ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

เพิ่มกองทุนประกันภัยคุ้มครอง 1 ล้านล้าน

รื้อกองทุนประกันภัยใหม่ ขยายวงเงินคุ้มครองเป็น 1 ล้านล้านบาท หวังเปิดทางอุ้มอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ พร้อมขยายทุนคุ้มครองเอสเอ็มอี

เพิ่มกองทุนประกันภัยคุ้มครอง 1 ล้านล้าน

กุมภาพันธ์
4

โดย ECONOMICTHAI วันที่ 31 มกราคม 2555 เวลา 00:00 น.

เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ขณะนี้กองทุนประกันภัยได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่ ภายหลังจากรองนายกรัฐมนตรีได้เข้ามาเป็นรมว.คลัง พร้อมตั้งชื่อเป็น "กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ" เนื้อหาหลักๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเงินกองทุนเริ่มแรก 50,000 ล้านบาท คุ้มครอง 500,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินจากเอกชน 2,000 ล้านบาท และรัฐบาล 28,000 ล้านบาท รวมเป็น 30,000 ล้านบาท หากประชาชนมีความต้องการเพิ่มรัฐบาลจะนำเงินส่วนที่เหลือไปซื้อประกันภัยต่อในต่างประเทศ สำหรับของใหม่ให้เพิ่มความคุ้มครองจาก 500,000 ล้านบาท เป็น 1 ล้านล้านบาท

โดยภาคครัวเรือนให้คงความคุ้มครองเอาไว้ที่ 100,000 บาทเหมือนเดิม เพราะมีจำนวนครัวเรือนในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1.3 ล้านครัวเรือน ส่วนการคุ้มครองธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ของเดิมกำหนดความคุ้มครองเอาไว้ 20% ของทุนประกันภัยและสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท และภาคอุตสาหกรรมเดิมกำหนดความคุ้มครองเอาไว้ 10% และไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย เปลี่ยนใหม่เป็นเอสเอ็มอีและภาคอุตสาหกรรมเป็น 200 ล้านบาท เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับระบบ

ขณะนี้ คปภ.อยู่ระหว่างดำเนินการในรายละเอียดทั้งหมด รวมถึงการสรรหาคณะกรรมการกองทุน ประธานกองทุน และผู้จัดการกองทุน โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ นับจากนี้จะได้ข้อสรุปทั้งหมดหรือประมาณต้นก.พ. ส่วนแนวทางการบริหารจัดการกองทุนนั้น จะต้องนำผลศึกษาของหลายประเทศมาดูว่ามีรูปแบบไหนบ้าง แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศไทย หลังจากนั้นก็ต้องนำเสนอต่อรมว.คลังอีกครั้ง

รายงานจากกระทรวงการคลังเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่ง รมว.คลังได้มีนโยบายให้ขยายวงเงินการคุ้มครองให้ได้ถึง 1 ล้านล้านบาท และกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการออกแบบขนาดและรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยใหม่ จากเดิมที่จะมีเงินกองทุนเริ่มแรกที่ 50,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะสามารถรับคุ้มครองความเสียหายได้สูงถึง 500,000 ล้านบาทหรือประมาณ 10 เท่าของเงินประเดิม เนื่องจาก รมว.คลัง ต้องการให้ความสำคัญกับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มากขึ้น เพราะเห็นว่าหากสามารถเรียกความเชื่อมั่นให้กลับคืนมาจะเป็นผลดีต่อ เศรษฐกิจ จากเดิมในการก่อตั้งกองทุนประกันภัยจะเน้นให้ความสำคัญกับภาคครัวเรือน และกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และภาคอุตสาหกรรมบางส่วนเท่านั้น โดย รมว.คลังมั่นใจในปีนี้จะไม่เกินเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างรุนแรงเหมือนในปีที่ผ่านมาแน่นอน ซึ่งการขยายวงเงินความคุ้มครองออกไปให้ถึง 1 ล้านล้านบาทนั้น ก็เท่ากับเป็นการเรียกความเชื่อมั่นให้กับมาระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังมองว่าการขยายวงเงินความคุ้มครองออกไปจากเดิม 500,000 ล้านบาท จำเป็นที่รัฐบาลต้องเข้ามาสนับสนุนกองทุนฯ ด้วย เช่น 1. รัฐบาลจะต้องใส่เงินเพิ่มให้กับตัวกองทุน หรือ 2. รัฐบาลจะ ต้องเข้ามาการันตี หรือค้ำประกันในส่วนของวงเงินความคุ้มครองที่เกินจากระดับ 500,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่าแนวทางที่ดีที่สุดหากจะขยายกองทุนให้ใหญ่ขึ้น คือ การที่รัฐบาลเข้ามาการันตีความเสียหาย เพราะหากใช้แนวทางแรก คือ การใส่เงินก็หมายความว่ารัฐบาลจะต้องมีเงินสดใส่เข้าไปในกองทุนทันที แต่หากใช้เป็นการการันตี หากความเสียหายไม่เกินจากระดับ 500,000 ล้านบาทแรก ก็ไม่ต้องใช้เงินจากรัฐบาลแต่ถ้าความเสียหายเกินรัฐบาลถึงค่อยใส่เงินเข้าไป

สำหรับในหลักการเบื้องต้น คือ หากมีความเสียหายเกิดขึ้นตัวกองทุนประกันภัยฯ จะรับภาระ 50,000 ล้านบาทแรก และหากความเสียหายเกินจากระดับ 50,000 ล้านบาทไปจนถึง 500,000 นล้านบาท กองทุนฯ ก็จะให้บริษัทรับประกันภัยต่อต่างประเทศเป็นผู้รับภาระ ขณะที่ในส่วนของความเสียหายที่เกินจากระดับ 500,000 ล้านบาทขึ้นไปจนถึงระดับ 1 ล้านล้านบาทตามที่รัฐบาลต้องการนั้น รัฐบาลก็จะต้องเป็นผู้ที่เข้ามารับภาระดูแล

อย่าง ไรก็ตาม ในส่วนของรูปแบบและรายละเอียด เกี่ยวกับการรับภาระความเสียหายร่วมกันระหว่างภาคเอกชนและรัฐบาลนั้น ยังอยู่ระหว่างการหารือร่วมกันของกระทรวงการคลัง คปภ. และ สมาคมประกันวินาศภัย โดยคาดว่าต้นเดือน ก.พ.55 จะได้ข้อสรุปทั้งหมด ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทางกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยเสนอมาว่า จะสามารถร่วมกันรับความเสี่ยงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่ที่ 1% และมีความพร้อมในการใส่เงินเข้าไปในกองทุนประกันภัยฯ ประมาณ 2,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่กระทรวงการคลังเห็นว่าเป็นระดับที่น้อยเกินไปอีกทั้ง 1% ของความคุ้มครอง 500,000 ล้านบาท ก็อยู่ที่ 5,000 ล้านบาทด้วย จึงมอบหมายให้ทาง คปภ. กลับไปดำเนินการหารือกับภาคเอกชนอีกครั้ง

ขณะที่รูปแบบกรมธรรม์และเบี้ยประกันภัยนั้น ก็อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดเช่นเดียวกัน เบื้องต้นจะคิดเบี้ยประกันภัยตามความเสี่ยง คือ ถ้าเสี่ยงมากก็จ่ายเบี้ยสูงหน่อย นอกจากนั้น เห็นว่าเบี้ยประกันภัยจะต้องถูกและอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล และที่สำคัญต้องไม่เอากรณีน้ำท่วมรุนแรงในปีก่อนหน้ามาใช้ประกอบการคิดเบี้ยประกันภัย

ที่มา : ECONOMICTHAI