ทูเดย์อินชัวร์ จำหน่าย ประกันภัยรถยนต์ ราคาถูก
สำหรับสมาชิก todayinsure.com ระบบงาน TodayInsure C.R.M. หมายเลขใบอนุญาตของ TodayInsure: 5104006215
ขณะนี้ไม่มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัตหน้าที่อยู่ โทรหาเรา (02) 952-7322, (086)378-9671 หรือ email: sales@todayinsure.com

คลังข้อมูลข่าวย้อนหลัง

โขกเบี้ย ประกันภัย จราจลพุ่ง 25%

เกิดเหตุชุมนุมแล้ว การซื้อ ประกันภัย คุ้มครองทำได้ยาก อัตราเบี้ยอาจเพิ่มตามความเสี่ยง อาจไม่คุ้มกับความเสียหาย กรมธรรม์คุ้มครองได้ทัน

โขกเบี้ย ประกันภัย จราจลพุ่ง 25%

ธันวาคม
12

ประกันภัย ประกาศงดขายภัยธุรกิจในพื้นที่เสี่ยงม็อบ ทิพยฯ เบรกขายตั้งแต่ต้นปี หลังถูกเบี้ยว ลูกค้าซื้อแล้วยกเลิกกลางคัน ขณะที่ไทยเศรษฐกิจ ไทยวิวัฒน์ ยังคงเดินหน้านโยบายขาย " ประกันภัย คุ้มภัยการเมือง ธุรกิจหยุดชะงัก” ระบุยอดคนซื้อน้อยทำต้นทุนพุ่ง โดยเบี้ย ประกันภัย ปรับขึ้น 25% อัพ หลังเหตุเผาห้างปี 53 ด้าน คปภ.เผย 9 เดือนแรก ประกันภัย ทรัพย์สินทะลุ 2.23 แสนกรมธรรม์

จากกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองจนนำไปสู่การปะทะ จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ได้สอบถามไปยังบริษัท ประกันภัย ต่างๆ ซึ่งได้รับการยืนยันว่า ส่วนใหญ่ระงับการขายความคุ้มครองแล้ว โดยข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทยระบุว่า จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ส่งผลให้ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา 4 ห้างสรรพสินค้าย่านราชประสงค์ ประกาศหยุดให้บริการ ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูล ได้รับการยืนยันจากสมาคมฯ ว่า ยังไม่มีการติดต่อขอยื่นรับค่าสินไหม (เคลม) เข้ามาแต่อย่างใด เนื่องจากที่ผ่านมาภาคธุรกิจทำ ประกันภัย ทรัพย์สิน และไม่มีเหตุการณ์บานปลายจนทรัพย์สินเกิดความเสียหาย ดังนั้นกรมธรรม์ธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interuption : BI) จึงยังไม่ให้ความคุ้มครอง

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ยอมรับว่า แม้ขณะนี้บริษัทยังคงขาย ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเกิดความรุนแรงทางการเมือง (political violence : PV) แต่กลุ่มลูกค้าที่ซื้อ ประกันภัย ดังกล่าวมีไม่กี่กลุ่ม ส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวในกลุ่มธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย อาทิกลุ่มสถาบันการเงิน ธนาคารต่างชาติ โดย 3 ปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นอัตราการเพิ่มขึ้นในระดับร้อยราย ส่วนใหญ่เป็นการเติบโตตามการเข้ามาลงทุน มากกว่าที่จะมาจากความหวั่นกลัวทางการเมือง เนื่องจากบริษัทต่างชาติมีกฎ หากเข้ามาลงทุน หรือขยายธุรกิจ จะต้องทำ ประกันภัย คุ้มครองภัยทางการเมืองอยู่แล้ว

