ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ซ่อมรถยนต์รอ 4 เดือน อ้างขาดแรงงาน ประกันรถยนต์ จ่อโขกเบี้ย

ปรับขึ้นอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ บางประเภท ภายในกรอบ 5-10% ต้นทุน ค่าสินไหมเพิ่มสูงขึ้น ปรับค่าซ่อมจากเหมาจ่ายเป็นแยกชิ้น

ซ่อมรถยนต์รอ 4 เดือน อ้างขาดแรงงาน ประกันรถยนต์ จ่อโขกเบี้ย

มิถุนายน
20

วิกฤติอู่ขาด เล่นงาน ประกันภัยรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ร้อง เหตุส่งซ่อมต้องรอคิวนานกว่า 2 เดือน บางบริษัทรออะไหล่นานกว่า 4 เดือน สหมิตร เตรียมหารือเพื่อนสมาชิก เสนอ คปภ. ส.วินาศฯ ขอขึ้นค่าซ่อม หลังอู่อ่วมต้นทุนพุ่ง 150% ชี้อู่ห้างดูดช่างหาย เหตุยื่นค่าตอบแทนเพิ่ม ฟาก ประกันภัย ชูมือปรับเพิ่มค่าซ่อมอู่แล้ว "ไทยพาณิชย์สามัคคี" ชี้เตรียมขึ้นเบี้ย ประกันภัยรถนต์ หลังต้นทุนอู่-ค่าแรงเล่นงาน ประกันภัย น้อยใหญ่ปรับแผนสู้ต้นทุน

นายกสมาคมสหมิตรการซ่อมรถยนต์แห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การร้องเรียน การซ่อมรถยนต์ของประชาชนผู้เอา ประกันภัย ว่า ขณะนี้ปัญหาเริ่มรุนแรงขึ้น หลังจากปริมาณการส่งมอบรถยนต์ และปริมาณรถยนต์ทั้งระบบรวมหลายล้านคัน และน่าจะเป็นรถยนต์ จากโครงการรถยนต์คันแรกไม่ต่ำกว่า 5 แสนคันแล้ว โดยรถยนต์คันแรก รวมถึงรถยนต์ป้ายแดง ทำให้แต่ละคันต้องรอซ่อมไม่ต่ำกว่า 2 เดือน เห็นได้จากปริมาณรถยนต์รอซ่อมแต่ละอู่เพิ่มขึ้น 10-20% จากเดิมที่เคยรับงานอู่ละ 20-30 คันต่อเดือน ก็ปรับเพิ่มขึ้น 1-2 เท่า ทั้งนี้ที่ทำให้ลูกค้าต้องรอนาน มาจากจำนวนรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ อู่ขาดแรงงาน และอัตราค่าซ่อมที่เมื่อเทียบกับอู่ห้าง หรืออู่แบรนด์เนม ยังได้ในระดับที่ต่ำกว่า (ไม่คุ้มทุน) โดยอู่เริ่มกังวลว่า ต่อไปจะขาดแคลนช่าง หลังถูกอู่ห้างเสนอค่าแรงสูงถึงชั่วโมงละ 550-600 บาท ขณะที่อู่ทั่วไปอยู่ที่ชั่วโมงละ 400-450 บาท ส่งผลให้อู่ซ่อมรถยนต์ปิดตัวตั้งแต่ปี 2554 แล้วกว่า 3-5%

ส่วนปัญหาค่าแรง ยืนยันว่าได้คงอัตราเดิมมาตั้งแต่ปี 2554 สวนทางกับต้นทุนรวมสูงกว่า 120% จากค่าสีหลังปรับขึ้นแล้วกว่า 30% เมื่อมีนโยบายค่าแรง 300 บาท กลับเพิ่มต้นทุน เนื่องจากช่างรายใหม่ ยังต้องใช้เวลาฝึกไม่ต่ำกว่า 2 ปี ขณะที่ช่างที่มีอายุงานน้อยถูกขึ้นค่าแรง 300 บาททันที จากเดิมอยู่ที่ 200 บาท ส่งผลให้เฉลี่ยค่าแรงสำหรับช่างใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 80% ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายรายวัน คือ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ส่งผลให้เฉลี่ยต้นทุนวันละ 400บาท

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า เกิดการสมยอมของลูกค้า เช่น กรณีรถยนต์ชนแล้วนำเข้าซ่อม โดยอู่และลูกค้าจะตกลงกันว่า ให้อู่ประเมินค่าซ่อม หลังจากนั้นเจ้าของรถยนต์จะสำรองจ่ายส่วนเกินออกไป เพื่อเร่งให้ชิ้นงานเสร็จเร็วขึ้น ภายหลังจะดำเนินเรื่องเพื่อขอชดเชยกับบริษัท ประกันภัย

