ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

แบงค์ - ประกันภัย หวั่น 'คลัง' ทุบตลาดเงินออม

คาดการณ์ว่านักลงทุนส่วนใหญ่ จะจำกัดสัดส่วนการลงทุนประกันภัยเงินออม ให้เท่ากับมาตรการภาษีที่ออกมาใหม่เท่านั้น

แบงค์ - ประกันภัย หวั่น 'คลัง' ทุบตลาดเงินออม

ตุลาคม
7

โดย ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5 ตุลาคม 2554 เวลา 10:56 น.

แบงก์-ประกันภัยห่วงคลังเล็งปรับลดสิทธิประโยชน์ทางภาษี จากเบี้ยประกันภัย-กองทุนฯ ทุบตลาดเงินออมหด ชี้หากมาตรการนี้ออกมาจริง จะจำกัดสัดส่วนการลงทุนใน RMF/LTF ลดน้อยลง รวมถึงคนกลุ่มใหม่ที่ลดลงด้วย หวั่นผู้ซื้อประกันชีวิตที่จ่ายเต็มวงเงินทุกปี ไม่สามารถลดจำนวนเบี้ยประกันภัย ยิ่งปีหน้าลดวงเงินคุ้มครองเหลือ 1 ล้านบาท ปิดตลาดผลิตภัณฑ์ทางเลือก

ตามที่กระทรวงการคลัง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกมาระบุ ถึงการปรับลดสิทธิประโยชน์ทางภาษีบุคคลธรรมดา ไม่ว่ามาจากการซื้อประกัน กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF: Long Term Equity Fund) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF: Retirement Mutual Fund) ว่าขณะกำลังอยู่ระหว่างการศึกษานั้น

จากการสอบถามประเด็นนี้ ไปยังธนาคารพาณิชย์และบริษัทประกันภัย โดยเฉพาะในส่วนของลูกค้ากลุ่มธนบดีธนกิจ ซึ่งแต่ละธนาคารเรียกขานแตกต่างกันอาทิ กลุ่ม Wealth หรือ Priority Banking /Private Banking กลุ่ม Premier ซึ่งแต่ละธนาคารจะบริหารเงินลงทุนของลูกค้า ภายใต้วงเงินเบื้องต้น เช่น ตั้งแต่ 1 ล้านบาท 30 ล้านบาทหรือ 100 ล้านบาท โดยมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีจูงใจลูกค้า จัดพอร์ตการลงทุนในรูปแบบต่างๆ รวมถึงธุรกิจประกันชีวิต ที่ปัจจุบันสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าเบี้ยประกันบำนาญ 200,000 บาท และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเบี้ยประกันทั่วไปอีก 100,000 บาท รวมเป็น 300,000 บาท และสามารถลดหย่อนได้ตั้งแต่ปีที่ 10 ขึ้นไป

ส่วนกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF นั้น จำกัดวงเงินหักลดหย่อนไม่เกิน 500,000 บาท หรือ15% ของรายได้ต่อปีรวมเงินโบนัส โดยบังคับลงทุน 5 ปีปฏิทิน สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กฎกติกาคล้าย LTF แต่ระยะเวลาลงทุนถึงอายุ 55 ปี ที่สำคัญวงเงินหักลดหย่อน 15% ของรายได้ต่อปี หรือจำกัดไว้ไม่เกิน 500,000บาทนั้น ยังมีเงินเกี่ยวข้องกรณีผู้ลงทุนมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็ต้องนำมาหักกลบด้วย เพื่อให้ได้รับสิทธิลดหย่อนที่วงเงิน 500,000 บาท

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นเป็นแรงจูงใจ ที่กระตุ้นให้ผู้สนใจเข้ามาออมในตลาดทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนกลุ่มใหม่ ที่ผ่านมาการใช้สิทธิประโยชน์หักลดหย่อนทางภาษี LTF/RMF เฉลี่ย 200,000-300,000 บาทต่อปี ขณะที่กลุ่มที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็ม 15% หรือไม่เกิน 500,000 บาทนั้น มีจำนวนคนน้อยโดยต้องมีรายได้ 280,000 บาทต่อเดือน หรือเฉลี่ย 3.3 ล้านบาทต่อปี หากรัฐมีมาตรการออกมาจริง ย่อมทำให้ดีมานด์รวมเข้าตลาดทุนลดน้อย รวมถึงคนกลุ่มใหม่ที่ลดลงด้วย

สอดรับกับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการธนาคารยูโอบี ที่กล่าวว่า นโยบายหักลดหย่อนสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น เป็นแรงจูงใจให้มนุษย์เงินเดือนระดับกลางถึงระดับบน มีทางเลือกออมเงินมากขึ้น เนื่องจากโครงสร้างสังคมคนไทยยังไม่มีการเก็บออมในระยะยาว ที่สำคัญเงินออมหลังเกษียณอายุนั้น ยังเป็นที่ห่วงกันว่าจะเป็นภาระรัฐบาลในอนาคต โดยเฉพาะสวัสดิการที่อาจจะไม่เพียงพอต่อการมีอายุยืนของคนไทย ดังนั้นทางการน่าจะมีการถกกันในเรื่องสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะการแจงตัวเลขระหว่างที่เป็นภาระการคลัง กับภาระการดูแลผู้สูงอายุในอนาคต

ทั้งนี้เป็นที่คาดการณ์ว่านักลงทุนส่วนใหญ่ จะจำกัดสัดส่วนการลงทุนใน RMF/LTF ให้เท่ากับมาตรการภาษีที่ออกมาใหม่เท่านั้น ซึ่งต้องติดตามนโยบายของรัฐบาลต่อไป สำหรับลูกค้าที่จ่ายเบี้ยประกันชีวิตเต็มวงเงินลดหย่อนภาษี จะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากการออมผ่านประกันชีวิต เป็นภาระที่ผู้ออมต้องชำระเบี้ยเท่าๆ กันในทุกๆ ปีเป็นเวลานาน การตกลงออมไปแล้วจะไม่สามารถลดจำนวนเบี้ยประกันได้

ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสและการลงทุน และประกันภัยธนพัทธ์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ถ้ายกเลิกหรือลดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจริง เชื่อว่าแนวโน้มผลิตภัณฑ์ทางเลือกจะลดน้อยลง ขณะที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากกำลังจะลดวงเงินคุ้มครองเหลือ 1 ล้านบาท ในเดือนสิงหาคมปีหน้า แทนที่เงินฝากจะกระจายไปลงทุนประเภทอื่นอาจจะมีผลกระทบด้วย

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