"แบบ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครองภัยการเมือง ถูกพัฒนาต่อเนื่องนับจากเหตุการณ์การเมืองปี 2553 (เหตุเผาเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์) ทำให้ปัจจุบันบริษัทได้แยกขายภัย PV ออกเป็นกรมธรรม์ ประกันภัย อิสระ สามารถซื้อแยกภัยจาก ประกันภัย ทรัพย์สินปกติได้ ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเผาห้างสรรพสินค้าเมื่อ 3 ปีก่อน ทำให้อัตราเบี้ย ประกันภัย ปรับตัวขึ้น 25-50% แต่ตอนนี้เบี้ยเริ่มลดลงใกล้ภาวะปกติ"

ปัจจุบันหากลูกค้าที่มองเห็นถึงความเสี่ยงหากเกิดภัยแล้ว แนะควรซื้อ ประกันภัย ที่ให้ความคุ้มครอง โดยต้องซื้อ PV ก่อน เพื่อคุ้มครองความเสียหายจากภัยการเมือง โดย PV จะให้ความคุ้มครอง ประกันภัย ทรัพย์สิน และหากเกิดเหตุการณ์รุนแรงจนทรัพย์สินเสียหาย กระทบต่อธุรกิจ PVBI จะเริ่มให้ความคุ้มครองทันที แต่หากธุรกิจไม่ซื้อ PV แต่กลับอยู่ในเขตชุมนุม หรือเกิดภัยทางการเมืองแล้ว จะไม่ได้รับความคุ้มครองไม่ว่ากรณีใดๆ ซึ่งการซื้อจะเป็นแบบคุ้มครองปีต่อปี และควรซื้อต่อเนื่องไม่ควรยกเลิก เมื่อมองว่าม็อบหยุดไปแล้ว

"ยอมรับว่าเมื่อเกิดเหตุชุมนุมแล้ว การซื้อ ประกันภัย คุ้มครองทำได้ยาก เนื่องจากอัตราเบี้ยอาจเพิ่มขึ้นตามความเสี่ยง การซื้อจำเป็นต้องส่งข้อมูล เช่น ทุน ประกันภัย พื้นที่ตั้ง ความเสี่ยง จำนวนสาขา ที่ตั้งในแต่ละเขต โดยบริษัท ประกันภัย จะส่งข้อมูลไปยัง ประกันภัย ต่อ เพื่อกำหนดอัตราเบี้ยรายต่อราย ตามความเสี่ยงจริง ซึ่งหากซื้อตอนนี้เบี้ยจะแพงมาก อาจไม่คุ้มกับความเสียหาย และเป็นไปได้ที่กรมธรรม์ไม่สามารถคุ้มครองได้ทัน"

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย กล่าวว่า ปัจจุบันทิพยฯ งดขาย ประกันภัย ทรัพย์สินที่ให้ความคุ้มครอง ประกันภัย "ธุรกิจหยุดชะงัก" หรือ BI ในเขตพื้นที่ชุมนุมแล้ว โดยกรมธรรม์ระบุไว้ชัดเจนว่า จะไม่คุ้มครองภัยดังกล่าวจากการจราจล รวมถึงภัยทางการเมือง ส่วนภัยภายใต้กรมธรรม์ ประกันภัย ทรัพย์สินยังคงให้ความคุ้มครองเช่นเดิม

สำหรับพื้นที่ที่บริษัทงดขายความคุ้มครอง จะเน้นในเขตกรุงเทพฯ เช่น บริเวณที่มีการชุมนุม หรือเป็นสถานที่แสดงทางความคิด เช่น พื้นที่ราชประสงค์ สีลม ราชดำเนิน เป็นต้น ซึ่งกรมธรรม์ BI จะให้ความคุ้มครองก็ต่อเมื่อ เกิดทรัพย์สินเสียหายจากการชุมนุมแล้วเท่านั้น อย่างไรก็ดีที่ผ่านมายอมรับว่า มีลูกค้าบางรายยกเลิกกรมธรรม์ก่อนกำหนด ทำให้บริษัทเสียเครดิต ซึ่งจากนี้หากมีผู้ซื้อ ประกันภัย รายใดยกเลิกก่อน ในปีถัดไปบริษัทจะงดพิจารณารับ ประกันภัย ทรัพย์สินทุกกรณี

