ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

แก้ไขกฎหมาย ประกันภัย เพื่อประโยชน์ของใคร (ตอน 2)

คปภ. ห้ามขายกรมธรรม์ ประกันภัย ไม่ดำเนินการควบคุมก่อน บริษัทรู้อนาคตของตนเอง ยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน เอกสารสำคัญ บัญชีรายชื่อเจ้าหนี้

แก้ไขกฎหมาย ประกันภัย เพื่อประโยชน์ของใคร (ตอน 2)

เมษายน
23

เรื่องการส่งมอบบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ให้กับผู้ชำระบัญชี เป็นเรื่องผูกพันกับระยะเวลาที่ผู้ชำระบัญชี ต้องทำการส่งจดหมายลงทะเบียนให้เจ้าหนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง หากผู้เสนอร่างกฎหมายยังมีความไม่ชัดเจน ให้กรรมการต้องส่งเอกสารอะไร บอกได้เลยว่าการไปเพิกถอนใบอนุญาตประกันวินาศภัย ถ้าเป็นผลให้กรรมการบริษัทไม่พอใจ​และไม่ให้ความร่วมมือ เชื่อได้ว่ากรรมการบริษัทหรือบุคคลอื่นใด ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้มีหน้าที่ต้องส่งมอบเอกสาร​ก็จะไม่ส่งบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ให้กับผู้ชำระบัญชีอย่างแน่นอน และเมื่อเกิดปัญหามันก็จะเป็นผลให้ผู้ชำระบัญชีไม่มีรายชื่อเจ้าหนี้ เพื่อที่จะส่งเอกสารลงทะเบียนให้ถึงภายในสามสิบวัน ไม่สามารถจ่ายเงินภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น พิจารณาให้ลึกก็เห็นความผิดพลาดของผู้ร่าง ในประเด็นโครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่เหมาะสมนั้น จะร่าง จะแก้ไขเพื่อประโยชน์ของนายทุนต่างชาติ​หรือเพื่ออะไร​ในที่นี้จะพูดถึงแต่ประเด็นเรื่อง บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกันวินาศภัย​หรือกรณีที่บริษัทล้มละลาย และไปเกี่ยวพันกับประชาชนนั้น ผู้ร่างต้องรู้ต้องมีความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการให้กรรมการ หรือผู้เกี่ยวข้องส่งเอกสารหลักฐานให้กับผู้ชำระบัญชีนั้น คนร่างกฎหมายเพื่อบังคับใช้กับบุคคลนั้น จะต้องไม่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง จะต้องไม่คิดเอาเอง หรือเชื่อเอาเอง แต่ต้องเข้าไปสัมผัสปัญหา หรือยอมไปสอบถามผู้ที่มีความรู้​ความชำนาญ กฎหมายที่มีผลบังคับใช้จะได้ไม่ไร้ผล บอกได้เลยว่าบริษัทไหนเมื่อถูกรัฐมนตรีเพิกถอนใบอนุญาตฯ เขาจะต้องไม่พอใจและต่อต้านการบัญญัติกฎหมายไม่ชัดเจน เขาก็จะมีวิธีแก้ตัวเพื่อไม่ให้ต้องรับผิดตามบทกำหนดโทษ เมื่อกรรมการฯไม่ให้ความร่วมมือ ก็จะเกิดปัญหาหลายอย่างตามมา

ทางแก้ไขควรต้องออกกฎหมายควบคุมบังคับใช้​ให้กรรมการหรือผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติในทันที ที่ทางคปภ. มีคำสั่งห้ามขยายกิจการ​หรือห้ามขายกรมธรรม์ ประกันภัย โดยผู้มีอำนาจหน้าที่ต้องเข้าควบคุมเอกสารหลักฐาน เช่น บัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ สมุดบัญชีเอกสารเกี่ยวกับการรับ ประกันภัย ทรัพย์สินทั้งหลาย หากไม่ดำเนินการควบคุมก่อน จะเป็นผลให้บริษัทซึ่งรู้อนาคตของตนเอง ทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน เอกสารสำคัญ บัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ เอกสารสิทธิ สำนวนคดี ฯลฯ

หากไม่มีการออกกฎหมายควบคุมก่อนเพิกถอนใบอนุญาต รวมทั้งไม่บัญญัติกฎหมายให้ชัดว่า กรรมการฯ ต้องส่งมอบบัญชีรายชื่อเจ้าหนี้ พร้อมที่อยู่ให้ผู้ชำระบัญชีตามเวลาที่กำหนด ก็ยากที่ผู้ชำระบัญชีจะสามารถส่งจดหมายลงทะเบียนให้กับเจ้าหนี้ได้ทันภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง อีกทั้งการประกาศทางหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นให้เจ้าหนี้รับทราบ ก็ไม่ใช่จะทำให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบการเพิกถอนใบอนุญาตฯ​หรือบริษัทล้มละลาย เพราะเจ้าหนี้ผู้เอา ประกันภัย มีทั้งชาวบ้านหาเช้ากินค่ำ จนถึงผู้ที่มีความรู้ เมื่อเขาไม่ได้รับจดหมาย ไม่ทราบประกาศ จะเป็นผลให้ไม่มีโอกาสได้แสดงสิทธิ์ ปัญหาที่จะตามมาก็คือ เมื่อกฎหมายไม่บัญญัติอย่างชัดเจนให้กรรมการฯ ส่งมอบรายชื่อเจ้าหนี้ให้กับผู้ชำระบัญชี ก็จะมีผลให้ผู้ชำระบัญชีไม่สามารถส่งจดหมายถึงเจ้าหนี้ได้ครบถ้วน และหากผู้ชำระบัญชีจ่ายเงินให้กับผู้เอา ประกันภัย ไม่ครบจำนวน เจ้าหนี้จะมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องคดีตามมา

​และตามมาตรา 80/5 บัญญัติให้กองทุนประกันวินาศภัยชำระหนี้ แก่เจ้าหนี้ผู้เอา ประกันภัย ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต​แทนบริษัทที่ถูกเพิกถอนฯ จำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทุนฯ เมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ได้รับมาแล้ว จากผู้ชำระบัญชีตามมาตรา 61/3 ต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาทตามมาตรานี้ ประกันภัย ประเภทหนึ่ง ซึ่งวงการศาลถึงประกาศไม่รับ ประกันภัย บางบริษัท แต่หากศาลทั่วประเทศ ซึ่งยอมรับสัญญา ประกันภัย อิสรภาพ ที่ผู้เอา ประกันภัย ร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยศาลรู้ว่าเมื่อบริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาต ศาลจะไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้ ตามสัญญา ประกันภัย ที่วางเป็นหลัก ประกันภัย ต่อศาล เพราะสำนักงานศาลยุติธรรม แต่ผู้เดียวจะเป็นผู้ได้รับสินไหมแทนรวมกันทุกศาล ในวงเงินไม่เกินหนึ่งล้านบาทเท่านั้น เข้าใจถูกหรือเปล่า ถ้าถูกต้องรีบแก้ไข ไม่เช่นนั้น ประกันภัย อิสรภาพจะไม่เกิดอีกต่อไป เพราะศาลจะไม่รับเป็นหลักประกัน เรื่อง ประกันภัย ยังมีปัญหาอีกมากมายที่จะต้องแก้ไข

ที่มา : อาร์วายทีไนน์