ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

นิคมฯ มั่นใจ ชูแผนที่น้ำท่วมต่อรองเบี้ย ประกันภัย "รีอินชัวเรอส์"

มั่นใจมาตรการป้องกันที่ทางนิคมฯ มีอยู่ บริษัทต่างๆ รวมของรัฐบาล วงเงินคุ้มครองที่บริษัท ประกันภัย คุ้มครองแค่ 10%, 20% ของทุน ประกันภัย

นิคมฯ มั่นใจ ชูแผนที่น้ำท่วมต่อรองเบี้ย ประกันภัย "รีอินชัวเรอส์"

มิถุนายน
27

สถานการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันในช่วงนี้และยังตกต่อเนื่อง หลายพื้นที่น้ำท่วม ก่อให้ความตระหนกวิตกกังวล จะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยปี 2554 ที่สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับอุตสาหกรรม ประกันภัย แบกค่าสินไหมทดแทนกว่า 4.35 แสนล้านบาท สูงสุดในประวัติศาสตร์ ประกันภัย ไทย

โดยนายกสมาคม ประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า แม้ปีนี้จะเกิด น้ำท่วม ใหญ่อีกไม่เป็นห่วง เพราะเท่าที่ไปดูนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร มั่นใจมาตรการป้องกันที่ทางนิคมฯ มีอยู่ หากเกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 2554 อีก ซึ่งไม่ใช่แค่การป้องกันของนิคมฯ เท่านั้น บริษัทต่างๆ ที่ตั้งอยู่นิคมฯ มีการป้องกันอีกชั้น อาทิ ยกพื้นสูงจากพื้นดิน ยึดจากระดับน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ขนเครื่องจักรขึ้นชั้น 2 เป็นต้น รวมไปถึงมาตรการป้องกันของรัฐบาล เท่ากับการป้องกันมีถึง 3 ชั้น

ยิ่งกว่านั้น วงเงินคุ้มครองน้ำท่วมที่บริษัท ประกันภัย คุ้มครองอยู่ในปัจจุบัน เป็นแบบจำกัดความรับผิด หรือซับ ลิมิต คือคุ้มครองแค่ 10%, 20% ของทุน ประกันภัย ไม่ 100% หรือเต็มทุน ประกันภัย เหมือนก่อน น้ำท่วม ดังนั้นหาก น้ำท่วม ใหญ่อีกจ่ายสินไหมน้อยลงมาก

เร่งจ่ายสินไหมน้ำท่วมครบสิงหา ชูแผนที่น้ำท่วมต่อรองเบี้ย ตปท.

ส่วนความคืบหน้าการจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วม ขณะนี้ธุรกิจ ประกันภัย จ่ายค่าสินไหมไปแล้วกว่า 350,000 ล้านบาท หรือกว่า 80% ของยอดสินไหมทั้งหมด ประมาณ 435,000 ล้านบาท ยังเหลือสินไหมที่ยังรอการจ่ายอีกประมาณ 77,000 ล้านบาท ประเมินในเบื้องต้น จะสามารถจ่ายได้หมดครบ 100% ภายในเดือนสิงหาคมนี้

เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมประกันวินาศภัยไทย และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิภาคสารสนเทศ (สทอภ.) เพิ่งลงนามในบันทึกข้อตกลงขยายความร่วมมือโครงการ "พัฒนาต้นแบบแผนที่ และแบบจำลองการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยจาก น้ำท่วม เพื่อการพิจารณารับ ประกันภัย เฟส 2" โดยขยายพื้นที่ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ หลังจากเฟสแรกเริ่ม 16 จังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา และท่าจีน ดำเนินการเสร็จแล้ว

เฟส 2 จะใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม และข้อมูลภูมิสารสนเทศ ในการจัดทำแผนที่ประเมินพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ โดยจะจัดทำแผนที่ประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยจาก น้ำท่วม แบบรายตำบล และหาขอบเขตของพื้นที่ น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นในอดีตย้อนหลังไป 7 ปี เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงการรับ ประกันภัย น้ำท่วม อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูล ในการอ้างอิงต่อรองอัตราเบี้ย ประกันภัย ต่อกับบริษัทรับ ประกันภัย ต่อ (รีอินชัวเรอส์) ได้

"ข้อมูลที่ได้จากเฟสแรก เป็นประโยชน์กับธุรกิจ ประกันภัย ในการกำหนดเบี้ย น้ำท่วม ตามความเสี่ยงภัยของพื้นที่ และนำไปใช้คุยกับรีอินชัวเรอส์ เพื่อดึงเบี้ย น้ำท่วม ในพื้นที่เสี่ยงต่ำให้ต่ำลงได้ง่ายขึ้น ทำให้เบี้ย ประกันภัย ในประเทศลดลงง่ายขึ้น"

