ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

หาช่องปลุก ประกันภัย พืชผล ดีงเกษตรกร 4 ล้านรายร่วมโครงการ

หากเกษตรกร 4 ล้านเข้าโครงการ บริษัท ประกันภัย พร้อมเข้ามารับ ประกันภัย พืชผล ปัจจุบันต้องหามาตรฐานการเคลม การกำหนดเบี้ย ประกันภัย

หาช่องปลุก ประกันภัย พืชผล ดีงเกษตรกร 4 ล้านรายร่วมโครงการ

พฤษภาคม
6

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้กำกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.)​เปิดเผยว่า พยายามจะให้กองทุนภัยพิบัติแห่งชาติ เข้าไปมีบทบาทในการเข้ารับ ประกันภัย พืชผลทางการเกษตรด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า กองทุนภัยพิบัติไม่สามารถทำได้ ซึ่งได้เช็คแล้วปรากฎว่าผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิเสทว่าไม่ได้ให้ข่าวไปแบบนั้น อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าได้คุยกับผู้เกี่ยวข้องหลายๆ ฝ่ายแล้ว ทั้งตัวคปภ.​เอง บริษัท ประกันภัย และที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งทุกคนได้ตกลงร่วมกันที่จะไปหาแนวทาง เพื่อให้เกิดการ ประกันภัย พืชผลให้ได้ ส่วนกองทุนภัยพิบัติ จะเข้าไปมีบทบาทอย่างไรได้บ้างกับเรื่องนี้ ต้องรอผลการศึกาก่อน

“จากการได้คุยกัน หากว่าเกษตรกรทั้ง 4 ล้านรายเข้าโครงการ บริษัท ประกันภัย ก็พร้อมที่จะเข้ามารับ ประกันภัย พืชผลทางการเกษตร ส่วนที่ต้องทำตอนนี้คือ ต้องหามาตรฐานในการเคลม ประกันภัย ​ การกำหนดเบี้ย ประกันภัย ที่เป็นธรรม การประกาศให้พื้นที่ใดที่เป็นเขตภัยพิบัติ ที่ต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ที่สำคัญเพื่อเป็นการจูงใจให้เกษตรกรเข้าโครงการ รัฐบาลอาจจะช่วยจ่ายเบี้ยให้ครึ่ง”

กล่าวเพิ่มเติมว่า แต่ละปีรัฐบาลต้องเสียเงินงบประมาณ เพื่อชดเชยความเสียหายให้เกษตรกร ปีละร่วมแสนล้านบาท ทั้งผลที่เกิดจากภัยแล้ง น้ำท่วม ราคาตกต่ำ ฯลฯ หากรัฐบาลกระตุ้นให้เกิดการ ประกันภัย พืชผลได้ ก้จะสามารรถกระหยัดงบมาณได้จำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะจะต้องเอาเงินมาอุดหนุนเบื้องต้นให้โครงการฯ เดินได้ ก็จะใช้ไม่มากเท่าที่จะต้องจ่ายชดเชยเหมือนที่ทำอยู่ตอนนี้

ส่วนความคืบหน้าของกองทุนภัยพิบัติล่าสุด ยอดการจำหน่าย ประกันภัย พิบัติ เพื่อป้องกันน้ำท่วมในช่วง 5 เดือนแรกหลังจากการตั้งกองทุน มียอดจำหน่ายเบี้ย ประกันภัย 10,000 ราย รวมเป็นเงินเบี้ย ประกันภัย 100,000 ล้านบาท และเมื่อถึงเดือนตุลาคม จะเป็นช่วงครบกำหนดอายุกรมธรรม์ ประกันภัย น่าจะมียอดจำหน่าย 200,000 ล้านบาท

ด้านผู้อำนวยการกองทุนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวยอมรับว่าการซื้อ ประกันภัย พิบัติแยกจากบริษัท ประกันภัย เอกชน หากเป็นพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม เอกชนมักจะไม่ขาย ประกันภัย ในพื้นที่ดังกล่าว บริษัท ประกันภัย จึงจะส่งให้กองทุน ประกันภัย พิบัติทำหน้าที่ในพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ส่วนภาคครัวเรือน คาดว่าจะมีผู้ซื้อ ประกันภัย พิบัติถึง 800,000 ครัวเรือน เนื่องจากเบี้ย ประกันภัย ถูกเพียง 500 บาท วงเงินคุ้มครอง 100,000 บาท

ด้านรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีการจำหน่ายเบี้ย ประกันภัย พิบัติ แก่ผู้ประสบปัญหาอุทกภัยว่า ดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่ถึงกับมีการซื้อจำนวนมาก และยอมรับว่ายอดจำหน่ายที่ดีขึ้น เพราะเบี้ย ประกันภัย จากเดิมที่เคยอยู่ในระดับสูงในช่วงประสบปัญหา และบริษัท ประกันภัย ต่อในต่างประเทศ ไม่ยอมรับ ประกันภัย หลังจากรัฐบาลเดินหน้าป้องกันน้ำท่วม ผ่านโครงการต่างๆ ทำให้ทุกฝ่ายมีความมั่นใจมากขึ้น จนเบี้ย ประกันภัย ลดลง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้มีเป้าหมายเน้นการซื้อ ประกันภัย ผ่านกองทุนภัยพิบัติแห่งชาติ เพราะต้องการให้การขาย ประกันภัย ของภาคเอกชน เป็นตัวทำงานผ่านกลไกตลาด แต่ถึงกระนั้นยอมรับกองทุนภัยพิบัติ ยังมีความจำเป็น เพราะยอดซื้อยังเพิ่มต่อเนื่อง แม้จะมีการสร้างเขื่อนรอบนิคมอุตสาหกรรม แต่เพื่อต้องการดำเนินธุรกิจภาคเอกชน ยังจำเป็นต้องซื้อ ประกันภัย

ที่มา : โพสต์ทูเดย์