ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

แก้กองทุนประกันภัยอุ้มบริษัทเจ๊ง ดึงเงินสำรองจ่ายหนี้ลูกค้า

พ.ร.บ. 2 ฉบับ กำหนดว่าต้องรอเข้าสู่ขั้นตอนล้มละลายก่อน กองทุนถึงจะจ่ายเงินได้ กระบวนการใช้เวลาหลายปี

แก้กองทุนประกันภัยอุ้มบริษัทเจ๊ง ดึงเงินสำรองจ่ายหนี้ลูกค้า

กรกฎาคม
4

แม้กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยจะถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2551 ตาม พ.ร.บ. ประกันชีวิตและพ.ร.บ.ประกันวินาศภัยมีหน้าที่จ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ ผู้เอาประกันภัยที่ทำประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยแล้ว บริษัทแห่งนั้นล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกองทุนนี้ยังไม่สามารถจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ ผู้เอาประกันภัยได้แม้แต่รายเดียว ทั้งๆ ที่มีบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกปิดกิจการไปแล้ว 4 บริษัท มีเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยรอรับชำระหนี้จำนวนมาก วงเงินนับพันล้านบาท

เพราะพ.ร.บ.ทั้ง 2 ฉบับกำหนดว่า ต้องรอให้ผ่านกระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ หรือเข้าสู่ขั้นตอนล้มละลายก่อน กองทุนถึงจะจ่ายเงินได้ ซึ่งกระบวนการที่ว่าใช้เวลาหลายปี ต่อมาสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ขอแก้ไขกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ให้กองทุนจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้ ผู้เอาประกันภัย ให้จ่ายทันทีที่บริษัทประกันภัยนั้นๆ ปิด ไม่ต้องรอกระบวนการล้มละลาย เพื่อให้ผู้เอาประกันได้รับเงินชดเชยอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นกองทุนฯ ค่อยไปสวมสิทธิ์แทนผู้เอาประกันภัยขอรับชำระหนี้กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อไป

อย่างไรก็ดี ในเรื่องที่จะให้กองทุนฯ ชำระหนี้ให้กับผู้เอาประกันทันทีนั้น ทำให้เกิดคำถามว่ากองทุนมีเม็ดเงินมากพอที่จะจ่ายเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย ชี้แจงว่า สมมติบริษัท ก. มีหนี้สินผู้เอาประกันภัย 6,000 ล้านบาท มีทรัพย์สิน 4,000 ล้านบาท ถ้าบริษัทถูกสั่งปิด เท่ากับกองทุนฯต้องจ่ายทันที 6,000 ล้านบาท ขณะที่ทรัพย์สินของบริษัทที่มีอยู่ 4,000 ล้านบาทไม่สามารถเอามาใช้ได้ ต้องรอให้ผ่านกระบวนการชำระบัญชีก่อน

ดังนั้น ทางคณะอนุกรรมการกฎหมายคปภ. ที่ประชุมกันเมื่อเร็วๆ นี้ จึงขอแก้ไขร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้ง ให้สามารถนำเงินตามมาตรา 19 คือเงินสำรองที่บริษัทประกันภัยทุกแห่ง วางไว้กับนายทะเบียนครั้งแรกตอนเปิดบริษัท และเงินตามมาตรา 26 หรือเงินสำรองจากเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท ซึ่งเงิน 2 ส่วนนี้ ฝากไว้ที่คัสโตเดี้ยนมาจ่ายให้กับเจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยได้

“สมมติในทรัพย์สิน 4,000 ล้านบาทเป็นเงินสำรอง 1 พันล้านบาท เอาเงินส่วนนี้มาจ่ายเจ้าหนี้ ผู้เอาประกันภัย ได้เท่ากับตัดหนี้ออกไปพันล้าน หนี้ส่วนที่เหลืออีก 3,000 ล้านบาท กองทุนจ่ายมีภาระน้อยลง ที่เราต้องเสนอแก้ไขเข้าไป เพราะร่างกฎหมายฉบับนี้ใกล้จะผ่านจากกฤษฎีกาเต็มทีแล้ว การแก้ไขต้องทำระหว่างที่อยู่ในกฤษฎีกา หลังจากนั้นจะกลับเข้าสู่ครม. เพื่อทราบอีกครั้งก่อนจะเสนอต่อไปยังสภาฯ”

เม็ดเงินในกองทุน มาจากเงินสมทบที่กฎหมายกำหนด ให้บริษัทประกันภัยทุกแห่งต้องนำส่งเข้ากองทุน ซึ่งปัจจุบันกองทุนประกันชีวิตมีเม็ดเงินรวมประมาณ 1,160 ล้านบาท กองทุนประกันวินาศภัยมีเม็ดเงินรวมประมาณ 800 ล้านบาท โดยประกันชีวิตตั้งแต่ปี 2510 ยังไม่มีบริษัทใดถูกปิดกิจการ ขณะที่ประกันวินาศภัย นับแต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมามีบริษัทประกันวินาศภัยถูกปิดไปแล้ว 4 บริษัท คือ

1. บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด มีเจ้าหนี้ ผู้เอาประกันภัย ที่มายื่นขอรับชำระหนี้กับกองทุนฯประมาณ 12,800 กว่าราย มูลหนี้ประมาณ 1,300 ล้านบาท
2. บริษัท เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์ เนชั่นแนล อินชัวรันส์ จำกัด เจ้าหนี้ ผู้เอาประกันภัย 3,000 กว่าราย มูลหนี้ประมาณ 300 กว่าล้านบาท
3. บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด มีเจ้าีหนี้ ผู้เอาประกันภัย ประมาณ 400 ล้านบาท แต่บริษัทมีทรัพย์สินผู้เอาประกันภัยตามบัญชีอยู่ประมาณ 600 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นที่ดิน หากขายได้เพียงพอชำระหนี้
และบริษัทสุดท้ายคือ บริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด มีเจ้าหนี้ ผู้เอาประกันภัย ประมาณ 2,000 ราย มูลหนี้ประมาณ 200 ล้านบาท

ซึ่งมูลหนี้ทั้ง 4 บริษัทรวมประมาณ 2,200 ล้านบาท แต่คาดว่ายอดรวมที่กองทุนจะต้องจ่ายจะเหลือประมาณ 1,300 ล้านบาท เพราะกฎหมายกำหนดให้กองทุนจ่ายให้เจ้าหนี้ผู้เอาประกันภัยสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อรายเท่านั้น ไม่ว่าจะมียอดหนี้สูงแค่ไหน

ซึ่งหากกฎหมายบังคับใช้เมื่อไหร่ เท่ากับกองทุนต้องมีภาระจ่ายยอดหนี้จำนวนนี้ทันที รวมไปถึงหากมีบริษัทถูกปิดเพิ่มเติม ลูกค้าจะได้รับเงินจากกองทุน แต่กระบวนการแก้ไขกฎหมายต้องใช้เวลา เสร็จเร็วที่สุดน่าจะประมาณมีนาคมหรือเมษายนปีหน้า ซึ่งในเดือนหน้ากองทุนจะได้เงินสมทบจากบริษัทประกันเพิ่มอีก 200 ล้านบาท และมกราคมได้อีกประมาณ 200 ล้านบาทรวมเป็น 1,200 ล้านบาทน่าจะพอ

ที่มา : สยามธุรกิจ