ด้านผู้อำนวยการสทอภ.กล่าวว่า หากเปิดเออีซี ธุรกิจ ประกันภัย ไทย สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการรับ ประกันภัย ขยายพื้นที่ไปยังประเทศในเออีซีได้

ยันปีนี้ไม่ท่วมหนักเหมือนปี 54 ชี้แนวโน้มเบี้ย น้ำท่วม ลดต่อเนื่อง

ต่อข้อถามปีนี้จะเกิด น้ำท่วม หนักเหมือนปี 2554 หรือไม่ ปีนี้ไทยเจอพายุแค่ 2-3 ลูก ไม่เหมือนตอนปี 2554 ที่เจอไปถึง 6 ลูก กอปรกับมาตรการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล ดังนั้นเชื่อว่าน้ำท่วมใหญ่คงไม่มี แต่คงจะมีน้ำท่วมบ้างในพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ชนบท ซึ่งเป็นปกติของไทย โดยพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วม ยังคงเป็นที่ลุ่มริมแม่น้ำสายหลัก อาทิ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี

อุปนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวถึงแนวโน้มเบี้ย ประกันภัย น้ำท่วมว่า สิ่งที่ผู้รับ ประกันภัย ต่อต่างประเทศ กลัวมากที่สุดคือจะเกิด น้ำท่วม ใหญ่ซ้ำอีก หากธุรกิจ ประกันภัย มีข้อมูลความเสี่ยงภัยเชิงลึก ตัวเลขผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมชัดเจน และเชื่อถือได้ให้กับทางรีอินชัวเรอส์ จะได้เบี้ย ประกันภัย ต่อที่ต่ำลง ขณะนี้ความเสี่ยงภัย น้ำท่วม ของไทยมีทิศทางดีขึ้น มีกองทุนส่งเสริมการ ประกันภัย พิบัติ ทำให้ผู้รับ ประกันภัย ต่อกล้ารับ ประกันภัย มากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้แนวโน้มที่รีอินชัวเรอส์จะชาร์จเบี้ย ประกันภัย ไทยต่ำลงได้

"เฟส 2 คาดว่าจะพัฒนาแล้วเสร็จอีกประมาณ 6 เดือนนับจากนี้ เฟส 2 จะเพิ่มข้อมูลมากขึ้น เช่น กำหนดจุดได้ว่าบ้านเลขที่ไหนอยู่ในพื้นที่อะไร เคยมีประวัติ น้ำท่วม หรือไม่ ส่วนเฟส 3 จะเพิ่มข้อมูลเชิงปริมาณเข้าไป เช่นเคยท่วมลึกเท่าไร ซึ่งทำให้เป็นมาตรฐานในการรับ ประกันภัย ได้"

มิตซุยฯจ่ายเคลมน้ำท่วมแล้ว 84% เตรียมดูนิคมฯ ก่อนเพิ่มทุนประกัน

รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ จำกัด กล่าวว่า บริษัทจ่ายสินไหม น้ำท่วม แล้ว 84% ของค่าสินไหมทั้งหมด 1.4 แสนล้านบาท ที่เหลือจะพยายามจ่ายให้หมดในปีนี้ แต่ขึ้นอยู่กับลูกค้าส่งข้อมูลหลักฐาน ให้กับรีอินชัวเรอส์ครบถ้วนหรือไม่ ส่วนราคาเบี้ย ประกันภัย น้ำท่วม บริษัทพยายามยืนราคาเดิม แต่แนวโน้มการแข่งขันในตลาด มีส่วนทำให้ราคาอาจจะลดลง

" น้ำท่วม ที่ผ่านมา อุตสาหกรรม ประกันภัย เสียหายเยอะมาก เราอยากให้รักษาเบี้ย ประกันภัย ระดับนี้ต่อไประยะหนึ่ง ซัก 2-3 ปี เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับธุรกิจ ประกันภัย แต่พื้นที่ไม่เสี่ยงเบี้ย ประกันภัย มีแนวโน้มลดลง จะเสนอสมาคมในอีก 2 เดือน ไปเยี่ยมพื้นที่เสี่ยงภัย ไปดูการป้องกันที่เขาทำไว้เสร็จหรือยัง สมบูรณ์ หรือมีประสิทธิภาพหรือไม่ ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ ในการขอเพิ่มวงเงินคุ้มครองกับผู้รับ ประกันภัย ต่อ"

ที่มา : สยามธุรกิจ