อีกทั้งยังมีปัญหาการร้องเรียนอู่ เนื่องจากอู่ปฏิเสธรับงาน และยังอ้างว่าขาดช่าง รถยนต์เต็ม ในอนาคตปัญหาดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น ท้ายสุดจะทำให้บริษัท ประกันภัย เสียชื่อเสียง เพราะไม่สามารถควบคุมคุณภาพของอู่คู่สัญญา

จากการสอบถามอู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถปรับขึ้นค่าซ่อม แม้ก่อนหน้านี้จะมีกระแสข่าวว่า อู่ขอปรับขึ้นค่าซ่อมแล้ว 10-15% โดยส่วนใหญ่จะปรับขึ้น 5-10% โดยรถยนต์ที่นำเข้าซ่อม หากมีแผล 2-3 ที่ อู่จะมองว่าไม่คุ้มทุน เนื่องจากอู่รับงานในลักษณะเหมา ยิ่งมีจำนวนมาก ชิ้นค่าจ้างจะสูง หากเป็นรถยนต์คันเดียว ต้นทุนจากค่าแรง ค่าผสมสีคิดอัตราเท่ากัน นอกจากนี้ยังพบปัญหาว่า อู่เริ่มใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้สีผิดเพี้ยนไปจากสีเดิม

"ตอนนี้ทางสมาคมฯ พร้อมสมาชิก กำลังเตรียมข้อมูล เพื่อเสนอไปยังสมาคมประกันวินาศภัยไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) เพื่อเสนอขอปรับขึ้นค่าซ่อมในอัตราที่เหมาะสม อู่สามารถอยู่ได้ รวมทั้งเสนอเพื่อให้เปิดโครงการฝึกช่างฝีมือ เข้ามารองรับปริมาณรถยนต์ที่ขยายตัว"

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสินไหมทดแทน บริษัทวิริยะประกันภัยฯ ชี้แจงว่า แต่ละเดือนจะมีรถยนต์เข้ามารับบริการสูงขึ้นหลายเท่า เช่น 1 อู่ เคยรองรับอยู่ที่สัปดาห์ละ 10-20 คัน ใช้เวลารอซ่อมต่อคัน 1-2 สัปดาห์ แต่หลังจากนโยบายรถยนต์คันแรก ทำให้มีรถยนต์ใหม่ปีแรก รวมถึงป้ายแดงเข้าซ่อมเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10-20% ส่งผลให้มีรถยนต์รอเข้าซ่อมบางรายอาจต้องรอ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งยังไม่รวมอู่ห้าง

ทั้งนี้ บริษัทมีการคำนึงถึงปัญหารอซ่อม หรือรับรถยนต์ล่าช้า โดยยอมรับว่า ปัญหาอู่ไม่พอกับปริมาณรถยนต์ แต่อาจน้อยกว่าบริษัทอื่น เนื่องจากวิริยะมีศูนย์ซ่อมมาตรฐาน และศูนย์กระจายอะไหล่ จึงสามารถรองรับปัญหาอะไหล่ขาดสต๊อก ปัจจุบันบริษัทมีศูนย์ซ่อมมาตรฐาน 400 แห่ง ปีนี้บริษัทยังมีแผนขยายเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ในส่วนของปัญหาอู่ขอขึ้นค่าซ่อมนั้น ยืนยันว่าประสบปัญหาเช่นเดียวกัน โดยได้ปรับขึ้นไปแล้วในต้นเดือนที่ผ่านมา หลังจากได้หารือร่วมกับอู่แล้ว

ทั้งนี้การปรับเพิ่มค่าซ่อม จะพิจารณาจากสภาพงาน แม้จะเป็นรถยนต์ซีซีเท่ากัน แต่วัสดุกลับมีขนาดต่างกัน เช่น กันชนหน้าของรถยนต์อีโคคาร์ (ฮอนด้า แจ๊ซ/โตโยต้า ยาริส) มีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้นผลตอบแทนจะขึ้นกับขนาดของวัสดุเป็นหลัก ล่าสุดได้เพิ่มค่าซ่อมจากเดิมชิ้นละ 1.8 พันบาท เป็น 2 พันบาท หรือหากเดิมอยู่ที่ชิ้นละ 2.3 พันบาท เพิ่มเป็น 2.5 พันบาท เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 200 บาท หรือประมาณ 10% ส่งผลให้มีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 8-9% และจากสถิติพบว่า รถยนต์ที่เกิดอุบัติในขณะนี้ เป็นกลุ่มรถยนต์ใหม่ป้ายแดงสูงถึง 30% ถือเป็นสถิติเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเดิมจะมีสัดส่วนไม่ถึง 10%

