ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

คลัง เผยยอดขายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติรวม 1.65 แสนฉบับ

กองทุนประกันภัยพิบัติมียอดจำหน่ายกรมธรรม์รวม 165,333 ฉบับ บริษัทที่จำหน่ายสูงสุด เมืองไทยประกันภัย, ไทยพาณิชย์สามัคคีฯ, กรุงเทพประกันภัย

คลัง เผยยอดขายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติรวม 1.65 แสนฉบับ

ตุลาคม
15

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง และกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินการของกองทุนฯ ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.-11 ก.ย.55 มียอดจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ รวมจำนวนทั้งสิ้น 165,333 ฉบับ จากบริษัทประกันภัยทั้งสิ้น 46 บริษัท

โดยมีทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 14,419 ล้านบาท แบ่งเป็น

1. กลุ่มบ้านอยู่อาศัย จำนวนกรมธรรม์ 154,306 ฉบับ ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 9,186 ล้านบาท
2. กลุ่ม SME จำนวนกรมธรรม์ 10,326 ฉบับ ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 1,994 ล้านบาท และ
3. กลุ่มอุตสาหกรรม จำนวนกรมธรรม์ 701 ฉบับ ทุนประกันภัยต่อตามสัดส่วนของกองทุน 3,239 ล้านบาท

โดยบริษัทประกันภัยที่มีการจำหน่ายกรมธรรม์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทเมืองไทยประกันภัย จำกัด, บริษัทไทยพาณิชย์สามัคคี จำกัด และบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด

สำหรับหลักเกณฑ์การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของกองทุนฯ โดยภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจะต้องมีความรุนแรงในระดับภัยพิบัติ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 หลักเกณฑ์ ได้แก่
1. คณะรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรง ตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่นเดียวกับกรณีการให้เงินช่วยเหลือพิเศษจำนวน 5,000 บาทต่อครัวเรือน เมื่อเกิดเหตุการณ์อุทกภัยในปี 2554 หรือ
2. กรณีค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัย ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติมากกว่า 5,000 ล้านบาทต่อหนึ่งเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วัน โดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ทั้งนี้ มูลค่าความเสียหายให้เป็นไปตามข้อมูล ที่ได้รายงานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ
3. กรณีธรณีพิบัติความรุนแรงของแผ่นดินไหวตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป หรือกรณีวาตภัยความเร็วของลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล

เพิ่มเติมว่า สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในขณะนี้ ความรุนแรงยังไม่ถึงขั้นภัยพิบัติ จึงยังไม่เข้าหลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่กองทุนกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยได้ หากมีการทำประกันภัยที่ระบุความคุ้มครอง ที่รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติในกรณีน้ำท่วม

ที่มา : อาร์วายทีไนน์