ด้านรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย กล่าวเสริมว่า ทิศทางการซื้อ ประกันภัย คุ้มครองธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interuption : BI) ปัจจุบันภาคธุรกิจให้ความสำคัญซื้อความคุ้มครองดังกล่าวเพิ่มต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับบทเรียนจากเหตุการณ์ ทั้งการวางเพลิงย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยกลุ่มที่นิยมทำ ประกันภัย BI ของทิพยฯ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มธุรกิจด้านพลังงาน ปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน รวมถึงธุรกิจโรงแรม และสถานบริการ ตลอดจนธุรกิจที่มีการกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งกำหนดให้ทำ ประกันภัย ทรัพย์สิน และต้องทำ BI คุ้มครอง คิดเป็นสัดส่วนลูกค้ามากกว่า 90% แล้วในขณะนี้

"การขยายตัวของ ประกันภัย BI สะท้อนจากอัตราการเติบโตของเบี้ย ประกันภัย BI ขยายตัวตามอัตราการเติบโตของเบี้ย ประกันภัย ทรัพย์สิน ซึ่ง 11 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม–พฤศจิกายน 2556) บริษัทมีเบี้ย ประกันภัย ทรัพย์สินเข้ามาแล้ว 2.3 หมื่นล้านบาท และคาดสิ้นปีนี้เบี้ย ประกันภัย รับจะอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเบี้ย BI คิดเป็นสัดส่วน 10% หรือประมาณ 2.5 พันล้านบาท และคาดว่าในปี 2557 เบี้ย ประกันภัย ทรัพย์สินขยายตัวเพิ่มเป็น 3 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเบี้ย BI ราว 3 พันล้านบาท"

ด้านกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.ประกันภัยไทยวิวัฒน์ กล่าวว่า บริษัทยังเปิดขาย ประกันภัย ทรัพย์สิน ที่ให้ความคุ้มครองกรณีธุรกิจหยุดชะงัก (BI) ทั่วประเทศ ไม่เว้นแม้กระทั่งพื้นที่ชุมนุม อย่างไรก็ดี 3 ปีที่ผ่านมา ความต้องการซื้อความคุ้มครอง BI จะเพิ่มหรือลดตามกระแส กล่าวคือเมื่อเกิดม็อบแต่ละครั้ง ความต้องการก็จะเพิ่มสูงขึ้น แต่เมื่อเหตุการณ์ปกติ ก็แทบไม่มีผู้ประกอบการ หรือภาคธุรกิจ สนใจแต่อย่างใด

ทั้งนี้รายงานสถิติการซื้อ ประกันภัย คุ้มครองทรัพย์สิน จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ประกันภัย (คปภ.) 8 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-สิงหาคม 2556) มียอดซื้อ ประกันภัย ความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risks : IAR) เข้ามาแล้ว 184,567 กรมธรรม์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 35.41% หรือเพิ่มขึ้น 48,261 ฉบับ จากปี 2555 ที่มีความคุ้มครอง 136,306 ฉบับ

อย่างไรก็ดี ภาพรวมของกรมธรรม์ ประกันภัย คุ้มครองภัยทางการเมือง รวมถึงภัยก่อการร้าย ยังคงกำหนดให้มีความเสียหายส่วนแรก โดยกลุ่มลูกค้ารายย่อย ธุรกิจเอสเอ็มอี รวมถึงโรงแรม ที่ซื้อทุน ประกันภัย เฉลี่ยต่ำกว่า 100 ล้านบาท อัตราเบี้ย ประกันภัย ขึ้นอยู่กับมูลค่าความเสียหายส่วนแรกที่ลูกค้าต้องการคุ้มครอง ดังนั้นแนวโน้มตลาดยังคงกำหนดให้ผู้เอา ประกันภัย ต้องเป็นฝ่ายร่วมรับผิดบ้างบางส่วน นอกจากนี้ได้กำหนดทุน ประกันภัย ไม่เกิน 80-90% ของมูลค่าทรัพย์สินแท้จริง

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