สอดคล้องกับกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ SCSMG เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเตรียมแผนปรับขึ้นอัตราเบี้ย ประกันภัยรถยนต์ บางประเภท หลังจากต้นทุนเพิ่มสูง ค่าสินไหมที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจากการที่อู่คู่สัญญา ขอปรับค่าซ่อมจากภาวะค่าแรง 300 บาท โดยขอปรับค่าซ่อมจากเดิมที่คิดแบบเหมาจ่าย ให้คิดเป็นแบบแยกชิ้นแทน ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือว่า จะปรับเพิ่มระดับใด เบื้องต้นคาดจะมีการปรับภายในกรอบ 5-10% เร็วๆ นี้ แต่จะให้กระทบต่อลูกค้าน้อยที่สุด

จากข้อมูลได้รับรายงานว่า รถยนต์ที่เลือก ประกันภัยรถยนต์ กับอู่ห้าง ต้องรอไม่ต่ำกว่า 3 เดือน และแนวโน้มอู่ทั่วไป อาจต้องรอในระกับใกล้เคียงกัน"

ด้านผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ หัวหน้าหน่วยธุรกิจประกันภัย บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัญหาลูกค้าที่นำรถยนต์ซ่อมที่ต้องรอนานหลายเดือน ยังไม่ได้รับรายงาน หากเป็นรถยนต์ที่มีปัญหา มักเป็นรถยนต์ที่รออะไหล่เฉพาะ เนื่องจากไม่มีการผลิตอะไหล่ภายในประเทศ อาทิ เชอรี่ คิวคิว รวมถึงรถยนต์จักรหัวลาก ส่วนใหญ่ต้องใช้อะไหล่นำเข้าจากประเทศจีน และต้องรอไม่ต่ำกว่า 4-6 เดือน ในส่วนของการจ่ายค่าตอบแทนแก่อู่นั้น ได้ปรับขึ้นแล้ว 10% หากเป็นอู่ชั้น 1 เกรดA จะเพิ่มค่าจ้างตามความเหมาะสม

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายประเมินราคาสินไหมรถยนต์ภาคสมัครใจ บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ผ่านมามิตรแท้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ประสบปัญหาอู่เช่นกัน เนื่องจากอู่ขอปรับขึ้นค่าซ่อม ซึ่งบริษัทได้ทำการจัดกลุ่มรถยนต์ขึ้นใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการปรับค่าตอบแทน โดยปรับกลุ่มรถยนต์เล็กเดิม คือ ฮอนด้าแจ๊ซ-ซีวิค,โตโยต้าวีออส-อัลติส ปรับขึ้นเป็นกลุ่มรถยนต์ขนาดกลาง

เบื้องต้นบริษัทได้ปรับเพิ่มค่าซ่อม หรือทำสีเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยชิ้นส่วนที่มีปัญหาสูงสุด คือ กันชนหน้าที่ปรับเพิ่มจากเดิม 1.4 พันบาทต่อชิ้น เพิ่มเป็น 1.9-2 พันบาทต่อชิ้น หากมีจำนวนมาก (5 ชิ้นขึ้นไป) ค่าซ่อมเฉลี่ยชิ้นละ 1.7 พันบาท โดยเฉลี่ยมีรถยนต์เพิ่มขึ้น 10-15% เป็นรถยนต์ใหม่อายุ 1-2 ปี ประมาณ 5%

จากการสอบถามข้อมูลไปยังอู่ผู้ให้บริการ "บริษัท อู่วิกรม จำกัด" รองรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เขต 1 (บางกะปิ, คลองเตย, ห้วยขวาง, วังทองหลาง, ปทุมวัน, ดินแดง, วัฒนา, สะพานสูง, ราชเทวี) ถ.โยธินพัฒนา พบว่า มีปริมาณรถยนต์ที่เข้าซ่อมเพิ่มสูงขึ้น เฉลี่ยรถเก๋ง 10-20 คันต่อวัน (ไม่นับรถหนัก) คิดเป็นรถยนต์ใหม่ป้ายแดง และรถยนต์คันแรกเกือบครึ่งหนึ่ง เฉลี่ยใช้เวลาซ่อม และรออะไหล่ไม่ต่ำกว่าคันละ 1 เดือน หากเป็นรอยขูดขีดใช้เวลาประมาณ 10 วัน

หจก. ลีการช่าง รองรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เขต 4 (ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน จตุจักร พญาไท บางซื่อ ดุสิต) ซ.โชคชัยร่วมมิตร ถ.วิภาวดีรังสิต ระบุว่า ปัจจุบันอู่จำนวนมาก ประสบปัญหาขาดช่าง ล่าสุดอู่ลีการช่าง มีช่างลดลงแล้ว 30% เนื่องจากเข้าทำงานที่ศูนย์ให้บริการมากขึ้น ส่วนปริมาณรถยนต์ที่เข้าใช้บริการ เฉลี่ยเดือนละ 60 คัน จากเดิมที่เคยสูงถึงเดือนละ 140 คัน ส่วนเรื่องต้นทุนที่เพิ่ม จะมาจากราคาสีที่ใช้ปรับสูงขึ้น จากลิตรละ 360 บาท เพิ่มเป็นลิตรละ 1.2 พันบาท

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