ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

ตรวจสอบและเลือกซื้อ รถยนต์มือสอง

ตรวจสอบสภาพรถมือสอง อย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ อย่าซื้อโดยใช้อารมณ์ ความชอบเป็นหลัก

ตรวจสอบและเลือกซื้อ รถยนต์มือสอง

พฤศจิกายน
20

การเลือกซื้อรถมือสองมาใช้สักคันหนึ่งนั้น เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ เพราะเป็นของที่มีค่ามีราคา เราควรตรวจสอบสภาพรถมือสองนั้นๆ อย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อ อย่าซื้อโดยใช้อารมณ์ หรือความชอบเป็นหลัก แต่ควรเน้นเรื่องสภาพ และความสมบูรณ์ของรถยนต์ เพื่อไม่ให้เสียใจและเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งมีขั้นตอนตรวจสภาพรถยนต์เบื้องต้นดังนี้

1. เบาะที่นั่ง วัสดุหุ้มแผงประตู พรมปูพื้น เบาะที่นั่ง จะบอกเราได้ว่ารถถูกใช้งานหนักเพียงใด ให้สังเกตที่ความอ่อนยวบ หรือฉีกขาด หากเบาะที่นั่งถูกหุ้มไว้ ควรสำรวจความเสียหายใต้สิ่งที่ห่อหุ้มด้วย โดยปกติเบาะที่นั่งด้านคนขับจะอ่อนยวบมากที่สุด หากเบาะด้านคนนั่งเป็นเช่นเดียวกัน แสดงว่าโดยปกติรถคันนั้นนั่ง 2 คน หากเบาะที่นั่งด้านหลังมีสภาพยับเยินมาก ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวอาจเคยเป็นรถแท็กซี่มาก่อน ในกรณีเบาะที่นั่งด้านหน้าและด้านหลังอ่อนยวบ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถคันดังกล่าวใช้ในครอบครัวใหญ่ นอกเหนือจากเบาะที่นั่งแล้วควรสำรวจวัสดุหุ้มแผง ประตู และพรมปูพื้นและใต้พรมปูพื้นด้วยเช่นกัน

2. ทดสอบคันบังคับต่างๆ เช่น ลองเหยียบคันเร่ง คันเหยียบเบรก คันเหยียบ เกียร์ รู้สึกว่าฝืดหรือหลวมเกินไปหรือไม่ มีเสียงปกติหรือไม่ ก้านปัดน้ำฝนทำงานทุกตำแหน่งหรือไม่ ก้านปรับไฟสูง-ต่ำทำงานปกติหรือไม่

3. ตรวจสอบมาตรวัดระยะทาง โดยเฉลี่ยรถยนต์จะถูกใช้งานประมาณ 20,000-30,000 กิโลเมตรต่อปี ให้เอาจำนวนปีที่ใช้งานของรถคูณด้วยระยะทางใช้งานเฉลี่ย เปรียบเทียบกับมาตรวัดระยะทาง หากตัวเลขต่ำผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าตัวเลขอาจถูกหมุนกลับ หรือตัวเลขหมุนขึ้นรอบที่สอง ทั้งนี้ควรเปรียบเทียบกับสภาพของรถยนต์และเครื่องยนต์ด้วย สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอ คือรถที่ใช้งานในเมือง อาจมีอัตราการสึกหรอของเครื่องยนต์ มากกว่ารถที่ใช้งานทางไกล โดยอัตราประมาณ 3 ต่อ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางที่เท่ากัน เนื่องจากรถที่ใช้งานในเมือง ต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัด

4. ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และสัญญาณเตือนต่างๆ บนแผงหน้าปัด โดยเปิดสวิตช์กุญแจไปตำแหน่ง I ณ ตำแหน่งนี้นาฬิกา วิทยุ-เทป พร้อมที่จะทำงาน บิดสวิตช์ต่อไปตำแหน่ง II ที่ฉีดน้ำล้างกระจก ก้านปัดน้ำฝน ไล่ฝ้ากระจกหลัง พัดลมระบายความเย็นในรถยนต์ พร้อมที่จะทำงาน สัญญาณไฟเตือนต่างๆ สว่างค้าง ยกเว้นสัญญาณไฟเตือนรูปเครื่องยนต์ ABS, SRS จะสว่างสักครู่แล้วดับ บิดสวิตช์กุญแจสตาร์ตเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องยนต์ติดสัญญาณไฟต่างๆ จะดับ ยกเว้นสัญญาณไฟบอกตำแหน่งเกียร์แบบอัตโนมัติ

5. ตรวจสอบภายในลิ้นชักเก็บของ หาดูว่าคู่มือประจำรถและเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ประกันภัย คู่มือจดทะเบียน อยู่หรือไม่ เงื่อนไขการรับประกันภัยยาวนานแค่ไหน หมดระยะเวลาประกันภัยหรือยัง หากเราไม่ใช่ผู้ซื้อมือที่สองจริงๆ ก็อาจจะลองเก็บข้อมูลไปสอบถามเจ้าของรถมือแรกดูก็ได้ และหากตรวจสอบได้ว่า เป็นรถที่มาจากการเลหลัง หรือจากการประมูล (เนื่องจากถูกยึด) ให้พึงระลึกเอาไว้ว่า เหตุใดเจ้าของรถมือแรกถึงปล่อยให้ถูกยึด ที่สำคัญต้องตรวจสอบหมายเลขตัวถังรถ และหมายเลขเครื่องยนต์ ว่าตรงกับในเอกสารประจำรถหรือไม่ หากไม่ตรงแสดงว่าเป็นรถขโมยมา หรือมาจากการประกอบรถสองคันเข้าด้วยกันก็ได้

6. พิสูจน์กลิ่นภายในรถยนต์มีกลิ่นดินโคลน หรือกลิ่นสาบ อาจหมายถึงมีรอยรั่วผุของห้องโดยสาร หรือที่แย่กว่านั้นก็อาจเคยจมน้ำมาก่อน ให้เลิกดูใต้พรมว่าบริเวณนั้นเป็นสนิมหรือไม่ ตลอดทั้งควรดูบริเวณใต้เบาะที่นั่งด้วย

7. ตรวจสอบประตูและหน้าต่างกระจกทุกบาน ตรวจดูว่าประตูแต่ละบาน สึกหรอหรือผ่านการใช้งานหนักมาแค่ไหน ขอบบนประตูด้านคนขับ ซึ่งมักจะเป็นที่พักเท้าแขนคนขับนั้น สีซีดหรือสึกไปแค่ไหน อย่าลืมตรวจดูมือจับด้านใน ว่าผ่านการใช้งานมาแค่ไหน ตัวเลขกิโลบนหน้าปัดสัมพันธ์กับสภาพของรถหรือไม่ ถ้าหากต่ำผิดปกติ อาจหมายถึงรถถูกใช้มาจนตัวเลขกิโลเมตรครบรอบมาแล้ว หรือมีการแก้ไขเลขวัดระยะทางมาก่อนแล้วก็ได้ ทดสอบหน้าต่างทุกบาน ไม่ว่ากระจกหน้าต่างจะเปิด/ปิด ด้วยระบบไฟฟ้าหรือไม่ก็ตาม ให้ทดลองเปิดประตูทุกบาน ว่าเปิด/ปิดคล่องหรือไม่ มีบานใดค้างไม่สามารถเปิด/ปิดได้หรือไม่ นอกจากนี้ให้ตรวจสอบว่า ที่นั่งสามารถเลื่อนเดินหน้า ถอยหลังได้อย่างที่ควรจะเป็น

8. ตรวจสอบรอบหยดน้ำจากวัสดุบุใต้หลังคา หากมีรอยคราบน้ำตามวัสดุบุใต้หลังคา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวมีการรั่วซึมของน้ำจากหลังคา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลังคาผุเนื่องจากสนิม

ที่มา : สยามธุรกิจ