม่ได้ สามารถยื่นเรื่องกับอนุญาโตตุลาการที่สมาคมฯ ให้ช่วยพิจารณาชี้ขาดได้

ส่วนที่สาม ระหว่างบริษัท ประกันภัย กับผู้รับ ประกันภัย ต่อต่างประเทศ หากรีอินชัวเรอส์ไม่จ่าย แล้วในสัญญา ประกันภัย ต่อนั้นมีเงื่อนไข ให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด สามารถยื่นข้อพิพาทกับอนุญาโตตุลาการที่ประเทศไทย คือที่กระทรวงยุติธรรมได้ แต่ถ้าไม่มีเงื่อนไขว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ระบุไว้ในสัญญา ประกันภัย ต้องไปยื่นฟ้องต่อศาล ในประเทศที่บริษัทรับ ประกันภัย ต่อนั้นตั้งอยู่

"ในเรื่องของอายุความ ประกันภัย ต่อ มีคำพิพากษาของศาลฎีกาเมื่อปี 2538 การ ประกันภัย ต่อ ให้ใช้อายุความเดียวกับการ ประกันภัย รับตรงทั่วไป คือ 2 ปีนับจากวันเกิดเหตุ ซึ่งนักกฎหมายไทยต้องยึดตามนี้ ทำให้ทุกคนกลัวกันมาก สัญญา ประกันภัย ต่อจะขาดอายุความ แม้จะไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ เพราะในต่างประเทศบางประเทศ ใช้อายุความ 6 ปี แต่บ้านเราต้องยึดตามศาลฎีกาทั้ง 3 ข้อ เป็นแนวทางให้กับบริษัทสมาชิก ซึ่งเราได้ศึกษาข้อกฎหมายมาแล้ว"

ย้ำ สิงหาจ่ายครบ 100%

ต่อข้อถามปัญหาดังกล่าว อาจจะทำให้การจ่ายสินไหมทดแทนไม่ครบ 100% ในเดือนสิงหาคมตามเป้าหมาย กล่าวว่า น่าจะทำได้ เคสที่ไม่จบจริงๆ อาทิบริษัท ประกันภัย บอก 100 ล้านบาท ลูกค้าจะขอ 150 ล้านบาท เพราะมีลูกค้าบางกลุ่ม ที่ทำ ประกันภัย ต่ำกว่ามูลทรัพย์สิน (Under Insure) สมมติทรัพย์สิน 1,000 ล้านบาท ทำ ประกันภัย 700 ล้านบาท เวลามีเคลมบริษัท ประกันภัย จ่าย 70% ของทุน ประกันภัย 700 ล้านบาท แต่ลูกค้าเข้าใจต้องจ่าย 70% ของ 1,000 ล้านบาท ทำให้ยังเถียงกันไม่จบ

"ช่วงหลังๆ เจอลูกค้าลักษณะนี้เยอะ บางเคสคุยกันยาว ทุกรายมาถึงจุดนี้ การประเมินค่าเสียหายจบไปแล้ว เหลือ ประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงัก (bi) เครื่องจักรบางตัวยังหาซื้อไม่ได้ ยังมั่นใจน่าจะจบได้สิงหาคม เคสที่ยังเคลียร์ไม่จบ ต้องมีเหตุผลมาอธิบายได้ เพราะอะไรกรมธรรม์ไม่คุ้มครอง หรือตกลงค่าเสียหายกันไม่ได้"

ที่มา : สยามธุรกิจ