ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

กรุงเทพประกันภัย หยุดขาย ‘4 โรคคลาสสิค’

กรุงเทพประกันภัย หยุดขาย ‘4 โรคคลาสสิค’ ฉวยจังหวะปรับใหม่ แจงเบี้ยเดิมไม่จูงใจ

กรุงเทพประกันภัย หยุดขาย ‘4 โรคคลาสสิค’

พฤษภาคม
12

โดย สยามธุรกิจ วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 เวลา 00:00 น.

กรุงเทพประกันภัย หยุดขายกรมธรรม์สุดคุ้ม “4 โรคคลาสสิค” มะเร็ง หัวใจ ไตและหลอดเลือดสมอง ฉวยจังหวะปรับใหม่ แจงเบี้ยเดิมไม่จูงใจ คนอายุน้อยไม่ค่อยซื้อโอกาสเป็นโรคมีน้อย ส่วนคนอายุมากมองเบี้ยแพง ทำให้ความเสี่ยงไม่กระจาย อีกทั้งเงื่อนไขเข้าใจยาก ศัพท์ทางแพทย์เยอะ หลังจากเริ่มนำออกจำหน่ายในลักษณะทดลองตลาดในช่วงสั้นๆ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2552 ถึงเดือนธันวาคม 2553 มียอดขายประมาณ 1,000 กว่ากรมธรรม์ โดยหยุดขายกรมธรรม์นี้ตั้งแต่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ขยายประกันสื่อออกกรมธรรม์ใหม่เอี่ยม “ประกันความ รับผิดด้านการสื่อสารมวลชน”

สาเหตุที่ต้องปรับปรุง เนื่องจากเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ไม่จูงใจลูกค้าเท่าที่ควร เพราะเบี้ยประกันภัยจะปรับเพิ่มตามอายุของผู้เอาประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยที่มีอายุน้อยเบี้ยประกันภัยค่อนข้างต่ำ ซึ่งผู้ที่อายุน้อยก็มีความสนใจน้อยเนื่องจากคิดว่ายังไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค 4 โรคดังกล่าว ขณะที่ผู้เอาประกันภัยที่อายุมากขึ้นเบี้ยประกันภัยก็จะปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย (ปรับเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี)

ซึ่งตามหลักการประกอบธุรกิจประกันภัย หากไม่สามารถขยายฐานผู้เอาประกันภัยเพื่อให้เกิดการกระจายความเสี่ยงภัยที่เหมาะสมแล้ว อาจส่งผลเชิงลบต่อการรับประกันภัย ยังไม่สามารถบอกได้จะปรับปรุงเสร็จเมื่อไร

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทกรุงเทพประกันภัยได้ออกกรมธรรม์ใหม่ “ประกันภัยความ รับผิดด้านการสื่อสารมวลชน (Media Liability Insurance)” เพื่อรองรับผู้ที่ทำงานด้านสื่อสารมวลชน เพราะในยุคสังคมข่าวสารปัจจุบัน การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วและสามารถเข้าถึงกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก สื่อมวลชนมีส่วนสำคัญในการทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะ ซึ่งต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อดึงดูดความสนใจผู้รับข่าวสารได้อย่างทันเหตุการณ์ ซึ่งในบางครั้งข้อมูลที่นำเสนอนั้นอาจทำให้เกิดกรณีพิพาท เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ที่มา : สยามธุรกิจ